สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาช่อนทะเลวัยรุ่น
วิทยา รัตนะ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาช่อนทะเลวัยรุ่น
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of salinity on growth, survival of juvenile cobia Rachycentron canadum
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิทยา รัตนะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปลาช่อนทะเล (Cobia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rachycentron canadum (Linnaeus, 1766) เป็นปลาผิวน้้าที่พบได้ทั่วไปในทะเลเขตร้อน เขตอบอุ่น ใน 1 ปีปลาช่อนทะเลสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วประมาณ 4-6 กก. (Chou et al. 2001) ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นปลาที่มีคุณภาพเนื้อดี ในปี 2557 มีผลผลิตปลาช่อนทะเลที่ได้จากการเลี้ยงทั่วโลกประมาณ 40,329 ตัน ซึ่งผลผลิตปลาเนื้อได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลผลิตส่วนใหญ่ได้จากประเทศจีนและไต้หวัน โดยไต้หวันผลผลิตปลาช่อนทะเลขนาด 6-8 กิโลกรัมส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น ส่วนขนาด 8-10 กิโลกรัมใช้บริโภคในประเทศ (Liao et al., 2004) การเลี้ยงปลาช่อนทะเลในประเทศไทยมีโครงการน้าร่องการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออก โดยทดลองเลี้ยงในกระชังใหญ่จ้านวน 3 กระชังใช้เวลาเลี้ยง 412 วัน ได้ปลาขนาดเฉลี่ย 5.42 กิโลกรัม จ้านวน 82,490 กิโลกรัม มีอัตรารอด 74.58% (ทวี, 2551) เนื่องจากปลาช่อนทะเลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เป็นปลาที่มีความส้าคัญทางเศรษฐกิจที่ต้องพัฒนาการเลี้ยงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งออกในอนาคตจากรายงานของ Denson et al. (2003) ได้ศึกษาเรื่องผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของปลาช่อนทะเลขนาด 8.5 กรัมในระบบน้้าหมุนเวียน พบว่าการเลี้ยงที่ระดับความเค็มต่้า (5 ppt) ลูกปลามีการเจริญเติบโตและอัตรารอดต่้ากว่าลูกปลาที่เลี้ยงในระดับความเค็ม 15 และ30 ppt ดังนั้นในการศึกษาเรื่องผลของระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาช่อนทะเลวัยรุ่นในครั้งนี้เพื่อน้าข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจเลือกสถานที่สร้างกระชัง ให้เหมาะสมในการผลิตปลาช่อนทะเลเพื่อเป็นปลาเนื้อป้อนสู่ตลาดภายในและต่างประเทศต่อไป
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาช่อนทะเลวัยรุ่น
วิทยา รัตนะ
กรมประมง
31 มีนาคม 2553
กรมประมง
ผลกระทบของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง ผลของวัสดุหลบซ่อนต่างชนิดต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอด ของลูกปลาบู่ทรายวัยรุ่น ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดตายของกุ้งก้ามกราม ผลของอัตราการให้ปุ๋ยทางดินต่อการเจริญเติบโตของวานิลลา ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก ระดับโปรตีนและไขมันที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลากะรังหงส์ (Cromileptes altivelis) วัยรุ่น ระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของกุ้งก้ามแดงวัยอ่อน อิทธิพลของแสงและความเค็มต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลิงทะเล (Holothuria sp.) ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล ผลของการขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโตต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก