สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมในจังหวัดเชียงราย
กิตติ สัจจาวัฒนา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Yield Trial of sweet corn hybrid varieties in Chiang Rai province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติ สัจจาวัฒนา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ที่ให้ผลผลิตและความหวานสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยนำข้าวโพดหวานลูกผสม 14 พันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบกับข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์การค้า 3 พันธุ์ ได้แก่ Sugar 75, Hi-brix 3 และ Hi-brix 53 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก มี 3 ซ้ำ ณ แปลงวิจัยวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีเชียงราย ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ปี 2557 ผลการทดลอง พบว่า วันออกไหม 50% พันธุ์ UP 12 ให้อายุเฉลี่ยสั้นที่สุดที่ 50.6 วัน ซึ่งไม่แตกต่างกับพันธุ์เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยความสูงต้นและความสูงฝัก พบว่า พันธุ์ UP 1 ให้ค่าเฉลี่ยความสูงมากสุดที่ 182.4 และ 86.6 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกับพันธุ์เปรียบเทียบ Hi-brix 3 และ Hi-brix 53 ค่าเฉลี่ยความยาวฝักและความกว้างฝัก พบว่า พันธุ์ UP 1 ให้ค่าเฉลี่ยมากสุด 28.73 และ 4.45 เซนติเมตร ตาม ลำดับ ซึ่งแตกต่างกับพันธุ์เปรียบเทียบ Sugar 75 อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบผลผลิต พบว่า พันธุ์ UP 1 UP 17 และ UP 18 ให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักก่อนปอกเปลือกมากสุด คือ 1,935.50 1,606.98 และ 1,781.91 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกับพันธุ์เปรียบเทียบทั้ง 3 พันธุ์ ดังนั้น พันธุ์ UP 1, UP 17 และ UP 18 จึงเป็นพันธุ์ลูกผสมทดสอบที่มีศักยภาพใน การให้ผลผลิตและความหวานสำหรับการปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O018 Hor_15.pdf&id=1825&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมในจังหวัดเชียงราย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่สัมพันธ์ กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน ความสามารถในการรวมตัวสำหรับลักษณะอายุเก็บเกี่ยวสั้น และผลผลิต ของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดหวาน การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานในระบบการปลูกแบบอินทรีย์ ในหลายฤดูปลูก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินลูกรังและเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน ผลของ Gas–Flush packaging ต่อการควบคุมเชื้อราโรงเก็บและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม 2 สายพันธุ์ (ระยะที่ 1) ผลของ Gas–Flush packaging ต่อการควบคุมเชื้อราโรงเก็บและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม 2 สายพันธุ์ (ระยะที่ 2) การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป ผลของถ่านชีวภาพจากเตาแต่ละแบบต่อคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวานสีม่วง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก