สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร
ฉลอง อินทนนท์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉลอง อินทนนท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร กรณีศึกษา โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 - 2546 จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมบางประการ การดำเนินงานโครงการฯ และสภาพการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตข้าวพันธุ์ดี เป็นการศึกษาจากประชากรที่เป็นเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 - 2546 จังหวัดสกลนคร จำนวน 467 คน และเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูล ร้อยละ 82.90 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานเฉลี่ย 4 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 17.48 ไร่ เป็นของตนเองและเป็นเขตนาน้ำฝน ผลผลิตข้าวเจ้าเฉลี่ยไร่ละ 308.79 กิโลกรัมและผลผลิตข้าวเหนียวเฉลี่ยไร่ละ 444 กิโลกรัม ต้นทุน เฉลี่ยไร่ละ 1,586.06 บาท และมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 1,616.65 บาท การดำเนินงานโครงการ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมีตรงตามเวลาที่ต้องการ และเกษตรกรส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในการคัดเลือกพื้นที่และเกษตรกร การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่ม แนะนำสมาชิกในการผลิตและการจำหน่ายเมล็ดข้าวพันธุ์ดี ด้านการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตข้าวพันธุ์ดี พบว่า เกษตรกรมีการเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และเป็นที่ต้องการของตลาด มีการใช้เมล็ดพันธุ์ติดต่อกันไม่เกิน 3 ปี เกษตรกรมี การทำแปลงเพาะกล้าไปตามทิศทางลม และใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่ อายุกล้า 25-30 วัน ระยะปลูกที่ใช้ 25x 25 ซ.ม.และปลูก 3-5 ต้นต่อกอ ด้านการดูแลรักษา เกษตรกรจะกำจัดวัชพืชและรักษาระดับน้ำตลอดการเจริญเติบโต รวมทั้งมีการใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง มีการระบายน้ำหลังจากข้าวออกดอกประมาณ 15-20 วัน และเก็บเกี่ยวอายุ 30-35 วัน หลังจากข้าวออกดอก และมีการตาก 3-4 แดด การตัดพันธุ์ปนในช่วงระยะกล้า ช่วงข้าวออกดอก แตกกอ ช่วงที่ข้าวโน้มรวง และเมล็ดแก่ มีการเก็บเมล็ดพันธุ์มีความชื้น ประมาณ 12-14 เปอร์เซ็นต์ สภาพที่เกษตรกรมีการยอมรับบางส่วน ได้แก่ การเพาะทดสอบความงอก คัดเมล็ดพันธุ์ปนหรือเป็นโรคแมลงออกก่อนปลูก การกำหนดช่วงการปลูก อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ในการทำนาแบบหว่านน้ำตม ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา ควรให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้แนะนำให้เกษตรกร มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ดี ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสกลนคร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2543-2546
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 : กรณีศึกษาในเขตชลประทาน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก