สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์จากไรโซแบคทีเรียเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืช
ธิดา ไชยวังศรี, สุภัค มหัทธนพรรค, ศิริลักษณ์ สันพา, ไมตรี สุทธจิตต์, กฤษณา พุกอินทร์ - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์จากไรโซแบคทีเรียเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Use of rhizobacteria for plant growth promotion and biocontrol of pathogenic fungi
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแบคทีเรียในดินจากพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน 4 แห่งคือ พื้นที่ป่าหลังมหาวิทยาลัยพะเยา พื้นที่อ่างหลวง พื้นที่ป่าปลูก และพื้นที่เพาะปลูก ได้มีการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา การทดสอบทางชีวเคมีเพื่อระบุจีนัสของแบคทีเรีย ที่พบในดินแต่ละพื้นที่ จากการศึกษาพบว่า มีแบคทีเรียแกรมบวกที่คัดแยกได้ทั้งหมด 62 ไอโซเลต แบคทีเรีย แกรมลบ 58 ไอโซเลต เมื่อนำแบคทีเรียที่แยกได้ทั้งหมดมาศึกษาความสามารถในการผลิตออกซินจากกากถั่วเหลือง โดยใช้วิธี Salkowski พบว่าแบคทีเรียที่ให้ผลการผลิตออกซินสูงสุดจำนวน 9 ไอโซเลตคือ Bacillus sp. PB62, Bacillus sp. PB58, Bacillus sp. PB59, Bacillus sp. PB14, Yersinia sp. PB50, Enterobacter sp. PB29, Serratia sp. NB50, Bacillus sp. PB42, และ Serratia sp. NB29 ปริมาณออกซินที่ผลิตได้คือ 137.54, 134.90, 128.99, 103.31, 103.31, 93.13, 87.95, 84.72 และ 80.58 ?mol/L ตามลำดับ ศึกษาผลของออกซินที่แบคทีเรียสร้างขึ้นในน้ำหมักกากถั่วเหลือง ต่อการงอกของเมล็ดและความยาวรากของผักกาดกวางตุ้ง แบคทีเรียจำนวน 3 ไอโซเลตที่มีการผลิตออกซินได้ปริมาณสูง คือ Bacillus sp. PB14, Bacillus sp. PB58 และ Bacillus sp. PB59 ผลการทดลองพบว่าออกซินที่แบคทีเรียสร้างขึ้น มีผลกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และมีผลต่อความยาวของราก ซึ่งผลการแสดงออกของพืชที่ได้รับออกซินจากแบคทีเรีย ให้ผลเช่นเดียวกับพืชที่ได้รับสารละลาย indole-3-acetic acid (IAA) ซึ่งเป็นออกซินสังเคราะห์ เมื่อศึกษาผลของออกซินจากแบคทีเรียที่มีต่อการส่งเสริมการเจริญของต้นอ่อนผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหอมรวมถึงกระตุ้นการเกิดรากพิเศษของมะเขือเทศ (adventitious root) พบว่าสามารถกระตุ้นการเจริญของต้นอ่อนผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหอมให้ผลดีในทิศทางเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างพืชที่ไม่ได้รับออกซิน และผลการทดสอบการกระตุ้นให้เกิดรากพิเศษในมะเขือเทศ พบว่าที่ความเข้มข้น 3 ?mol/L ให้ความยาวเฉลี่ยของรากสูงสุด และที่ความเข้มข้น 0.3 ?mol/L ให้จำนวนการเกิดรากพิเศษสูงสุด นอกจากนี้ยังศึกษาผลของแบคทีเรียที่คัดแยกได้เพื่อยับยั้งการเจริญของ Curvularia lunata เชื้อราสาเหตุโรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ โดยใช้เชื้อราก่อโรค 2 สายพันธุ์คือC. lunata TISTR 3068 และ C. lunata TISTR 3291 โดยวิธี dual culture บนอาหาร PDA พบว่า มีเแบคทีเรียที่สามารถยับยั้ง เชื้อ C. lunata ได้ทั้งหมด 6 ไอโซเลทคือ HKA, BTUF, KLE, KLL KLB, BTQ มีไอโซเลทที่สามารถยับยั้งได้เฉพาะเชื้อ C. lunata TISTR 3068 ได้ทั้งหมด 3 ไอโซเลทคือ KLL KLB, BTQ และมีไอโซเลทที่สามารถยับยั้งเชื้อ C. lunata ได้ทั้ง 2 สายพันธุ์ ทั้งหมด 3 ไอโซเลท คือ BTUF, KLE, HKA ผลการระบุชนิดของแบคทีเรียทั้ง 6 ไอโซเลท ได้เป็น Bacillus spp. และ Corynebacterium spp.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์จากไรโซแบคทีเรียเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืช
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2557
การเพิ่มคุณภาพของมะเขือเทศจากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช การตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อราในข้าวแบบรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง โดยใช้ Near infrared spectroscopic-Chemical imaging ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้าหมักจากแบคทีเรียที่มีสารประกอบ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อประยุกต์ใช้ในการเกษตร สารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชจาก Pseudomonas แยกจากดินรอบรากพืชที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก