สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
สาทิพย์ มาลี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Biological Control of Agricultural Pests
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สาทิพย์ มาลี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึง เดือนกันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการนำศัตรูธรรมชาติมาใช้ควบคุมศัตรูพืช เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ทำการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และในสภาพแปลงของเกษตรกรในจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 61 การทดลอง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การผลิตและการใช้แมลงและไรควบคุมศัตรูพืช จำนวน 7 การทดลอง ทำการศึกษาแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมแมลงหวี่ขาว ศึกษาศักยภาพของด้วงเต่าตัวห้ำและผีเสื้อตัวห้ำ พัฒนาการผลิตขยายมวนเพชฌฆาต และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแมลงช้างปีกใส กิจกรรมที่ 2 การผลิตและการใช้เชื้อจุลินทรีย์และไส้เดือนฝอยควบคุมแมลงศัตรูพืช จำนวน 20 การทดลอง ประกอบด้วยการศึกษาด้านไวรัส NPV ได้แก่ ศึกษาการผลิตไวรัส NPV โดยเซลล์เพาะเลี้ยง พัฒนาสูตรไวรัส NPV การเก็บรักษาและการนำไปใช้ การศึกษาด้าน BT ได้แก่ การคัดเลือก BT ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพสูง การผลิตขยาย BT ผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตรต่อ BT และระดับความต้านทานของแมลงต่อ BT การศึกษาด้านเชื้อราแมลง ได้แก่การคัดเลือก การผลิตขยาย และทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราบิวเวอเรียและราเขียวเมตาไรเซียม การศึกษาด้านไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ได้แก่การผลิตขยายไส้เดือนฝอย Steinernema riobrave S.graseri การทดสอบประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยและการเก็บรักษา กิจกรรมที่ 3 การผลิตและการใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืช จำนวน 24 การทดลอง ประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis คัดเลือกและทดสอบสายพันธุ์ Bacillus ควบคุมเชื้อ Phytophthora parasitica Erwinia carotovora Rhizoctonia solani Colletrotrichum gloeosporioides C. capsici Ralstonia solanacearum Fusarium solani การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียในการควบคุมโรคโรคยางไหลในพืชตระกูลแตง โรคเน่าสีน้ำตาลและโรคใบจุดสีน้ำตาลในกล้วยไม้ การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Pasteuria penetrans ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp และไส้เดือนฝอยเรนิฟอร์ม การผลิตและการใช้เชื้อราควบคุมโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยและเชื้อรา Sclerotium rolfsii Fusarium oxysporum Alternaria brassicicola กิจกรรมที่ 4 การควบคุมสัตว์ศัตรูพืช และวัชพืชโดยชีววิธี จำนวน 7 การทดลอง ประกอบด้วย การพัฒนาเหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู การเพาะเลี้ยงหอยตัวห้ำและการสำรวจศัตรูธรรมชาติของหอยศัตรูพืช การใช้ฝอยทองควบคุมวัชพืช และการใช้ถั่วซีรูเลียมควบคุมหญ้าคา กิจกรรมที่ 5 ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติเป็นปริมาณมาก จำนวน 3 การทดลอง ประกอบด้วยการพัฒนาวิธีการการผลิตขยายแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเป็นปริมาณมากและการเก็บรักษาแตนเบียนจนสามารถปรับลดต้นทุนการผลิต จากเดิมต้นทุนการผลิต 3 – 4.50 บาท/แตนเบียน 1 คู่ สามารถปรับให้ลดลงได้เหลือ 2 บาท/ 1 คู่ การจัดทำรูปแบบการผลิตหนอนนกซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อเป็นเหยื่ออาหารสำหรับนำไปผลิตมวนเพชฌฆาตเป็นปริมาณมากแบบครบวงจร และได้วิธีการเลี้ยงขยายไรตัวห้ำให้มีปริมาณมาก
บทคัดย่อ (EN): The research and development on biological control of agricultural pests was carried out for 5 years during October 2011 – September 2015. The project aimed at research and development on bio-agent for biological control of Agricultural Pests to reduce pesticide used. The research were studied both in the laboratory of Plant Protection Research and Development Office and in the farmer fields in several provinces. The project comprised 5 research activities. The first activity: Mass production and utilization of beneficial insects and mites for control of agricultural pest consisted of 7 experimentals. They were : Study on beneficial insects for control whitefly, Potential study of coccinellid predator and the butterflies predator, Development on mass production of assassin bug, Effect of temperature entomopathogenic nematodes and fungi on green lacewing. The 2nd activity: Mass production and utilization of microorganisms and entonopathogenic nematode for pest control consisted of 20 experimentals. They were : Development technology of nucleopolyhedrovirus producing from cell culture, The bioproduct development of nucleopolyhedrovirus formulations, efficacy test and application. Efficacy and application of BT. Mass production and efficacy test of entomopathogenic fungi. Mass production and efficacy test of entomopathogenic nematode. The 3nd activity: Mass Production and Utilization of microorganism for control plant pathology consisted of 24 experimentals. They were : Development Formulation of Bacillus subtilis. Selection and efficacy test of high potential bacillus for controlling Phytophthora parasitica Erwinia carotovora Rhizoctonia solani Colletrotrichum gloeosporioides C. Capsici Ralstonia solanacearum Fusarium solani., Selection and efficacy test of antagonistic bacterias for controlling Didymella bryoniae Burkholderia gladioli Acidovorax avenae Rhizoctonia solani. Screening of potential Pasteuria penetrans isolates for controlling root-knot nematodes and reniform nematodes. Selection and efficacy test of antagonistic fungi for controlling Sclerotium rolfsii Fusarium oxysporum Alternaria brassicicola Fusarium oxysporum and root-knot nematodes. The 4nd activity: Biological control of animal pests and weed consisted of 7 experimentals. They were : Mass production of Sarcocystis singaporensis for biological control of rodents. Species selection of predatory snail for biological Snails Pest Control. The 5nd activity: Pilot centre for mass production of bio-control agent consisted of 3 experimentals. They were : Pilot center for mass production of pink cassava mealybug parasitoid, Pilot centre for mass production of assassin Bug for controlling insect pests and pilot plant for large scale production of predatory mites.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292785
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique มุมมองเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช แมลงศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การใช้เชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM04 ควบคุมเพลี้ยอ่อนผัก Lipaphis erysimi (Kalt.) (Homoptera: Aphididae) ในผักคะน้าระบบไฮโดรโปนิกส์ การพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้า (Getting Agricultural Masing) งานแปล พัฒนาการของลูกปลากดเกราะวัยอ่อน โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก