สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินด้วยวัสดุแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มน้อยถึงปานกลาง
อัญชุลี อัฐทอง, ผกากรอง มาลา - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินด้วยวัสดุแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มน้อยถึงปานกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Soil management of husk applied with chemical fertilizer for increasing biomass green manure crops and quality yield of Sticky rice,KDML 105 in Low-medium level of salinity
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง ดำเนินการในแปลงเกษตรกร บ้านนา หมู่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ในกลุ่มชุดดินที่ 7 โดยใช้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ดำเนินการระหว่างปี 2556-2557 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราที่เหมาะสมของแกลบเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลางและเพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 18 ตำรับทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับทดลองที่ 1 ถั่วพร้า 10 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 2 ถั่วพร้า 12 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 3 ถั่วพร้า 8 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 4 ถั่วพุ่ม 10 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 5 ถั่วพร้า 10 กก./ไร่ แกลบ 250 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 6 ถั่วพร้า 10 กก./ไร่ แกลบ 500 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 7 ถั่วพร้า 10 กก./ไร่ แกลบ 750 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 8 ถั่วพร้า 12 กก./ไร่ แกลบ 250 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 9 ถั่วพร้า 12 กก./ไร่ แกลบ 500 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 10 ถั่วพร้า 12 กก./ไร่ แกลบ 750 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 11 ถั่วพุ่ม 8 กก./ไร่ แกลบ 250 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 12 ถั่วพุ่ม 8 กก./ไร่ แกลบ 500 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 13 ถั่วพุ่ม 8 กก./ไร่ แกลบ 750 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 14 ถั่วพุ่ม 10 กก./ไร่ แกลบ 250 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 15 ถั่วพุ่ม 10 ก./ไร่ แกลบ 500 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 16 ถั่วพุ่ม 10 กก./ไร่ แกลบ 750 กก./ไร่ ตำรับทดลองที่ 17 ไม่ปลูกถั่ว ไม่ใส่แกลบ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และ ตำรับทดลองที่ 18 ไม่ปลูกถั่ว ไม่ใส่แกลบ ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลการทดลองสมบัติทางเคมีพบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างมีแนวโน้มลดลงจากช่วง 6.07 – 7.77 ระดับกรดเล็กน้อยถึงด่างเล็กน้อยมาอยู่ระดับกรดจัดถึงเป็นกลาง ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 5.57 – 6.87 ในปีที่ 2สำหรับค่าการนำไฟฟ้าก่อนทำการทดลอง พบว่าอยู่ในช่วง 0.35– 4.25 mmho-1cm ระดับเค็มน้อยถึงปานกลาง หลังจากทำการทดลองพบว่ามีค่าการนำไฟฟ้าทุกตำรับลดลงทุกปีหลังจากที่มีการจัดการด้วยแกลบและพืชปุ๋ยสด ค่าอยู่ในช่วง 2.18 – 0.13 mmho-1cm ระดับเค็มน้อยถึงไม่เค็ม แสดงให้เห็นว่าการจัดการดินในแต่ละตำรับการทดลองมีผลทำให้ค่าการนำไฟฟ้าแต่ละตำรับลดลง สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ ปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับต่ำถึงสูง และปริมาณโพแทสเซียมอยู่ในระต่ำถึงสูง ด้านการเจริญเติบโต พบว่า ปีที่ 2 มีความสูงมากกว่าปีแรก ตำรับทดลองที่ 7 ให้จำนวนต้นต่อกอสูงสุดในปีแรก เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 จำนวนต้นต่อกอไม่แตกต่างจากตำรับอื่นๆ น้ำหนักฟางและน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ไม่แตกต่างกันทั้งสองปี แต่ปีที่ 2 มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด สูงกว่าปีแรก จำนวนเมล็ดดีในปีแรกสูงกว่าปีที่ 2 และมีจำนวนเมล็ดลีบต่ำกว่าปีที่ 2 ส่วนผลผลิตในแต่ละปีไม่แตกต่างกัน แต่ปีที่ 2 ให้ผลผลิตมากกว่าปีแรกถึง 4 เท่าโดยเฉลี่ย ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า ตำรับทดลองที่ 17 มีต้นทุนการผลิตต่ำสุด 6,970 บาทต่อไร่ ตำรับทดลองที่ 12 มีมูลค่าผลผลิตสูงสุดในปีแรก 5,600 บาทต่อไร่ ปีที่ 2 ตำรับทดลองที่ 8 มีมูลค่าผลผลิตสูงสุด 21,279.6 บาทต่อไร่ ซึ่งมีมูลค่าผลผลิตสูงกว่าปีแรกถึง 4 เท่าโดยเฉลี่ย และรายได้สุทธิ พบว่า ในปีแรกเกิดน้ำท่วมแปลงจึงทำให้เก็บผลผลิตได้น้อยและทำให้ขายข้าวขาดทุน ตำรับทดลองที่ 17 จึงมีรายได้สุทธิสูงที่สุด -3,237 บาทต่อไร่ ส่วนปีที่ 2 ตำรับทดลองที่ 8 มีรายได้สุทธิสูงสุดถึง 12,209.6 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกันทั้งสองปีแล้ว พบว่า ปีที่ 2 มีผลกำไรในการขายข้าวสูงกว่าปีแรกถึง 2 เท่าโดยเฉลี่ย
บทคัดย่อ (EN): The research project on an application of rice husk and chemical fertilizer on green manner biomass and Thai Jasmine Rice(KDML 105) yield enhancement on low-moderate level of saline soilwas conducted on Ban Na Moo1, Ban Kham sub-district, Chaturat district, Chaiyaphum Province. The field experiment was established on soil group No.7, in KDML 105 fields, carried out from 2013-2014. The objective of this research was to identify the optimum rate of rice husk application on enhancing of green manner biomass and KDML 105 yield on low-median level of saline soil. Furthermore, the objective of this study was to evaluate the net return under varied soil management. The experiment was prepared in Randomized Complete Block Design (RCBD) with 18 treatments and 3 replications. The treatments selected for this study were: (1) sword bean (Canvaliaensiformis) 10 kg/rai application; (2) sword bean (Canvaliaensiformis) 12 kg/rai application; (3) sword bean (Canvaliaensiformis) 8 kg/rai application; (4) cowpea (Vignaunguiculata) 10 kg/rai application; (5) sword bean (Canvaliaensiformis) 10 kg/rai + rice husk 250 kg/rai application; (6) sword bean (Canvaliaensiformis) 10 kg/rai + rice husk 500 kg/rai application; (7) sword bean (Canvaliaensiformis) 10 kg/rai + rice husk 750 kg/rai application; (8) sword bean (Canvaliaensiformis) 12 kg/rai + rice husk 250 kg/rai application; (9) sword bean (Canvaliaensiformis) 12 kg/rai + rice husk 500 kg/rai application; (10) sword bean (Canvaliaensiformis) 12 kg/rai + rice husk 750 kg/rai application; (11) cowpea (Vignaunguiculata) 8 kg/rai + rice husk 250 kg/rai application; (12) cowpea (Vignaunguiculata) 8 kg/rai + rice husk 500 kg/rai application; (13) cowpea (Vignaunguiculata) 8 kg/rai + rice husk 750 kg/rai application; (14) cowpea (Vignaunguiculata) 10 kg/rai + rice husk 250 kg/rai application; (15) cowpea (Vignaunguiculata) 10 kg/rai + rice husk 500 kg/rai application; (16) cowpea (Vignaunguiculata) 10 kg/rai + rice husk 750 kg/rai application; (17) no green manuring, no rice husk application and no chemical fertilizing; and (18) no green manuring, no rice husk application but adding chemical fertilizer as soil analysis’ recommendation. The result at the 2nd year, showed that soil pH in study area tended to decreasing from range of 6.07-7.77 (slightly acid to slightly base) to 5.57-6.87 (strong acid to neutral soil reaction). Pre experimental, initial soil electricity was range of 0.35 – 4.25 mmho-1cm (slightly saline to moderate saline). Post experimental, soil electricity of all treatments which applied by rice husk application and green manuring, tended to decreasing from range of 2.18-0.13 mmho-1cm (slightly saline soil to actual soil). This result clearly showed that all practices of soil management of this study can reduce soil electricity. For soil organic matter content was ranges of low to slightly low. Available phosphorus was ranges of low to high while, available potassium was found low to high. Part of rice growth at the 2nd year, soil management practices in different treatments showed significantly height of rice stem while, the treatment no. 7 was highest number of rice stem per clump. A part of treatments, number of rice stem per clump and weight of rice straw were not found significantly between the 1st and 2nd year. On the other hand, 1,000 grain weight of the 2nd year was higher than 1,000 grain weight of the 1st year. Amount of good quality seeds of the 1st year were higher than amount of good quality seeds of the 2nd year. Amount of undeveloped kernels of the 1st year were lower than amount of undeveloped kernels of the 2nd year as well. Part of rice yield, there were not found significantly in each of year even though, there were found more than 4 times of the1st year rice yield in the 2nd year. Part of net return at the 1st year, the treatment no. 7 was lowest cost approximately 6,970 baht per rai and the treatment no. 12 was highest value of rice production with 5,600 baht per rai. At the 2nd year, the treatment no. 8 was highest value of rice production about 21,279.6 baht per rai with 4 times of the 1st year rice production. According to unexpected event at the1st year, rice yield was damaged by flood. This event result in low productivity and loss therefore, the treatment no. 17 was highest net income about -3,237 baht per rai. Hence, the 2nd year profit was higher than the1st year profit.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-02-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-02-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินด้วยวัสดุแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มน้อยถึงปานกลาง
กรมพัฒนาที่ดิน
1 กุมภาพันธ์ 2560
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิ อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์เคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 การเพิ่มศักยภาพพื้นที่ดินเค็มด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 การใช้ใบไม้ทนเค็ม Acacia ampliceps เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มชุดดินที่ 20 )เพื่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก