สืบค้นงานวิจัย
การใช้ใบมันสำปะหลังเลี้ยงไก่
นพวรรณ ชมชัย - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การใช้ใบมันสำปะหลังเลี้ยงไก่
ชื่อเรื่อง (EN): ----
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นพวรรณ ชมชัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันมากในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ จากการสำรวจของศูนย์สถิติการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2536 พบว่า มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งสิ้น 9.1 ล้านไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 8.9 ล้านไร่ ได้ผลผลิตรวม 20.2 ล้านตัน หัวมันสดในการเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังนั้นจะมีวัสดุพลอยได้คือ ต้นและใบเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่เก็บเกี่ยวไร่ ถ้าได้มีการเก็บเกี่ยวใบมันสำปะหลังโดยกระทำไปพร้อมๆกับ การเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังที่อายุ 8-9 เดือน แล้วจะได้ใบมันสำปะหลังสดถึง 662 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งถ้าคิดรวมทั้งประเทศแล้ว คิดเป็นใบมันสำปะหลังสดที่ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ถึงประมาณปีละ 5-6 ล้านตัน โดยแท้จริงแล้วนั้น ใบมันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี คุณค่าทางโภชนะก็ค่อนข้างใกล้เคียงกับใบกระถิน จากการวิเคราะห์ตัวอย่างใบมันสำปะหลังแห้ง (ส่วนของใบรวมก้านใบ) ปรากฏว่ามีค่าความ ชื้น 8.7% โปรตีน 19.1% ไขมัน 4.3% เยื่อใย 17.0% เถ้า 8.8% และ NFE 42.1% แต่ถ้าเป็นส่วนของใบล้วนๆ ไม่มีก้านปนก็จะมีค่าโปรตีนสูงกว่านี้เหมาะ ที่จะนำไปใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมโปรตีนเลี้ยงสัตว์ได้ แต่ทว่ายังมีปัญหา อยู่ในเรื่องของการเก็บเกี่ยวและรวบรวมมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ในสัตว์ใหญ่จึงอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมมากนัก ยกเว้นในกรณีที่ขาดแคลนอาหารหยาบ หรือเกษตรกรมีแรงงานมากพอก็แนะนำให้นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้สำหรับในสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่พื้นเมืองซึ่งเกษตรกรเลี้ยงกันเกือบทุกครัวเรือนอยู่แล้วนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี เพราะไก่กินอาหารในปริมาณน้อยกว่าโค-กระบือมาก เกษตรกรสามารถรวบรวม และเก็บสำรองไว้ใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนให้ไก่กินได้ โดยอาจจะนัดหมายกับเจ้าของไร่มันสำปะหลัง เพื่อขอเก็บไว้ใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนให้ไก่กินได้ โดยอาจจะนัดหมายกับเจ้าของไร่มันสำปะหลังที่ได้นำไปสับเป็นชิ้นเล็กๆ และผึ่งแดดให้แห้งเก็บไว้ใช้ได้นานในใบมันสำปะหลังสดนั้น จะมีสารพิษอยู่เช่นเดียวกับที่พบในหัวมันสำปะหลังสดคือ สารพิษกรดไฮโดรไซยานิค ซึ่งถ้านำไปให้ไก่กินจะทำให้เกิดอันตรายต่อไก่ได้การนำไปผึ่งแดดให้แห้ง นอกจากจะทำให้เก็บไว้ใช้ได้นานแล้ว ยังเป็นการช่วยลดสารพิษลงได้ส่วนหนึ่ง และนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงไก่ได้ อย่างไรก็ตามในใบมันสำปะหลังแห้งก็ยังคงมีสารพิษหลงเหลืออยู่อีก ทั้งยังมีเยื่อใยค่อนข้างสูงจึงไม่ควรให้ไก่กินในปริมาณสูงมากนัก และไม่ควรนำมาให้ลูกไก่เล็กกินสำหรับในไก่รุ่น-สาวอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไปแนะนำให้ใช้ใบมันสำปะหลัง แห้งได้ไม่เกิน 15% ในสูตรอาหาร และให้ใช้ได้ไม่เกิน 20% ในสูตรอาหารสำหรับไก่พ่อแม่พันธุ์โดยสามารถใช้เลี้ยงไก่เป็นระยะเวลายาวนานติดต่อกันได้ โดยไม่มีพิษตกค้างของสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคปรากฎให้เห็น
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/ArtileG.htm
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ใบมันสำปะหลังเลี้ยงไก่
กองอาหารสัตว์
2538
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
ผลการใช้มันสำปะหลังแคโรทีนสูง (พันธุ์ระยอง 2) เป็นอาหารไก่กระทง อาหารจากมันสำปะหลัง มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร สภาวะที่เหมาะสมต่อการวัดปริมาณไชยาไนด์อิสระในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ การใช้แหนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังจากเหง้า

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก