สืบค้นงานวิจัย
การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
สกนธ์ แสงประดับ, กมลรัตน์ ยงเจริญ, ธนิกานต์ บัวทอง, พรรณทิพา สามารถ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
ชื่อเรื่อง (EN): Fish meal replacement with potential plant protein ingredient in giant tiger prawn Penaeus monodon (Fabricius, 1798) feed
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Frabricius, 1798) กมลรัตน์ ยงเจริญ๑* ธนิกานต์ บัวทอง๑ พรรณทิพา สามารถ๒ และ สกนธ์ แสงประดับ๑ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำชลบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร บทคัดย่อ ศึกษาผลของการแทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันและกากยีสต์ในกุ้งกุลาดำ การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 การทดลองย่อย โดยทดสอบในตู้กระจกขนาดความจุน้ำ 80 ลิตร และความหนาแน่น 30 ตัว/ตู้ ในการทดลองที่ 1 อาหารทดสอบประกอบด้วยอาหารสูตรควบคุมที่ใช้ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนหลัก (100%) และอาหารแทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 10, 20 และ 30% ตามลำดับ เลี้ยงกุ้งที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.19?0.01 กรัม ด้วยอาหารแต่ละสูตรๆ ละ 3 ตู้ ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้วันละ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกันครั้งละ 4 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 8สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 10% มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราแลกเนื้อและประสิทธิภาพการใช้โปรตีนจากอาหารไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีค่าดีกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แทนที่ด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 20 และ 30% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p0.05) การศึกษาพื้นที่ของเซลล์สะสมไขมัน (R-cell) ในท่อตับพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 10% มีพื้นที่ของ R-cell ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีค่าน้อยกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 20 และ 30% การทดลองที่ 2 อาหารทดสอบประกอบด้วยอาหารสูตรควบคุมที่ใช้ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนหลัก (100%) และอาหารแทนที่ปลาป่นด้วยกากยีสต์อัตรา 10, 20 , 30, 40 และ 50 % ตามลำดับ เลี้ยงกุ้งที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.29?0.01 กรัม ด้วยอาหารแต่ละสูตรๆ ละ 3 ตู้ ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้วันละ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกันครั้งละ 4 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 8สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากยีสต์อัตรา 10 20 และ 30% มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันและประสิทธิภาพของโปรตีนในอาหารไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีค่าดีกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากยีสต์อัตราที่ 40 และ50% เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) ส่วนพื้นที่ของเซลล์สะสมไขมัน (R-cell) ในท่อตับพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 10 20 และ 30% มีพื้นที่ของ R-cell ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีค่าน้อยกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่แทนที่ปลาป่นด้วยกากเมล็ดทานตะวันอัตรา 40 และ 50% คำสำคัญ : กากเมล็ดทานตะวัน กากยีสต์ กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) ? ผู้รับผิดชอบ: ๔๑/๑๔ หมู่ ๙ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๑๐ e-mail: kamonrat.y@gmail.com
บทคัดย่อ (EN): Replacement Fishmeal with Ingredient of Plant Potential in Feed Black Tiger Shrimp (Penaeus monodon Fabricius, 1798) Kamonrat Youngjarean? Pichet Plaipetch Nonglak Samranrat Jeerarat Kaukaew and Pradit Chonchuenchob Chonburi Aquatic Animal Feed Technology Research and Development center Abstract Effects of dietary fishmeal replacement with sunflower seed meal (SFM) and brewer’s yeast meal (BYM) were conducted. The study was divided into 2 sub-trail in which tested in 80 L- aquaria and shrimp was stocked with densities of 30 dividual/aquarium. In trail 1, test diets consisted of a control using fishmeal as major protein source and diets replaceing fishmeal with SFM by 10, 20 and 30%, respectively. Shrimp with an initial weight of 0.19?0.01 g was fed each diet with 3 replications by 4-5% body weight divided into 5 meals with interval time of 4 hours for 8 weeks. The results indicated that non-significant differences of daily weight gain (%DWG), feed conversion rate (FCR) and protein efficiency ratio (PER) were observed for shrimp fed control diet and diet replacing fishmeal with SFM by 10% (P>0.05), but significantly better than those shrimp fed diets replacing fishmeal with SFM by 20 and 30% (P0.05), but significantly lower than those of shrimp fed diets replacing fishmeal with SFM by 20 and 30% (P0.05), not significantly better than those shrimp fed diets replacing fishmeal with BYM by 40 and 50% (P0.05), but significantly lower than those of shrimp fed diets replacing fishmeal with BYM by 40 and 50% (P<0.05) Key words : sunflower meal, brewer’s yeast meal, Penaeus monodon * Corresponding author: 41/14 Moo 9, Bangpra Sub-district, Sriracha District, Chonburi Province 20110.Tel. 0 3832 6512 Fax. 0 3831 2532 E-mail: kamonrat.y@gmail.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
กรมประมง
30 กันยายน 2560
กรมประมง
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ผลของการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินสำหรับการแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชในอาหารกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798) การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การใช้น้ำนึ่งปลาทูน่าเข้มข้นเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798) ประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนจากวัตถุดิบโปรตีนจากพืชในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricus, 1798) และปลากะพงขาว Lates calcarifer (Bloch, 1790) การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) เป็นวัตถุดิบในอาหารกุ้งกุลาดำ ผลของการเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารต่อความเข้มสีในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon การเสริมกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิดในสูตรอาหารปลากะพงขาว กุ้งขาวและกุ้งกุลาดำที่มีการใช้โปรตีนพืชในอัตราสูง การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก