สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจข้อมูลการเลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ (ปัญหาการจัดการอาหารหยาบและความต้องการเครื่องจักรกลในฟาร์มโคนม)
ไพโรจน์ ศิลมั่น - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การสำรวจข้อมูลการเลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ (ปัญหาการจัดการอาหารหยาบและความต้องการเครื่องจักรกลในฟาร์มโคนม)
ชื่อเรื่อง (EN): Survey on dairy cattle production in Chiang Mai (Problems on roughage management and farm machine requirement
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพโรจน์ ศิลมั่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pirot Silman
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sompong Sruamsiri
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจข้อมูลในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างปีโฟ. ศ. 2548-2549 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สอบถามเกษตรกรโดยตรง ณ ฟาร์มเกษตรกร ริงศูนย์รับน้ำนมดิบ แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะ ที่ 1 ทำการสำรวจ ระหว่างเดือนธันวาคม 25417 - มิถุนายนั 2548 จากเกษตรกรจำนวน 453 ราย และ ระยะที่ 2 การดำเนินงานระหว่างเดือนมีนาคม - ตุลาคม พ.ศ.2549จำนวนเกษตรกร ในระยะที่ 1 สุรุปได้ว่า เกษตรกรร้อยละ 87.30 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปีร้อยละ 48.89 เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 63.69 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คนเป็นแรงงานในฟาร์ม 2 คน เกษตรกรร้อยละ 88.47 เลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลักและมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 10.24 ปี ขนาดของฟาร์มเป็นฟาร์มขนาดกลาง มีจำนวนโคนมในฟาร์มเฉลี่ย 23.75 ตัว โดยเป็นโครีดนม 9.96 ตัว แม่โคมีการให้นมเฉลี่ย 12.41 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน และมีพื้นที่ในการปลูกหญ้าเฉลี่ย 2.46 ไร่ต่อฟาร์ม เกษตรกรเริ่มต้นฟาร์มโคนมโดยซื้อโคอุ้มท้องมาเลี้ยง โคนมในฟาร์มเกือบทั้งหมดเป็นโคลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยน (ขาว-ดำ) เกษตรกรซื้ออาหารสำเร็จจากภายนอกฟาร์ม(สหกรณ์โคนมหรือร้านค้า โดยไม่มีการผสมอาหารเองในฟาร์ม เกษตรกรไม่นิยมเลี้ยงลูกโคเพศผู้แต่เลี้ยงลูกโคนมเพศเมียไว้ในฟาร์มเพื่อเป็นโคทดแทนฝูง ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคนมคือการขาดแคลนอาหารหยาบ อาหารข้นมีราคาแพง ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญคือโรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ รกค้างและ ผสมติดยาก ผลการสำรวจในระยะที่ 2 ปรากฎว่าเกษตรกรร้อยละ 80.26 เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 45 ปี ร้อยละ 38.92 เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 53.57 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน ร้อยละ 60.93 และใช้แรงงานในครอบครัวในการดำเนินกิจการฟาร์มโคนม เกษตรกรร้อยละ 89:99 เลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลัก และกู้ยืมเงินลงทุน (ร้อยละ 70.29) จากแหล่งเงินทุนต่าง เช่นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำฟาร์มมากกว่า 10 ปีร้อยละ 50.59 มีฟาร์มโคนมเป็นฟาร์มขนาดกลาง มีจำนวนโคนมระหว่าง 11-30 ตัว ร้อยล ะ 57.66 มีแม่โครีดนมร้อยละ 24.59 และแม่โคนมให้น้ำนมเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 1496 กิโลกรัมต่อตัว เกษตรกรไม่นิยมเลี้ยงลูกโคนมเพศผู้ในฟาร์ม แต่เลี้ยงลูกโคเพศเมียเพื่อเป็นโคทดแทนฝูง เกษตรกรเริ่มต้นเลี้ยงโคนมโดยซื้อโคท้องมาเลี้ยง โคนมเกือบทั้งหมดเป็นโคลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยน (ร้อยละ96.07 ) ส่วนใหญ่เกษตรกรมีอาหารหยาบไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงโคนม ทั้งในฤดูฝน(ร้อยละ 14.96) และฤดูแล้ง (ร้อยละ80.69) อาหารข้นส่วนใหญ่เป็นอาหารสำเร็จรูปที่ซื้อจากสหกรณ์โคนมหรือร้านค้าทั่วไป ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงโคนมคือ ปัญหาอาหารหยาบที่ไม่ได้คุณภาพและมีปริมาณไม่เพียงพอ อาหารขันมีราคาแพง ราคาน้ำนมตกต่ำ ด้านสุขภาพและการจัดการเกษตรกรมีปัญหา การผสมติดยาก มดลูกอักเสบ รกค้าง และมีโรคท้องอืดเกิดขึ้นในฟาร์ม
บทคัดย่อ (EN): The status of dairy cattle raising in Chiang Mai was divided in 2 periods, firstly during December 2004 - June 2005 and secondly, during March 2006-October 2006 .In the first period, four hundred fifty three dairy farmers were interviewed using questionnaires at their farms or milk collecting center. The results indicated that 87.30% of dairy farmers were males with average age of 48.89 years ( % in range of 41-50 years). Most of them had finished primary school (63.69%).In average, the family have 4 members with 2 members working in the farm (67.12%),About 88.47% of the farmers raising dairy cattle as their main livelihood and had experience of dairy raising for an average of 10.24 years. They started the farms from purchased pregnant co them raised crossbred Holstein-Friesian and had average of 23.75 cattle in their farms which were moderate farm size. The average number of cow was 9.96 heads/farm with an average daily milk production of 12.41 kg/head. In addition, the average area used for pasture was 2.46 rai/ farm and non of the farmers mixed their concentrate feed for their stock. The important problems and obstacles of dairy cattle raising in Chiang Mai included insufficient of roughage , expensive concentrate feed , mastitis, low conception rate and retained placenta. In the 2nd period four hundred and thirty two dairy farmers were individually interviewed using questionnaires at their farm land or at milk collection center. The results showed that 88.26% of dairy farmers were male, around 38.92% had an average age over 45 years. Most of the farmers (53.57%) finished primary school. The family had 4-6 members (60.93%) and only 2 of them are working in the farm. Most of them (89.99%) relied their major household income through raising dairy cattle and received the soft loan from the bank (70.29%), eg, Farmers Bank. In average, farmers had long experience on raising cattle for more than 10 years (50.59%). Their farm are in medium farm size of around 11-30 cows (57.66%). They started the dairy from purchasing pregnant cows. The main dairy breed is crossbred Holstein-sian (96.07%).The average milking cows was 9.89 heads per farm with an average milk production of 14.83 kg/head/day. Farmers raised only female calf in the farm, but not the male. Farmers used concentrated feed supplied by dairy cooperative or by private feed supplier. Major problems and constraints the farmers steady facing were insufficient roughage both in quantity and quality, especially in dry season. However, the price of concentrate were too expensive, whereas the milk price was very low. Moreover, the problems on animal health still occurred, especially mastitis, metritis, low conception rate, retained placenta and bloat.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-49-013.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 438,500
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/207485
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2548
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจข้อมูลการเลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ (ปัญหาการจัดการอาหารหยาบและความต้องการเครื่องจักรกลในฟาร์มโคนม)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
พันธุกรรมกับอาหารโคนม ผลการใช้ใบยอผงเป็นสารเสริมในอาหารต่อปริมาณการกินได้ และผลผลิตน้ำนมในโคนม การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม ผลของโภชนะบำบัดอาหารหยาบต่อสวัสดิภาพและสุขภาพโคนม การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพโคนมของเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่ การผลิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องผลิตหญ้าหมักสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ระบบการผลิตโคนมอินทรีย์ต่อคุณค่าทางโภชนะของน้ำนมในฟาร์มขนาดเล็ก การใช้ฟางถั่วเหลืองเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคทดแทนฝูง การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก