สืบค้นงานวิจัย
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย
นันทวัน เอื้อวงศ์กูล, ปุณิกา ฉายเสมแสง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Ectomycorrhiza for Cash Crops Plantation in the Northern Isan of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: พืชเศรษฐกิจ
บทคัดย่อ: การใช้เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย ทำการทดลองในระหว่างเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือน พฤษภาคม 2553 ศึกษาหาเชื้อพันธุ์เอคโตไมคอร์ไรซาที่สามารถเพิ่มอัตราการดำรงชีพ การเจริญเติบโตหรือการให้ผลผลิต เก็บตัวอย่างจากอำเภอเมือง ยางตลาด เขาวง กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอสร้างค้อ จังหวัดสกลนคร พบว่า ได้เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาจำนวน 14 ชนิด มีจำนวน 11 ชนิดที่สามารถเจริญและเข้าสู่รากพืชได้ดี ได้แก่ Amanita sp., Amanita hemibapha (Berk Et Broome), Amanita princes Corner & Bas, Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan, Boletus colossus Heim, Lactarius flavidulus, Russula emetica Pers. ex S.F. Gray, Russula foetens, Russula nigricans (Bull.) Fr., Russula sp. และ Pisolithus sp. ส่วนเชื้อราที่ไม่สามารถเข้าสู่รากพืชได้ครบทุกชนิดมี 3 ชนิด ได้แก่ Termitomyces fuliginosus Heim, Macrolepiota gracilenta (Krombh.) Moser. และ Cantharellus cibarius นำเชื้อราทั้ง 11 ชนิดมาทดสอบกับพืชเศรษฐกิจ ศึกษาผลของเชื้อราต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 1 ข้าวเจ้าพันธุ์หอมมะลิ 105 ข้าวไร่ข้าวเหนียวพันธุ์อาร์ 258 ข้าวโพดพันธุ์ซุปเปอร์สวิส และทานตะวัน ผลของเชื้อราที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชเศรษฐกิจ พบว่า ผลของเชื้อราต่อการเจริญเติบโตของข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 1 ข้าวที่ได้รับเชื้อ Russula sp. มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 357.93 เซนติเมตร ข้าวที่ได้รับเชื้อ Boletus colossus มีการแตกกอมากที่สุด เท่ากับ 44.96 กอต่อต้น ข้าวที่ได้รับเชื้อ Lactarius flavidulus มีจำนวนรวงข้าวต่อต้นมากที่สุด คือ 32.65 รวงต่อต้น และข้าวที่ได้รับเชื้อ Amanita sp. มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากที่สุด เท่ากับ 528.48 เมล็ดต่อรวง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) ผลของเชื้อราที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวเจ้าพันธุ์หอมมะลิ 105 พบว่า ข้าวกลุ่มที่ได้รับเชื้อ Russula nigricans มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 218.73 เซนติเมตร ข้าวที่ได้รับเชื้อ Amanita sp. มีจำนวนการแตกกอมากที่สุด เท่ากับ 58.65 กอต่อต้น ส่วนข้าวที่ได้รับเชื้อ Boletus colossus มีจำนวนรวงข้าวต่อต้นมากที่สุด คือ 51.88 รวงต่อต้น และข้าวที่ได้รับเชื้อ Amanita hemibapha มีจำนวนเมล็ดมากที่สุด เท่ากับ 165.35 เมล็ดต่อรวง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) ส่วนผลของเชื้อราที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวไร่ข้าวเหนียวพันธุ์อาร์ 258 พบว่า ความสูง การแตกกอ และจำนวนรวงข้าวต่อต้นของข้าวกลุ่มที่ได้รับเชื้อ Astraeus hygrometricus มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สูง 370.81 เซนติเมตร การแตกกอ 47.13 กอต่อต้น และจำนวนรวงข้าว 33.19 รวงต่อต้น ตามลำดับ และข้าวที่ได้รับเชื้อ Russula foetens มีจำนวนเมล็ดมากที่สุด เท่ากับ 515.72 เมล็ดต่อรวง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) ผลของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดพันธุ์ซุปเปอร์สวิส พบว่า ข้าวโพดที่ได้รับเชื้อ Lactarius flavidulus มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 553.72 เซนติเมตร ข้าวโพดที่ได้รับเชื้อ Amanita sp. มีความกว้างใบและจำนวนเมล็ดต่อฝักมากที่สุด เท่ากับ 16.40 เซนติเมตร และ 1,286.99 เมล็ดต่อฝัก ตามลำดับ ข้าวโพดที่ได้รับเชื้อ Amanita hemibapha มีความยาวฝักมากที่สุด เท่ากับ 47.36 เซนติเมตร ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) และพบว่าจำนวนฝักต่อต้นของข้าวโพดที่ได้รับเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาทุกชนิดและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p?0.05) ส่วนผลของเชื้อราต่อการเจริญเติบโตของทานตะวัน พบว่า ทานตะวันที่ได้รับเชื้อ Russula foetens มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 355.02 เซนติเมตร ทานตะวันที่ได้รับเชื้อ Russula emetica มีเส้นผ่าศูนย์กลางจานดอกและมีจำนวนเมล็ดมากที่สุดเท่ากับ 39.48 เซนติเมตร และ 1,506.65 เมล็ดต่อดอก ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05) ส่วนจำนวนดอกต่อต้น ทานตะวันที่ได้รับเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาทุกชนิดและกลุ่มควบคุมมีจำนวนดอกต่อต้นไม่แตกต่างกัน (p?0.05) และผลของเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตของพืชเศรษฐกิจ พบว่า ข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ได้รับเชื้อรา Russala emitica มีจำนวนผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด เท่ากับ 944.00 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวไร่ข้าวเหนียวอาร์ 258 ที่ได้รับเชื้อ Russula foetens มีผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 479.33 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเจ้าพันธุ์หอมมะลิ 105 ที่ได้รับเชื้อ Amanita hemibapha มีผลผลิตมากที่สุด 961.66 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนทานตะวันที่ได้รับเชื้อ Russula foetens มีผลผลิตมากที่สุด เท่ากับ 212.66 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวโพดที่ได้รับเชื้อ Amanita sp. มีผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 511.33 กิโลกรัมต่อไร่ เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาสามารถส่งเสริมอัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชเศรษฐกิจให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p?0.05)
บทคัดย่อ (EN): Utilization of Ectomycorrhiza for cash crops plantation. Ectomycorrhizal were sampled on December 2009 – May 2010. The purpose of Ectomyycorrhizal selected for growth and productivity of cash crops. Ectomycorrhizal were collected from Muang, Yangtalat, Khaowong, Kuchinarai, Kalasin province and Sangkhao Sakonnakhon province. The result show that 14 species of ectomycorrhiza and 11 species colonized for root cash crops are Amanita sp., Amanita hemibapha (Berk Et Broome), Amanita princes Corner&Bas, Astraeus hygrometricus (Pers), Boletus colossus Heim, Lactarius flavidulus, Russula emetica Pers ex S.F. Gray, Russula foetens, Russula nigricans (Bull), Russula sp. and Pisolithus sp. and 3 species are Termitomyces fuliginosus Heim, Macrolepiota gracilenta and Cantharellus cibarius unsucceed to colonization. Study on growth and productivity of Chai Nat 1, Mali 105, Stick rice R 258, Super sweet corn and Sunflower. Effect of ectomycorrhizal for growth of Chai Nat1 show that Russula sp. is highest average for rice stem is 357.93 cm. Boletus colossus is highest average stem clumps is 44.96 clump/stem, Lactarius flavidulus is highest for ear of rice is 32.65 ears and Amanita sp. highest average for seeds per ear of rice is 528.48 seeds and ectomycorrhizal plants are difference significant (p?0.05). Effect of ectomycorrhizal on growth of Mali 105 show that Russula nigricans highest for rice stem is 218.73 cm, Amanita sp. highest for clump is 58.65 clump/stem, Boletus colossus highest for ear of rice is 51.88 ear/stem and Amanita hemibapha highest for seed is 165.35 seed/ear of rice. Ectomycorrhizal plants are higher difference significant (p?0.05). Stick rice R 258 show that Astraeus hygrometricus are highest for rice stem, clump and ear of rice are 370.81 cm, 47.13 clump/stem and 33.19 ear/stem respectively. Russula foetens is highest for seed is 515.72 seeds/ear of rice. Ectomycorrhizal plants are difference significant (p?0.05). Effect of ectomycorrhizal on super sweet corn show that Lactarius flavidulus highest for rice stem is 553.72 cm, Amanita sp. highest for leaf wide and seed are 16.40 cm. and 1,286.66 seeds respectively. Amanita hemibapha highest for corn sheath length is 47.36 cm .Ectomycorrhizal plants are highest difference significant but non significant for corn per stem. Effect of ectomycorrhizal on sun flower growth show that Russula foetens is highest averge for stem is 355.02 cm, Russula emetica are highest for disc diameter and seed are 39.48 cm and 1,506.65 seeds respectively. Ectomycorrhizal plants are difference significant (p?0.05). Cash crops productivity find out Russula emitica is highest for Chain Nat 1 productivity is 944.00 kg/plantation. In addition Russula foetens is highest productivity for R 258 and sun flower are 479.33 and 212.66 kg/plantation respectively. Amanita hemibapha species is highest productivity for Mali 105 is 961.66 kg/plantation and Amanita sp. show highest productivity for super sweet corn is 511.33 kg/plantation. The ectomycorrhizal species are show highest average on growth and productivity for cash crops plantation and difference significant (p?0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2552
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขตภาคเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การใช้ประโยชน์จากการตรึงไนโตรเจนในการผลิตพืชเศรษฐกิจบางชนิดในภาคเหนือ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก