สืบค้นงานวิจัย
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
วิสัย คงแก้ว, สหัส ราชเมืองขวาง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่อง (EN): Species Diversity and Abundance of Fishes in Kampuan Mangrove and Coastal area, Suksamran District, Ranong Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 5 สถานี ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 - กันยายน 2553 โดยเก็บตัวอย่างปลาด้วยอวนลากขนาดช่องตา 1 X 1 มิลลิเมตร กว้าง 8 เมตร ลึก 1 เมตร และเก็บตัวอย่างจากชาวประมงที่ทำการประมงในพื้นที่ พร้อมทั้งตรวจวัดคุณภาพน้ำ จากการศึกษา พบปลาทั้งสิ้น 1,356 ตัวอย่าง จำแนกได้ 11 อันดับ 39 วงศ์ 83 ชนิด โดยวงศ์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ วงศ์ Gobiidae (13 ชนิด) รองลงมาคือ วงศ์ Tetraodontidae (6 ชนิด) และ วงศ์ Leiognathidae (5 ชนิด) ประชากรปลาที่พบว่ามีความชุกชุมมากที่สุด คือ ปลาซิวข้าวสารชวา Oryzias javanicus รองลงมาคือ ปลาข้าวเม่า Ambassis vachellii และปลากระบอกท่อนใต้ Ellochelon vaigiensis ความหลากชนิดของปลาในสถานีที่มีป่าโกงกางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นมีมากกว่าบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ และจากผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเป็น 3.3500 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนคลองกำพวนยังคงมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของปลาเป็นอย่างมาก ผลจากการศึกษาคุณภาพน้ำซึ่งได้แก่ ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และอุณหภูมิของน้ำ พบว่า มีค่าผันแปรขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างและลักษณะทางภูมิประเทศของสถานีที่ทำการเก็บตัวอย่าง แต่ยังคงมีค่าเฉลี่ยเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวน ทำการศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 5 สถานี ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 - กันยายน 2553 โดยเก็บตัวอย่างปลาด้วยอวนลากขนาดช่องตา 1 X 1 มิลลิเมตร กว้าง 8 เมตร ลึก 1 เมตร และเก็บตัวอย่างจากชาวประมงที่ทำการประมงในพื้นที่ พร้อมทั้งตรวจวัดคุณภาพน้ำ จากการศึกษา พบปลาทั้งสิ้น 1,356 ตัวอย่าง จำแนกได้ 11 อันดับ 39 วงศ์ 83 ชนิด โดยวงศ์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ วงศ์ Gobiidae (13 ชนิด) รองลงมาคือ วงศ์ Tetraodontidae (6 ชนิด) และ วงศ์ Leiognathidae (5 ชนิด) ประชากรปลาที่พบว่ามีความชุกชุมมากที่สุด คือ ปลาซิวข้าวสารชวา Oryzias javanicus รองลงมาคือ ปลาข้าวเม่า Ambassis vachellii และปลากระบอกท่อนใต้ Ellochelon vaigiensis ความหลากชนิดของปลาในสถานีที่มีป่าโกงกางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นมีมากกว่าบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ และจากผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเป็น 3.3500 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนคลองกำพวนยังคงมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของปลาเป็นอย่างมาก ผลจากการศึกษาคุณภาพน้ำซึ่งได้แก่ ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และอุณหภูมิของน้ำ พบว่า มีค่าผันแปรขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างและลักษณะทางภูมิประเทศของสถานีที่ทำการเก็บตัวอย่าง แต่ยังคงมีค่าเฉลี่ยเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวน
บทคัดย่อ (EN): The study of species diversity and abundance of fishes in Kampuan mangrove and coastal area, Suksamran district, Ranong province were conducted from 5 stations during April to September 2010. Fish specimens were collected using the pull net, mesh size 1 X 1 millimeter, 8 meters width and 1 meter depth, and were also purchased from fishermen. Water qualities were recorded while fishes were sampling. A total of 1,356 individuals fish representing 11 orders 39 families and 83 species were collected. In term of the number of specie per family, Gobiidae was the most diverse (13 species), followed by Tetraodontidae (6 species) and Leiognathidae (5 species). In terms of individual numbers, Java rice fish Oryzias javanicus, Vachell’s glassfish Ambassis vachellii and Squaretail mullet Ellochelon vaigiensis were the most numerous species. The diversity of fishes in stations covered by mangrove forest is greater than fishes in the stations without mangrove forest. The value of the Shannon-Weavers diversity from 5 stations was averaged 3.3500 which indicated that Kampuan mangrove forest is the good habitat for fish community. Various water parameters, such as salinity, dissolved oxygen, pH and temperature were varied depending on collecting times and geography of each sampling site, but their averaged values are appropriated for fish community. The study of species diversity and abundance of fishes in Kampuan mangrove and coastal area, Suksamran district, Ranong province were conducted from 5 stations during April to September 2010. Fish specimens were collected using the pull net, mesh size 1 X 1 millimeter, 8 meters width and 1 meter depth, and were also purchased from fishermen. Water qualities were recorded while fishes were sampling. A total of 1,356 individuals fish representing 11 orders 39 families and 83 species were collected. In term of the number of specie per family, Gobiidae was the most diverse (13 species), followed by Tetraodontidae (6 species) and Leiognathidae (5 species). In terms of individual numbers, Java rice fish Oryzias javanicus, Vachell’s glassfish Ambassis vachellii and Squaretail mullet Ellochelon vaigiensis were the most numerous species. The diversity of fishes in stations covered by mangrove forest is greater than fishes in the stations without mangrove forest. The value of the Shannon-Weavers diversity from 5 stations was averaged 3.3500 which indicated that Kampuan mangrove forest is the good habitat for fish community. Various water parameters, such as salinity, dissolved oxygen, pH and temperature were varied depending on collecting times and geography of each sampling site, but their averaged values are appropriated for fish community.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2553
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง การสำรวจความหลากชนิดของปลาและคุณภาพน้ำในแม่น้ำกอน (แม่น้ำสาขาของลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน) การสำรวจความหลากชนิดปลาในลุ่มน้ำว้า (แม่น้ำสาขาของลุ่มน้ำน่านตอนบน) ในเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน การศึกษาพลวัตของสังคมพืชป่าชายเลนในท้องที่ตำบลกำพวน จังหวัดระนอง 2554A17002224 การสำรวจความหลากชนิดของปลาและคุณภาพน้ำในแม่น้ำกอน (แม่น้ำสาขาของลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน) การสำรวจความหลากชนิดของปลาในแม่น้ำสา(แม่น้ำสาขาของลุ่ม แม่น้ำน่านตอนบน)จังหวัดน่าน ความหลากชนิดของปลาในลุ่มน้ำยม ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส ความหลากชนิดลูกปลาในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ความชุกชุมและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณชายฝั่งตั้งแต่ เกาะสาหร่ายถึง ต.ปูยู จังหวัดสตูล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก