สืบค้นงานวิจัย
ผลของความยาวก้านใบเลี้ยงและระยะเวลาในการบ่มต่อการพัฒนาจาวตาลโตนด
นงนุช วงศ์สินชวน - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของความยาวก้านใบเลี้ยงและระยะเวลาในการบ่มต่อการพัฒนาจาวตาลโตนด
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Cotyledonary Petiole Length and Incubation Period on Borassus flabellifer L. Haustorium Development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นงนุช วงศ์สินชวน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nongnuch Wongsinchuan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาพัฒนาการของจาวตาลจากความยาวก้านใบเลี้ยงและเวลาบ่ม ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2556 พบว่า การตัดก้านใบเลี้ยงที่ความยาว 17-24 และ  25-32 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก ปริมาตร ความกว้าง ความแน่นเนื้อของจาว ไม่ต่างกัน ส่วนความยาวที่มากกว่า 33 เซนติเมตร แม้มีปริมาตรกับความกว้างของจาวมาก แต่น้ำหนักจาวไม่แตกต่างกันกับที่ความยาว 17-24 และ  25-32 เซนติเมตร ขณะที่ความยาวน้อยกว่า 8, 9 - 16 เซนติเมตร มีน้ำหนัก และปริมาตรของจาว ต่ำกว่าที่ความยาว 25-32 เซนติเมตร ในส่วนความหนาแน่น ความแน่นเนื้อ และความชื้นของจาว มีแนวโน้มลดลงในกรรมวิธีที่มีความยาวก้านใบเลี้ยงมากขึ้น สำหรับระยะเวลาในการบ่มตั้งแต่ 0 ถึง 4 เดือน มีผลต่อการพัฒนาของจาวตาลในช่วง 1 เดือนเท่านั้น เมื่อพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความยาวก้านใบเลี้ยงกับระยะเวลาในการบ่ม มีผลต่อความกว้างและความชื้นของจาวตาล แต่ไม่มีผลต่อน้ำหนัก  ปริมาตร และความแน่นเนื้อ
บทคัดย่อ (EN): Studies of palmyra palm haustorium development from the cotyledonary petioles lengths (<8, 9-16, 17-24, 25-32 and >33 cm) and incubation periods were investigated at Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University, Pattani Province, during June-September 2013. The results showed that the lengths of cotyledonary petiole at 17-24, and 25-32 cm could yield no difference in terms of  haustorium weight, volume, width and firmness, although the length >33 cm could give more volume and width but the weight did not differ significantly. However, at the length <8 and 9-16 cm resulted in the lower weight and volume than the length 25-32 cm. The density, firmness and moisture content declinded when the cotyledonary petiole length increased. Incubation period from 0 to 4 months had effect on development of haustorium during the period of 1 month. Interaction between cotyledonary petiole length and incubation period was found on haustorium  width and water content whereas no effect on weight, volume and firmness.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245769/168005
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความยาวก้านใบเลี้ยงและระยะเวลาในการบ่มต่อการพัฒนาจาวตาลโตนด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาน้ําหนักสดและสารอาหารในจาวตาลที่อายุการบ่มต่างกัน การทำลายการพักตัวของเมล็ดและการกระตุ้นการเจริญของจาวตาลโตนด (Borassus flabellifer Linn.) การพัฒนาแป้งกึ่งสำเร็จรูปจากเนื้อตาลสุก การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของตาลโตนด โดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ. โครงการวิจัยและพัฒนาตาลโตนด ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ฮอร์โมน 17 alpha methyltestosterone ในการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน การศึกษาลักษณะความยาวก้านใบของถั่วเหลืองที่มีความสัมพันธ์ต่อผลผลิต การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนากระบวนการตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยระบบอัตโนมัติ การพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรการทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก