สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวี เนียมโภคะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประวี เนียมโภคะ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนการดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ความคิดเห็นของคณะกรรมการต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชน ตลอดจนปัญหาอุปสรรค์และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและ ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนทุกศูนย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 52 ศูนย์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า สถานที่ตั้งศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ร้อยละ 67.3 เป็นสถานที่เอกชน ร้อยละ 30.8 เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2544 และ 2545 ในจำนวนเท่ากัน จำนวนสมาชิกศูนย์เฉลี่ย 20.3 คน ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวและปุ๋ยเคมี โดยได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 2,730.7 กิโลกรัมต่อศูนย์ และได้รับการสนับสนุนปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 6,066.7 กิโลกรัมต่อศูนย์ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนตาข่ายไนล่อน ร้อยละ 55.8 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณปรับบริเวณศูนย์ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนปุ๋ยพืชสดและเชื้อไรโซเบี้ยม ร้อยละ 55.8 ไม่มีอาคารและวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญในการดำเนินงาน ในส่วนที่มีอาคาร ร้อยละ 69.6 เป็นอาคารทำการ ร้อยละ 38.5 คัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรโดยพิจารณาจากความสนใจของเกษตรกร มีคณะกรรมการบริหารศูนย์เฉลี่ย 5.9 คนต่อศูนย์มีการประชุม 3.7 ครั้งต่อฤดูการผลิต ส่วนใหญ่ประชุมชี้แจงให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบเฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อเดือน ส่วนใหญ่มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหมุนเวียน และสมาชิกส่วนใหญ่กู้เงินทุนหมุนเวียนเฉลี่ย 15.7 รายต่อศูนย์ ร้อยละ 46.3 กู้เป็นเงินสดและปัจจัยการผลิต ส่วนใหญ่มีกฎระเบียบข้อบังคับในการบริหารเงินกองทุน มีเงินกองทุนหมุนเวียนของศูนย์เฉลี่ย 56,840.2 บาท ร้อยละ 44.2 นำเงินกองทุนไปใช้ซื้อปัจจัยการผลิต การเก็บรักษาเงินกองทุนให้คณะกรรมการดูแลรักษาและฝากธนาคาร การพิจารณาให้ยืมเงินและปัจจัยการผลิต ร้อยละ 51.9 พิจารณาจากพื้นที่ทำการเกษตรร้อยละ 67.3 สมาชิกส่งเงินคืนหลังเก็บเกี่ยว ศูนย์ส่วนใหญ่มีการจัดทำบัญชีถูกต้องเรียบร้อยและมีการคัดเลือกพื้นที่ ดูความเหมาะสมและเกษตรกรสนใจผลการจัดทำแปลงพันธุ์ 200 ไร่ เกษตรกรได้ข้าวพันธุ์ดีและกระจายพันธุ์สู่เกษตรกรข้างเคียง จำนวนสมาชิกร่วมจัดทำแปลงพันธุ์เฉลี่ย 16.7 คนต่อศูนย์ ร้อยละ 57.7 ใช้พันธุ์สุพรรณบุรี มีการตรวจพันธุ์ปนเฉลี่ย 2.1 ครั้ง และร้อยละ 30.9 ตรวจพันธุ์ปนระยะออกดอก ร้อยละ 65.4 มีคณะกรรมการควบคุมตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ ร้อยละ 51.9 ลดความชื้นข้าวเปลือก ก่อนการจำหน่าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งเมล็ดพันธุ์ให้ศูนย์ขยายพันธุ์พืชตรวจสอบ เหตุที่ไม่ส่งเพราะดำเนินการเองได้ร้อยละ 41.0 เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวบรรจุกระสอบป่านวางบนไม้สูงจากพื้น 13 - 15 เซนติเมตร ผลผลิตที่ได้จากพันธุ์ข้าว 200 ไร่ เฉลี่ย 129,634.2 กิโลกรัมต่อศูนย์ ผลผลิตเฉลี่ย 699.1 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตที่ได้นำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยศูนย์ละ 30.0 ตัน การจำหน่ายผลผลิตของสมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.3 แยกกันจำหน่าย เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว การกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการจำหน่าย ร้อยละ 44.4 จำหน่าย ราคาเฉลี่ย 5.6 บาทต่อกิโลกรัม ร้อยละ 57.7 จะกระจายพันธุ์ได้ครบ 4,000 ไร่ ภายใน 4 ปี ผลผลิตที่จำหน่ายเป็นเมล็ดข้าวทั่วไปเฉลี่ย 5,670.8 บาทต่อตัน ร้อยละ 65.4 ได้จัดทำทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายไว้ การได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 6.4 ครั้งต่อฤดูการผลิตและได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 2.5 ครั้งต่อฤดูการผลิต คณะกรรมการศูนย์เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน และเห็นด้วยต่อโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์-ข้าวชุมชน ศูนย์มีปัญหาด้านเมล็ดพันธุ์ของทางราชการในเรื่องเมล็ดพันธุ์มาล่าช้า ไม่ได้มาตรฐานไม่ตรงกับความต้องการ ได้รับน้อยเกินไป และศูนย์ไม่สามารถสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้สมาชิกได้ในบางช่วง ปัญหาด้านการจัดทำแปลง 200 ไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสมและเกษตรกรทำนาไม่พร้อมกัน ปัญหาการกำหนด เป้าหมายและกระจายพันธุ์ดี เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เพราะขาดแคลนน้ำ อุปกรณ์การผลิต และเกษตรกรเปลี่ยนพันธุ์บ่อย ปัญหาด้านกองทุนหมุนเวียนสมาชิกส่งเงินคืนล่าช้าและเงินกองทุนมีน้อย ซึ่งศูนย์ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ดังนี้ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชควรส่งเมล็ดพันธุ์ให้ทันตามความต้องการของศูนย์ ควรมีการสนับสนุนการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3 ปี ควรสนับสนุนอัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่และปริมาณพื้นที่เข้าร่วมโครงการตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยประสานงานกับชลประทานเรื่องน้ำและควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การผลิตข้าวพันธุ์ดีในชุมชน รัฐเน้นการสนับสนุนเพิ่มกองทุน รถเกี่ยวข้าว ลานตากข้าว และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ละ 1 คน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดสระบุรี ความพึงพอใจของเกษตรกร การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน กิ่งอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ความรู้และความต้องการของผู้ปกครองสมาชิกยุวเกษตรกรเกี่ยวกับการดำเนินงานยุวเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก