สืบค้นงานวิจัย
ผลการเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในอาหาร ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและลักษณะคุณภาพซากของสุกร
ศรัญญา ชูเจริญ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลการเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในอาหาร ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและลักษณะคุณภาพซากของสุกร
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of dietary supplementation of crude extract product from guava leaves (Psidium guajava Linn.) on growth performance and carcass characteristics of fattening pigs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรัญญา ชูเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Saranya Chujaroen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่ง เพื่อทดแทนสารปฏิชีวนะในระดับควบคุมโรคในอาหาร สุกร โดยใช้สุกรลูกผสมสามสายพันธุ์ (ลาร์จไวท์ × แลนด์เรซ × ดูรอค) อายุ 28 วัน จำนวน 48 ตัว (เพศผู้ตอน 24 ตัว และ เพศเมีย 24 ตัว) แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัว สุกรแต่ละกลุ่มทดลองได้รับการสุ่มให้ได้รับอาหารที่มี การเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในระดับ 10, 20, 30, 40 และ 50 มก./กก.อาหาร ตามลำดับ เปรียบเทียบ กับการเสริมสารปฏิชีวนะในระดับควบคุมโรค โดยศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรใน 4 ช่วงอายุ (4-9, 10-15, 16-20 และ 21-24 สัปดาห์) ผลการศึกษาพบว่า ช่วงอายุ 4-9 สัปดาห์ การเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่ง ทุกระดับส่งผลให้สมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรด้อยกว่าการเสริมสารปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในด้าน อัตราการเจริญเติบโต (P < 0.01) และประสิทธิภาพการใช้อาหาร (P < 0.05) สำหรับช่วงอายุ 10-15 สัปดาห์ กลุ่มที่ ได้รับการเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในระดับ 20 มก./กก.อาหาร หรือมีระดับเคอร์ซีติน 0.05 มก./กก. อาหาร มีประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่ากลุ่มที่เสริมสารปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่อัตราการเจริญ เติบโตและปริมาณอาหารที่กินไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) เช่นเดียวกับสมรรถภาพการผลิตในช่วงอายุ 16-20 สัปดาห์ แต่ในช่วงอายุ 21-24 สัปดาห์ การเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งที่ระดับ 30 มก./กก.อาหาร หรือมีระดับ เคอร์ซีติน 0.075 มก./กก.อาหาร ทำให้สุกรมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าการเสริมสารปฏิชีวนะ (P < 0.05) ในขณะที่ การเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในระดับอื่นๆ มีผลทำให้สมรรถภาพการผลิตของสุกรไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับการเสริมสารปฏิชีวนะ ด้านลักษณะคุณภาพซากจากการประมาณค่าโดยใช้ real-time ultrasound ที่อายุ 24 สัปดาห์ ทั้งค่าความหนาไขมันสันหลัง พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน และเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง พบว่า ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) ในระหว่างกลุ่มทดลอง แต่กลุ่มที่เสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งมีแนวโน้มในการลดความหนาไขมัน สันหลังตามลำดับ (P = 0.298) ดังนั้นการเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งที่ระดับ 20 มก./กก.อาหาร ในสุกร รุ่น (อายุ 10-20 สัปดาห์) และ 30 มก./กก.อาหาร ในสุกรระยะขุน (อายุ 21-24 สัปดาห์) สามารถใช้ทดแทนสารปฏิชีวนะ ในระดับเร่งการเจริญเติบโตโดยช่วยปรับปรุงสมรรถภาพการผลิตและลักษณะคุณภาพซากของสุกรได้
บทคัดย่อ (EN): The effects of crude extract product from guava leaves (Psidium guajava Linn.) on growth performance and carcass characteristics of fattening pigs were studied. A total of 24 castrated male and 24 female three-breed crossbred pigs (Large White × Landrace × Duroc) aged 28 days were divided into 6 groups with 4 replicates which consisted of two pigs each. The animals were randomly fed with dietary treatments as follows: control diet (supplemented with antibiotics), and diets supplemented with 10, 20, 30, 40 and 50 ppm crude extract product from guava leaves. Growth performances of pigs were evaluated in four periods of growth (4-9 weeks, 10-15 weeks, 16-20 weeks, and 21-24 weeks of age). The results showed that the supplementation of 10-50 ppm crude extract product from guava leaves significantly decreased average daily gain (P<0.01) and feed conversion ratio (P<0.05) of pigs compared with the subtherapeutic antibiotics group in the period of 4-9 weeks of age. On the contrary, the feed conversion ratio of pigs in the period of 10-15 weeks of age was significantly improved (P<0.05) by the supplementation of 20 ppm guava leaves crude extract product containing 0.05 ppm quercetin, whereas the average daily gain and feed intake were not significantly different among the groups. Responses of pigs in the period of 16-20 weeks of age agreed with those of 10-15 weeks of age, but no significant difference in growth performance was found. During the finishing period (21-24 weeks of age), the supplementation of 30 ppm guava leaves crude extract product containing 0.075 ppm quercetin provided better average daily gain (P<0.05) than subtherapeutic antibiotics supplementation, whereas the feed conversion ratio improved in tendency. Besides, the carcass characteristics in terms of back fat thickness, loin-eye area and lean percentage were evaluated at 24 weeks of age by real-time ultrasound. Although the significant effects of crude extract product from guava leaves were not found, the carcass characteristics improved in tendency, especially the back fat thickness. In conclusion, dietary supplementation of crude extract product from guava leaves at 20 ppm for the growing period (10-20 weeks of age) and 30 ppm for the finishing period (21-24 weeks of age) can be an alternative to antibiotics as growth promoter by improving the growth performance and carcass characteristics of pigs.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=04 Nuanchan.pdf&id=1143&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในอาหาร ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและลักษณะคุณภาพซากของสุกร
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลการเสริมฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และขิงในอาหารต่อสมรรถภาพการ เจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่กระทง ผลของการเสริมเปลือกกุ้งป่นในอาหาร ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และการตอบสนองภูมิคุ้มกันของไก่เนื้อ ผลของการเสริม Bacillus subtilis ในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตในสุกรรุ่น ผลของการเสริมใบพญาวานรในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตในไก่เนื้อ ผลของเปลือกกล้วยน้ำว้าหมักต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของสุกรขุนระยะสุดท้าย ผลของลิวซีนในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และการสะสมไขมันในซาก ผลการใช้บัวบกเสริมในอาหารสุกรระยะเจริญเติบโตที่มีต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันโรค และองค์ประกอบของเลือด ผลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากในสุกรพันธุ์กระโดน ผลของใช้ใบกระถินต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่เบตง การปรับปรุงค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยการเอกซ์ทรูด(ตอนที่ 2.2) : 2.2 สมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรที่ใช้ข้าวโพดผ่านการเอกซ์ทรูด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก