สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาองุ่นสายพันธุ์ทานสดในประเทศไทย
สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ, สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาองุ่นสายพันธุ์ทานสดในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Table grape
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาการเจริญเติบโตขององุ่นทานสดสายพันธุ์ญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาพันธุ์องุ่นพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสม และเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร โดยศึกษาองุ่นทานสดจำนวน 9 พันธุ์ และนำไปศึกษาในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ศวส.สุโขทัย ศวส.ศรีสะเกษ ศวพ.อุตรดิตถ์ และ ศวส.เชียงราย พบว่าที่ศวส.สุโขทัย ศวส.ศรีสะเกษ ศวพ.อุตรดิตถ์ องุ่นมีการเจริญเติบโตได้ดี แสดงศักยภาพในการเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้ทราบแนวโน้มของการเจริญเติบโตทางลำต้น ที่ศวส.สุโขทัยพบว่าในพันธุ์ Kotopi และ Violet King มีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์ White Malaca ในช่วงแรกของการเลี้ยงกิ่ง แต่เมื่อจะตัดแต่งกิ่งในช่วงเริ่มเข้าปีที่สอง พบว่า พันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้ดี ได้แก่ พันธุ์ Kotopi , Koibito , Shine Mascat และ My Heart, ซึ่งมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ คือ Pokdam และ White malaca ส่วนองุ่นพันธุ์ที่ปลูกในศวส.ศรีสะเกษ มีการเจริญเติบโตได้ดี สร้างกิ่งแขนงได้ดี และสร้างใบสมบูรณ์ คือพันธุ์ Kotopi, My Heart, Shine Muscat, Yohou และ Pok Dum พันธุ์ที่สามารถสร้างช่อดอกได้ คือพันธุ์ Black Beat, Koibito, Kotopi, My Heart, Shine Muscat, Pok Dum และ White Malaga ในขณะที่พันธุ์ที่ติดผลจนสามารถเก็บเกี่ยวได้มี 3 พันธุ์ คือพันธุ์ Kotopi, Shine Muscat และ Pok Dum โดยพันธุ์อื่นที่ไม่สามารถติดผลได้เนื่องจากช่อดอกไม่สมบูรณ์และสภาพอากาศช่วงเดือนมิถุนายนมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงและแห้ง และองุ่นที่ศวพ.อุตรดิตถ์พบว่ามีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน โดยพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีที่สุดคือ White Malaga, Pokdam, My Heart, Yu Hou, Shine Muscat และ Kotopi
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาองุ่นสายพันธุ์ทานสดในประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย บทบาทของศาสนาพุทธในการพัฒนาชนบทของประเทศไทย การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่ผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette (ชื่อเดิม : ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette) โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก โครงการวิจัยการทดสอบองุ่นพันธุ์ต่างประเทศที่เหมาะสมกับประเทศไทย แนวทางการพัฒนาโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับนักกีฬาในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก