สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน
ภัสรา ชวประดิษฐ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภัสรา ชวประดิษฐ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประพิศพรรณ อนุพันธ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตขมิ้นชันของเกษตรกร สภาพการตลาด ความต้องการและปัญหาอุปสรรคด้านวัตถุดิบของผู้ประกอบการขมิ้นชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน 119 ราย ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี กาญจนบุรี และสระแก้ว และผู้ประกอบการขมิ้นชัน จำนวน 6 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร และการสอบถามผู้ประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่า ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.9 มีประสบการณ์ในการปลูกขมิ้นชัน 6 - 10 ปี เกษตรกรร้อยละ 46.2 มีพื้นที่ปลูกขมิ้นชันระหว่าง 1 - 5 ไร่ และร้อยละ 59.7 มีรายได้หลักจากการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เกษตรกรเกือบทั้งหมด คือร้อยละ 96.6 มีความรู้พื้นฐานเรื่องสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันแต่ร้อยละ 71.3 ที่มีการนำไปใช้ เกษตรกรร้อยละ 80.7 ปลูกขมิ้นชันเป็นแปลงเดี่ยว ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 ไม่เคยได้รับการตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำที่ใช้ในการปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 61.3 ใช้หัวพันธุ์ 201 - 300 กิโลกรัมต่อไร่ โดยร้อยละ 82.3 เก็บหัวพันธุ์ไว้เอง เกษตรกรร้อยละ 50.4 ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว 50 X 50 เซนติเมตร เกษตรกรทุกรายมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรร้อยละ 79.8 มีการใช้ปุ๋ยเคมี โดยส่วนใหญ่ใส่เมื่อขมิ้นอายุ 30 วัน เกษตรกรร้อยละ 94.1 ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และร้อยละ 51.2 ทำการกำจัดวัชพืชโดยวิธีกลมากกว่า 3 ครั้งต่อฤดูปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 เก็บเกี่ยวขมิ้นชันเมื่ออายุ 8 เดือน โดยวันเก็บเกี่ยวผลผลิตจะกำหนดโดยพ่อค้าที่รับซื้อ ผลผลิตขมิ้นชันส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 น้อยกว่า 2 ตันต่อไร่ โดยสูงสุดที่ 5 ตันต่อไร่ ต่ำสุด 1 ตันต่อไร่ และเฉลี่ย 1.7 ตันต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 74.0 ไม่ทราบเรื่องการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลผลิตขมิ้นชันทางเคมี และทางกายภาพ มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 2.5 ที่เคยตรวจสอบ เกษตรกร จำหน่ายขมิ้นชันในรูปผลผลิตสดทั้งหมด และส่วนใหญ่ร้อยละ 87.4 จำหน่ายผลผลิตผ่านผู้รวบรวมท้องถิ่น และส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 ขายขมิ้นสดได้ในราคา 7 บาทต่อกิโลกรัม ปัญหาในการผลิตและการตลาดที่ระบุมากที่สุด ได้แก่ปริมาณการรับซื้อน้อยและไม่แน่นอน รองลงมาได้แก่ การกำจัดวัชพืช ขาดอุปกรณ์แปรรูป ราคาขมิ้นต่ำ ค่าจ้างแรงงานสูง และการระบาดของโรค ตามลำดับ ต้นทุนทั้งหมดของการผลิตขมิ้นชัน 1 ไร่ เท่ากับ 8,239.63 บาท โดยเป็นต้นทุนที่เป็นเงินสด 3,760.88 บาท ต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด 4,478.76 บาท โดยแยกเป็นต้นทุนผันแปร 8,082.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 98.09 และต้นทุนคงที่ 157.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.91 ต้นทุนการผลิตขมิ้นชันมีค่าแรงในการเก็บเกี่ยวมากที่สุด ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเท่ากับ 4.70 บาท อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราลงทุน โดยผลตอบแทนรวมต่อต้นทุนการผลิตรวมเท่ากับ 1.52 ผู้ประกอบการขมิ้นชันส่วนใหญ่ 4 ใน 6 รายรับซื้อขมิ้นชันจากแหล่งผลิตต่างๆ ในภาคตะวันออก และตะวันตก มีขมิ้นชันจากภาคใต้เล็กน้อย ปริมาณความต้องการวัตถุดิบขมิ้นชันต่อปีของผู้ประกอบการอยู่ในรูปขมิ้นชันสด 45 - 90 ตันต่อปี ขมิ้นชันแห้งในรูปอื่นๆ ประมาณ 53 ตันต่อปี คุณภาพวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการต้องการเป็นไปตาม มาตรฐาน THP (Thai Herbal Pharmacopoeia) ซึ่งต้องมีการตรวจคุณภาพทางกายภาพ และเคมี โดยในการรับซื้อผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 4 ใน 6 จะสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพเป็นครั้งคราว ยกเว้นผู้ประกอบการยาสมุนไพรจะมีการสุ่มตรวจก่อนและหลังการรับซื้อทุกครั้ง ปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบขมิ้นชันของผู้ประกอบการ คือ วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ รองลงมามีปริมาณไม่เพียงพอ ปริมาณไม่สม่ำเสมอ และมีราคาสูง ตามลำดับ ปัญหาในด้านคุณภาพของวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดคือ มีสิ่งปลอมปน รองลงมาได้แก่ มีเชื้อรา สกปรก และมีสารสำคัญออกฤทธิ์ต่ำ ตามลำดับ ผู้ประกอบการทุกรายเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลักคือ การที่เกษตรกรไม่มีความรู้เรื่องมาตรฐานคุณภาพสมุนไพร สาเหตุอื่นได้แก่ เกษตรกรไม่สามารถควบคุมปัจจัยแวดล้อมในการผลิตได้ และมีเกษตรกรบางส่วนที่ขาดการเอาใจใส่จริงจัง แนวทางแก้ไขปัญหาคุณภาพวัตถุดิบ ผู้ประกอบการทุกรายเห็นด้วยกับการจัดการระบบการผลิต การตลาดขมิ้นชันแบบ Contract Farming และมีข้อเสนอแนะให้จัดทำ Zoning พื้นที่ที่เหมาะสมกับขมิ้นชัน โดยมีการศึกษาวิจัยมารองรับ โดยเฉพาะด้านสายพันธุ์ที่ให้สารสำคัญสูง และการให้ความรู้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี กาญจนบุรี และสระแก้ว
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน โครงการวิจัยการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพ การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชันและไพล การผลิตและการตลาดสับปะรดในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก