สืบค้นงานวิจัย
อัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการใช้ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยมูลไก่เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวโพดหวานในเขตพื้นที่มีความเหมาะสมกลุ่มชุดดินที่ 33
พัชรีภรณ์ ดีมุกข์ดา, วิทยา นิพนธ์, วัชระ สิงห์โตทอง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: อัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการใช้ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยมูลไก่เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวโพดหวานในเขตพื้นที่มีความเหมาะสมกลุ่มชุดดินที่ 33
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate Rate and Interval Time of Chemical Fertilizer Using by Soil Analysis Program with Chicken Manure for increasing sweet corn yield in Soil Group No.33.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): super sweetcorn
บทคัดย่อ: การศึกษาอัตราและช่วงเวลาการใช้ที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีโดยใช้โปรแกรมปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยมูลไก่และน้ำหมักชีวภาพผลไม้เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวโพดหวานในเขตพื้นที่มีความเหมาะสมในกลุ่มชุดดินที่ 33 เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดหวานเมื่อใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลไก่และน้ำหมักชีวภาพในอัตราและช่วงเวลาต่างๆและเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวโพดหวานในแต่ละตำรับการทดลองโดยมีวิธีการทดลอง 7 ตำรับได้แก่ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีแบบเกษตรกร (สูตร 15-15-15) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีจากผลการวิเคราะห์ดินใส่ช่วงเริ่มปลูก ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีจากผลการวิเคราะห์ดิน ใส่ช่วงเริ่มปลูก และอายุ 21 วัน ตำรับที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีจากผลการวิเคราะห์ดิน ใส่ช่วงเริ่มปลูก อายุ 21 วัน และ 35 วัน ตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งจากผลการวิเคราะห์ดิน ใส่ช่วงเริ่มปลูกร่วมกับปุ๋ยมูลไก่และน้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่ 6 ใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งจากผลการวิเคราะห์ดิน แบ่งใส่ช่วงเริ่มปลูก และอายุ 21 วัน ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ และน้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่ 7 ใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งจากผลการวิเคราะห์ดิน แบ่งใส่ช่วงเริ่มปลูก อายุ 21 วัน และ 35 วัน ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่และน้ำหมักชีวภาพ ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยมูลไก่มีแนวโน้มทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การแบ่งใส่ปุ๋ยแบบ 3 ครั้ง ให้ผลผลิตสูงกว่าการใส่แบบรองพื้นครั้งเดียว และการแบ่งใส่ 2 ครั้ง วิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและแบ่งใส่ 3 ครั้ง (ตำรับที่ 4 ) ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุดเท่ากับ 7,424.42 บาทต่อไร่ รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินแบ่งใส่ 3 ครั้งร่วมกับปุ๋ยมูลไก่และน้ำหมักชีวภาพ (ตำรับที่ 7) ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับ 6,653.07 บาทต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): Studying appropriate rate and interval time of chemical fertilizer using by Onfarm management programwith chicken manure and fruitable biological extract on soil Group No. 33 for compare growth, yield and economic return of sweet corn plantation. Contains 7 treatments: 1) conventional farmer 2) chemical fertilizer from onfarm management program in Early planting 3) chemical fertilizer from onfarm management program Early planting and 21 day old plants 4) chemical fertilizer from onfarm management program in 21 and 35 day old plants 5) ? of soil analysis from onfarm management program mixed with chicken manure and fruitable biological extract in Early planting 6) ? of soil analysis from onfarm management program mixed with chicken manure and fruitable biological extract in Early planting and 21 day old plants and 7) ? of soil analysis from onfarm management program mixed with chicken manure and fruitable biological extract in Early planting in 21 and 35 day old plants. The results found that using ? of chemical fertilizer from soil analysis presented abundance increase trend more than using chemical fertilizer only one times, In addition using distribution 3 times of chemical fertilizer provided the most corn yield more than using chemical fertilizer only one and two times.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการใช้ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยมูลไก่เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวโพดหวานในเขตพื้นที่มีความเหมาะสมกลุ่มชุดดินที่ 33
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ผลของปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิต และคุณภาพของอ้อยในกลุ่มชุดดินที่ 36 จ.เพชรบูรณ์ ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดรับประทานฝักสดโดยวิธีเขตกรรม (ข้าวโพดหวาน) การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น1 (S การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 3 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 2 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่ไม่มีความเหมาะสม (N)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก