สืบค้นงานวิจัย
การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ : กรณีศึกษาการผลิตไม้ผลในภาคตะวันออก
วรรณา อาจณรงค์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ : กรณีศึกษาการผลิตไม้ผลในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่อง (EN): Promotion of Chemical to Organic Agriculture Changing: A case Study of Orchard Product in the East of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณา อาจณรงค์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษาการ ผลิตไม้ผลในภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเกษตรเคมี และเกษตรอินทรีย์ ในการผลิตไม้ผลของภากตะวันออก 2) เปรียบเทียบ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมในการผลิตไม้ผลเคมีและไม้ผลอินทรีย์ของเกษตรกรในภาคตะวันออก 3) วิเคราะห์ SWOT การผลิตไม้ผลแบบอินทรีย์ในภาคตะวันออก 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรทำ การผลิตไม้ผลอินทรีย์ในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) เกษตรกรผู้ผลิตไม้ผล ในภาคตะวันออก จำนวน 412 ราย และแบ่งเป็น 2 ระยะ 2) เกษตรกรผู้ทำการผลิตไม้ผลแบบเคมี และอินทรีย์จำนวน 26 ราย โดยแบ่งเป็น เคมี 13 ราย อินทรีย์ 13 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสถิติไคสแคว์ F-test และ t-test ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 13.05 โดย คะแนนเฉลี่ยรายจังหวัดเรียงลำดับจากมากไปน้อย ระยอง ตราด จันทบุรี ระดับความคิดเห็น เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นด้วยระดับมากทุกประเด็น เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ภูมิลำเนา 2) การฝึกอบรม 3) การศึกษาดูงาน การเปรียบเทียบผลด้านเศรษฐกิจและสังคมพบว่า เกษตรกรผู้ทำ เกษตรอินทรีย์มีต้นทุนการผลิตที่ไม่ใช่แรงงานเฉลี่ยต่อไร่ ระหว่าง 353-5,833 บาทต่อปี ส่วน เกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ระหว่าง 750-11,666.67 บาทต่อปี ด้าน ผลตอบแทนจากการผลิตพบว่า เกษตรกรผู้ทำเกษตรอินทรีย์มีผลตอบแทนแยกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการจ้างแรงงานประจำ และกลุ่มที่ไม่จ้างแรงงานประจำ โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่ ระหว่าง 7,500-20,000 บาทต่อปี และ 12,784-37,917 บาทต่อปี ส่วนเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีมี ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่ระหว่าง 7,950-13,333.33 บาทต่อปี ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็ง ของการทำเกษตรอินทรีย์โดยหลักแล้วคือ ความปลอดภัยในการบริโภคและสุขภาพอนามัยที่ดี จุดอ่อนคือ ใช้แรงงานในการจัดเตรียมวัตถุดิบมาก และการทำเกษตรอินทรีย์เห็นผลช้า โอกาส สำหรับการเกษตรอินทรีย์คือ ความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคของผู้บริโภค และ สภาพพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ อุปสรรคในการทำเกษตรอินทรีย์ คือ การขาดความรู้ที่ถูกต้อง และปัญหา หนี้สินเกษตรกรด้านแนวทางการส่งเสริมพบว่า 1) ต้องมีการสร้างเครือข่ายทั้งกลุ่มเกษตรกรด้วยกัน หน่วยงานด้านการศึกษา และหน่วยงานด้านสาธารณสุข 2) การแก้ปัญหาของรัฐควรบูรณาการใน หลาย ๆศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดงบประมาณและได้ผลรวดเร็ว 3) ปัญหาเรื่องการใช้สารเคมี ร้ายแรงบางตัวรัฐบาลควรสั่งห้ามนำเข้าสารเคมีบางตัวที่มีพิษร้ายแรง 4) การสร้างแรงจูงใจให้ เกษตรกรมาทำการผลิตแบบอินทรีย์ควรมุ่งประเด็นเรื่องความปลอดภัยทั้งกระบวนการผลิต การ บริโภค ผลดีต่อสุขกาพ ความเป็นอยู่แบบพอเพียงและยั่งยืน 5) ส่งเสริมให้เกษตรกรทำบัญชี ครัวเรือนอย่างจริงจังเพื่อทราบถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่แท้จริง
บทคัดย่อ (EN): The study was about a guideline for a promotion of converting chemical agriculture into organic agriculture: a case study of fruit plant production in the eastern part of Thailand. The objectives of the study were (1) to investigate the attitudes of agriculturalists toward chemical and organic agricultures for the fruit plant production in the eastern part of the country; (2) to compare the economic and social impacts of chemical fruit plant production and organic fruit plant production of eastern agriculturalists:(3) to carry out the SWOT analysis of the organic firuit plant production in the castern part of the country; and (4) to study a guideline for promoting the agriculturalists to produce organic fruit plants in the eastern part of the country. The samples in the study used were (1)412 agriculturalists who produced fruit plants in the eastern part of the country, divided into two phascs, and (2) 26 agriculturalists who produced chemical and organic fruit plants divided into two groups: one produced chemical plants and the other produced organic fruit plants. The instruments used for collecting data were questionnaires. The statistical analysis used were mean, percentage, standard deviation, qui-square, F- test and t-test. The results of the study were as follows. The knowledge of the agriculturalists on organic agriculture was averagely 13.05, with an average values respectively from the highest to the lowest in different provinces from Rayong, Trad and Chantaburi. For the attitude level on organic agriculture, it was found that the questionnaire respondents gave the answers in the level of "very" for all the questions asked about organic agriculture plant production. The factors affecting the knowledge level of the samples were (1) domicile (2) training and (3) a tour of investigation. For a comparison of economic and social impacts, it was found that agriculturalists who did organic agriculture had an average production cost, which did not include labor, between 353-5,833 baht a year, while agriculturalists who did chemical agriculture had an average production cost between 750-11,666.67 baht a year. For the production returns, it was found that the returns were divided into two groups for the organic agriculturalists: the group with permanent laborers having the return averagely 7.500-20,000 baht a year and the group with temporary laborers having the divided into two groups for the organic agriculturalists: the group with permanent laborers having the return averagely 7,500-20,000 baht a year and the group with temporary laborers having the return averagely 12,784-37,917 baht a year. The return for the chemical agriculturalists was 7,950- 13,333.33 baht a year. The SWOT analysis showed that consumption safety and hygiene were the strength of organic agriculture production while its weakness was a high demand for laborers for raw material preparation and its slow results. While awareness of consumption safety for consumers and the profuse land became the opportunity for organic agriculture, the lack of correct knowledge and agriculturalists debts were their drawback. For promotion, it was found that (1) a network for the whole agriculturalist group together with the education and public health departments was to be established; (2) the solution of the problems of the government should be done by an integration of various sciences to save budgets and get rapid results; (3) for the problem of using some severe chemicals, the government should ban their imports; (4) to motivate agriculturalists to turn to organic production, the safety of the whole process, consumption, good health, and sufficient with sustainable living conditions should be focused; (5) and there should be a serious promotion for agriculturalists to keep their family account to follow up their actual costs and returns.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ : กรณีศึกษาการผลิตไม้ผลในภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
30 กันยายน 2556
ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปี 2548 ในภาคตะวันตก ที่มีต่อการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาและการผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืชเพื่อส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ การเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์:กรณีศึกษา ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์บ้านจาน ตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ การใช้วิธีวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก ความพึงพอใจของเกษตรกร ต่อต้นพันธุ์ไม้ผลของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดยโสธร (พืชสวน) สภาพการปลูกไม้ผลของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการสร้างสวนผลไม้ในเขตพื้นที่ความร้บผิดชอบศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเลย ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก