สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาชีววิทยาการตั้งท้องและการให้ลูก เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองไทย
ธีระ ฤทธิรอด - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การศึกษาชีววิทยาการตั้งท้องและการให้ลูก เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองไทย
ชื่อเรื่อง (EN): A study on pregnancy and parturition biology for Thai- native goat breeding improvement.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธีระ ฤทธิรอด
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเจริญเติบโตของตัวอ่อนและแม่แพะในระยะแรกของการตั้งท้อง และลักษณะของหลอดเลือดรกในแพะพันธุ์พื้นเมืองไทย โดยใช้แม่แพะพื้นเมืองไทยจำนวน 16 ตัว อายุเฉลี่ย 24.7?2.9 เดือน และน้ำหนักตัวเฉลี่ย 23.8?1.6 กิโลกรัม เหนี่ยวนำการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอะซีเตตชนิดเม็ด น้ำและนำไปผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติกับแพะเพศผู้ที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ 1 ตัว ตรวจสอบการตั้งท้อง บันทึกน้ำหนักแม่แพะและวัดความยาวของตัวอ่อนทุกสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 28-56 ของการตั้งท้อง ค่าเฉลี่ยของเวลาที่สามารถตรวจสอบการตั้งท้องได้เร็วที่สุด คือ 25.0?1.4 วัน ผลการศึกษาสมการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่มาจากการตั้งท้องลูกตัวเดียว (y1) สองตัว (y2) และสามตัว (y3) เป็นดังนี้ y1 = 2.934e0.570x (r2 = 0.945), y2 = 3.4445e0.564x (r2 = 0.986) และ y3 = 8.161e0.320x (r2 = 0.917) ตามลำดับ และสมการเจริญเติบโตของแม่ที่ตั้งท้องลูกตัวเดียว (y1) สองตัว (y2) และสามตัว (y3) เป็นดังนี้ y1 = 0.516x + 21.57 (r2 = 0.993), y2 = 0.717x + 24.43 (r2 = 0.986) และ y3 = 0.8x + 31.03 (r2 = 0.946) ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตต่อวันของแม่แพะที่ตั้งท้องลูกตัวเดียวและลูกแฝดในช่วง 63 วันของการตั้งท้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.074?0.009 และ 0.106?0.034 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ (P>0.05) จากการศึกษาโครงสร้างของหลอดเลือดในเนื้อเยื่อรก พบว่าความหนาแน่นของหลอดเลือดฝอย (capillary number density) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.57x10 – 6 capillary/ ?m2 ในขณะที่จำนวนเส้นเลือดฝอยต่อหน่วยพื้นที่ของเนื้อเยื่อคารันเคิลแพะพื้นเมืองไทยที่ตั้งท้องในวันที่ 130 วันมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 56.84 ชนิดของ placentome C และ D มีสัดส่วนสูงขึ้นตามจำนวนวันของการตั้งท้องที่มากขึ้น นอกจากนี้ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและคอร์ติซอลสูงขึ้นตามจำนวนวันของการตั้งท้องที่เพิ่มขึ้น การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานทางชีววิทยาการตั้งท้องและได้ลูก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกแม่พันธุ์แพะพื้นเมืองไทย
บทคัดย่อ (EN): The present study was conducted to determine the fetal and maternal growth during early pregnancy in Thai-native goats. Mature female Thai-native goats (n=16) with the average age and weight of 24.7?2.9 months and 23.8?1.6 kg were used to establish pregnancy. Does were synchronized estrus using synthetic progesterone (medroxyprogesterone) and natural mated with a fertile male goat. Pregnant goats were examined using ultrasonography. Fetal growth was evaluated during early pregnancy (day 28-56 of gestation) using the crown-rump length (CRL) measurement. The average earliest time of pregnancy diagnosis with ultrasonography was 25.0?1.4 days of gestation. Fetal growth equations as determined by the CRL for single, twin and triplet pregnancies were y1 = 2.934e0.570x (r2 = 0.945), y2 = 3.4445e0.564x (r2 = 0.986) and y3 = 8.161e0.320x (r2 = 0.917), respectively. Maternal growth of single, twin and triplet pregnancy was increased gradually with the linear equation of y1 = 0.516x + 21.57 (r2 = 0.993), y2 = 0.717x + 24.43 (r2 = 0.986) and y3 = 0.8x + 31.03 (r2 = 0.946), respectively. Placentomal tissue were immunohistological determined. Capillary number density and capillary area density in caruncular tissue on day 130 were 56.84 % and 2.57x10-6 capillary/ ?m2 respectively. Placentome type C and D on day 130 were greater than Placentome type A and B. The concentration of progesterone and cortisol concentration increased throughout gestation. Average daily gain (ADG) of single and multiple pregnancy at 63 day of gestation were 0.074?0.009 and 0.106?0.034 kg/day, respectively. This study would be useful as basic biological data of pregnancy and paturition for female Thai-native breeder selection and improvement.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาชีววิทยาการตั้งท้องและการให้ลูก เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองไทย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2556
กลยุทธ์การปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน การศึกษาชีววิทยาของประชากรปูทะเล Scylla sp.ในอ่าวตราด จังหวัดตราด อิทธิพลของสัดส่วนการให้ลูกเพศเมียแรกคลอดมีชีวิตต่อลักษณะการเจริญเติบโตก่อนหย่านมในสุกรพันธุ์เพียเทรน การปรับปรุงพันธุ์แก่นตะวันเพื่อให้มีปริมาณสารอินนูลินสูง การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารด้วย residual feed intake ในโค การประเมินเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบประสิทธิภาพในการให้ลูกผสมระหว่างไหมพันธุ์แท้ ชุดโครงการการปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันเพื่อการค้า การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาเศรษฐกิจบางชนิดในบึงบอระเพ็ด (เปลี่ยนแปลงชื่อโครงการ ฤดูวางไข่และแหล่งวางไข่ของปลาเศรษฐกิจบางชนิดในบึงบอระเพ็ด) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็ม โดยการปลูกไม้ยืนต้น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก