สืบค้นงานวิจัย
การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา
ชื่อเรื่อง (EN): Site-specific Fertilizer Management on Growth, Yield, and Agronomic Nitrogen Use Efficiency of Rice Grown in Sapphaya Soil Series
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Auraiwan Isuwan
คำสำคัญ: ข้าว(Rice) ชุดดินสรรพยา(Sappaya Soil Series) การจัดการธาตุปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน(site-specific fertilizer management)
บทคัดย่อ: ดำเนินการทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และประสิทธิภาพการผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (randomized complete block designs, RCBD) มี 6 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี (control) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการของเกษตรกร (farmer, F) กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีที่สอดคล้องกับการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (site-specific fertilizer management, SSF) และ กรรมวิธีที่ 4 และ 5 การใส่ปุ๋ยเคมีเป็น 2 และ 3 เท่าของค่าการใช้ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ (2SSF และ 3SSF ตามลำดับ) ผลการทดลอง พบว่า จำนวนต้นต่อกอที่อายุ 30 วันและความสูงที่อายุ 50 วัน ของข้าวที่ได้รับปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรให้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (P<0.05) สำหรับที่อายุ 50 วัน ต้นข้าวในกรรมวิธี 3SSF มีค่าเฉลี่ยจำนวนต้นต่อกอสูงที่สุดเป็น 14.25 ต้นต่อกอ ไม่แตกต่าง (P>0.05) กับกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรซึ่งมีค่าเป็น 14.03 ต้นต่อกอ แต่ทั้งสองกรรมวิธีให้ค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา SSF และ 2SSF ส่วนจำนวนเมล็ดต่อรวง และผลผลิตข้าว กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา F ให้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เป็น 99.38 เมล็ดต่อรวง และ 1,195.25 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม SSF, 2SSF และ 3SSF การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา SSF ให้ค่าประสิทธิภาพการผลิตข้าว และรายได้หลังหักค่าปุ๋ยสูงที่สุด ดังนั้น ในการปลูกข้าวปทุมธานีในชุดดินสรรพยาควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยในอัตราตามค่าวิเคราะห์ดินซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): A field experiment was conducted in the farmer field on Sappaya Soil Series with the aim to determine growth characteristics, grain yields and agronomic fertilizer use efficiency of Pathum Thani rice variety. The experimental design was a randomized complete block design with six replications. Treatments were five fertilizer management practices: (1) no fertilization (control), (2) farmer practice’s fertilization (F), (3) site-specific fertilization (SSF), (4) fertilization at two folds of SSF (2SSF) and (5) fertilization at three folds of SSF (3SSF). The results showed that the numbers of tillers per plant at 30 days after transplanting and the heights of plants at 50 days after transplanting of the F treatment were significantly highest (P<0.05). The numbers of tillers per plant of the 3SSF treatment at 50 days after transplanting was numerically greatest (14.25 tillers per plant) but did not significantly differ (P>0.05) from the F treatment (14.04 tillers per plant). However, both were significantly greater (P<0.05) than the others. Grains per spike (99.38 grains) and grain yields (1,195.25 kg/rai) of the rice were significantly highest (P<0.05) in the F treatment. However, with regards to agronomic nitrogen use efficiency and economic returns, the SSF treatment significantly outweighed (P<0.05) the other treatments. In conclusion, soils must be evaluated chemically before growing Pathum Thani rice on Sappaya Soil Series and with the SSF fertilizer practice, the rice can provide increased grain yields and subsequently economic returns.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2557
เอกสารแนบ 1
อิทธิพลของธาตุอาหารพืชไนโตรเจนที่ตรึงในดินต่อผลผลิตข้าว การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตของถั่วแกรมสไตโล (1)ในดินชุดบ้านทอน การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวภายใต้ระดับปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ต่างกัน ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้ชุดตรวจสอบดินภาคสนามต่อผลผลิตข้าวในชุดดินสายบุรี อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตหญ้าซิกแนลนอนในชุดดินปากช่อง การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียวในดินจังหวัดพัทลุง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก