สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน (Buffer Zone) โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
วริยา มิตตา - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน (Buffer Zone) โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่อง (EN): Participatory Research and Development of Forest Restoration in Buffer Zone
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วริยา มิตตา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ณิชนันทน์ บุญญาทรัพย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน (Buffer zone) โดยกระบวนการมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการส่งเสริมให้ชุมชนมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่า และใช้ประโยชน์พื้นที่รอยต่อระหว่างพื้นที่ป่าไม้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องดำเนินการในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงปางมะโอ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตป่าเพื่อการอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี (โซนซี) เป็นชุมชนป่าเมี่ยงที่มีวิถีชีวิตที่เกื้อกูลกับระบบนิเวศป่าไม้ มีการปลูกพืชเกษตรภายใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ ในลักษณะวนเกษตร พืชเกษตรที่ปลูกได้แก่ ชา กาแฟ ด้วยวิถีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกับป่าชุมชนจึงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ ดังจะเห็นได้จากการมีข้อห้ามในการปลูกพืชไร่ รวมทั้งข้าว เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก โครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน มีสภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง การจัดชั้นเรือนยอดโดยทั่วไปมี 2-3 ชั้นเรือนยอด ไม่นับพืชในชั้นพื้นป่า (Forest Floor) เรือนยอดชั้นบนสุดมีความสูงอยู่ระหว่าง 15-22 เมตร ไม้เด่นได้แก่ ทะโล้ ยางปาย รักใหญ่ ก่อเดือย และก่อเหล็ก โดยต้นก้าวเป็นชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพันธุ์พืช (Importance Value Index: IVI) สูงสุดเท่ากับ 102.35 พันธุ์พืชที่พบมีจำนวน 57 ชนิด 24 วงศ์ พื้นที่ส่วนใหญ่จะพบไม้หนุ่มและกล้าไม้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟป่าเป็นประจำ มีการเข้าไปบุกรุกแผ้วถางพื้นที่เพื่อจับจองและทำการเกษตร โดยการนำพืชอื่นเข้าไปปลูกแซมในป่า เช่น ไผ่ กาแฟ เป็นต้น รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน ชุมชนจะร่วมกันกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน เป็นป่าใช้สอย และป่าที่ชุมชนอนุรักษ์ไว้เป็นป่าต้นน้ำ ซึ่งการเข้าไปใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่จะมีกฎระเบียบที่ชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ โดยกฎระเบียบนี้ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนทุกครัวเรือนและผู้นำชุมชนโดยรอบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดร่วมกันเพื่อให้เกิดการยอมรับและมีการใช้กฎระเบียบในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งในระยะยาวนั้นนอกจากจะเป็นการฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธารและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังจะเป็นการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้อันจะเกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับป่าและส่งผลต่อสมดุลของน้ำที่จะไหลมายังพื้นที่กลางน้ำและปลายน้ำอีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน (Buffer Zone) โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
วริยา มิตตา
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน คู่มือการจัดหลักสูตรวิทยากรกระบวนการและการมีส่วนร่วม โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน การศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการจัดการทรัพยากรประมง บริเวณอ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 01 จังหวัดตราด ลักษณะทางนิเวศวิทยาของสังคมพืชป่าไม้ที่เกิดจากการฟื้นฟูในรูปแบบที่แตกต่างกัน การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมของชุมชนรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในแม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำปราจีนบุรี การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขาซับแกงไก่สู่ชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก