สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาพัฒนาการของคัพภะและของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta)
เสาวภา สวัสดิ์พีระ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพัฒนาการของคัพภะและของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta)
ชื่อเรื่อง (EN): Embryonic and larval development of the Hearlequin shrimp (Hymenocera picta)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กุ้งการ์ตูน Hymenocera picta dana (1852) จัดเป็นกุ้งทะเลสวยงามมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในวงการธุรกิจสัตว์ทะเลสวยงาม เป็นสัตว์ทะเลสวยงามที่มีราคาค่อนข้างสูงและเป็นที่นิยมชมชอบของผู้เลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาเลี้ยงกุ้งทะเลสวยงาม ปัญหา อุปสรรค ประการหนึ่งเนื่องมาจากการที่ลูกกุ้งทะเลสวยงามมีระยะวัยอ่อนที่ยาวนาน และมีอัตราการรอดตายต่ำดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาการพัฒนาการของคัพภะและตัวอ่อน เพื่อใช้ในการกำหนดกรอบของการผลิต จากช่วงระยะเวลาของการวางไข่แต่ละครั้ง ระยะเวลาที่กุ้งฟักไข่ในแต่ละรอบ อาหารที่ให้ในแต่ละช่วงระยะเวลาของพัฒนาการเพื่อพัฒนาเทคนิคในการเพาะเลี้ยงให้มีอัตราการรอดที่สูงขึ้น กุ้งการ์ตูนเพศเมียสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยมีวงจรการสืบพันธุ์ทุก 15-21 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 28.4-31.1 องศาเซลเซียส การเจริญพัฒาของคัภพะ แบ่งออกเป็น 10 ระยะ ได้แก่ pre-clevage; cleavage blastomere; gastrula; germinal disk; naupliar; caudal papilla; c-shape; eye-pigmentation; segmented-abdmen; และ pre-hatching ภายหลังการปฏิสนธิเฉลี่ย (+-SD) 18+-3 วันตัวอ่อนจึงฟักออกจากไข่ ลูกกุ้งแรกฟักเกิดในระยะ zoea การเจริญพัฒนาของวัยอ่อน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1ตายังคงรวมอยู่กับส่วนหัว; ระยะที่ 2 มีก้านตา; ระยะที่ 3 ส่วนของแพนหางด้านนอก (exopod) มีความยาวเป็นหนึ่งเท่าของแพนหางด้านใน (endopod); ระยะที่ 4 endopod มีความยาวเท่ากับ exopod; ระยะที่ 5 endopod และ exopod มีความยาวมากกว่าส่วนหาง (telson); ระยะที่ 6 ส่วนหาง (telson) มีขนาดความกว้างเท่ากันตั้งแต่โคนถึงปลาย; ระยะที่ 7 ส่วนปลายของหาง (telson)มีขนาดความกว้างแคบลง; ระยะที่ 8 เกิดตุ่มขาว่ายน้ำครบทั้ง 5 คู่;ระยะที่ 9 ขาว่ายน้ำ (pleopod) แต่ละคู่แบ่งออกจากกันเป็น 2 ส่วน; ระยะที่ 10 เกิดรอยเว้าระหว่างขาว่ายน้ำ (pleopod) 2 ส่วนเพื่อที่จะเกิดขาว่ายน้ำส่วนที่สาม; ระยะที่ 11 เกิดตุ่มขนาดเล็ก (small bud) ของขาว่ายน้ำ (pleopod) เพิ่มขึ้น; ระยะที่ 12 ขาว่ายน้ำแต่ละคู่มีขนอ่อน (setae) เกิดขึ้นและเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายจะเข้าสู่ระยะหลังวัยอ่อนลงเกาะพื้น (Postlarva stage) โดยพฤติกรรมเมื่อกุ้งเข้าสู่ระยะหลังวัยอ่อน คือกุ้งไม่กินอาหารหลังจากลงเกาะ 3 วันและจะมีรูปร่าง สีสัน ลวดลาย เหมือนกับพ่อแม่เมื่ออายุ 28-47 วัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
เอกสารแนบ: https://dspace.lib.buu.ac.th/handle/1234567890/951
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาพัฒนาการของคัพภะและของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta)
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
พัฒนาการ การเจริญเติบโต และ อัตราการรอดตายของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) ที่อนุบาลด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแร่ธาตุบางชนิดในพลาสมาของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei) ในสภาวะช็อก การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสวยงาม (กุ้งการ์ตูน, Hymenocera picta) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ การเจริญเติบโต และผลของการเสียรยางค์ ต่อการเจริญเติบโต และการงอกใหม่ของรยางค์ของปลาดาวแดงที่เป็นอาหารของกุ้ง การ์ตูน (Hymenocera picta) การเจริญเติบโต และผลของการเสียรยางค์ ต่อการเจริญเติบโตและการงอกใหม่ของรยางค์ของปลาดาวแดงที่เป็ นอาหารของกุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta) ผลของการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อนด้วยโคพีพอดต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) คัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก การเจริญเติบโต และผลของการเสียรยางค์ ต่อการเจริญเติบโตและการงอกใหม่ของรยางค์ของปลาดาวแดงที่เป็นอาหารของกุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta) พัฒนาการของลูกปลาหมอบัตเตอร์วัยอ่อน วิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก