สืบค้นงานวิจัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบไม่ทำลายโครงสร้างโดยใช้ เทคนิคเนียร์อินฟราเรดเพื่อตรวจสอบคุณภาพรำข้าว และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์
จันทร์เฉิดฉาย สังเกตุกิจ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบไม่ทำลายโครงสร้างโดยใช้ เทคนิคเนียร์อินฟราเรดเพื่อตรวจสอบคุณภาพรำข้าว และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์
ชื่อเรื่อง (EN): The Application of Nondestructive Technology using Near-Infrared Spectroscopy (NIR) Technique for Determining Quality of Rice Bran and Transferring for Technological uses
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันทร์เฉิดฉาย สังเกตุกิจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าสเปกตร้าและสร้างสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม ในการทำนายปริมาณสมบัติทางเคมีของรำข้าว โดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (Near Infrared Spectroscopy, NIRS) วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยสุ่มตัวอย่างรำข้าวจาก 3 แหล่ง ได้แก่ โรงงานบริษัทน้ำมันรำข้าวสุรินทร์ และโรงสีคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เก็บแหล่งละ 5 ตัวอย่างๆ ละ 5 กก ตัวอย่างรำข้าวที่ผ่านการสกัดไขมันที่จำหน่ายในจังหวัดสุรินทร์ 1 ตัวอย่าง 5 กก เก็บตัวอย่างไว้ที่อุณหภูมิห้อง และนำไปตรวจวัดสเปกตรัม ด้วยเครื่อง FT-NIR spectrometer รุ่น NIR Flex N500 และวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของรำข้าวด้วยวิธีมาตรฐาน ที่เวลาเก็บรักษา 0, 3, 6, 11, 14, 18, 24, 32, 38, 44, 53, 62 และ 68 วัน แบ่งตัวอย่างเป็นกลุ่มประเมิน (Calibration) 70 ตัวอย่าง และกลุ่มทำนาย (Validation) 69 ตัวอย่าง นำข้อมูลสเปกตร้าและค่าทางเคมีมาคำนวณเพื่อสร้างสมการถดถ้อยเชิงเส้น (Partial Least Squares Regression (PLS) และเลือกสมการทำนายปริมาณความชื้น ไขมัน ค่ากรดไขมันอิสระ (A.V.) ปริมาณกรดโอลิอิค และค่าเปอร์ออกไซด์ (P.V.) ของรำข้าวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าทำนายปริมาณคุณสมบัติทางเคมีของรำข้าวโดยใช้สมการ Calibration ที่ดีที่สุด จากสเปคตร้าเริ่มต้นต่อเซนติเมตรที่เหมาะสมคือช่วง 10000 – 4000 cm-1 หรือ ความยาวคลื่นตั้งแต่ 1100-2400 nm มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.91, 0.98, 0.93, 0.96 และ 0.99 ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานจากการประเมิน (SEC) เท่ากับ 0.72%, 0.70%, 2.79%, 1.02% และ1.63% ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในกลุ่มทำนาย (SEP) เท่ากับ 0.78%, 0.74%, 3.04%, 1.17% และ 3.08% ตามลำดับ และค่า Bias เท่ากับ -0.04, 0.17, -0.09, 0.17 และ -0.48 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ระหว่างค่าจริงและค่าทำนาย เป็นการแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาระบบการหาปริมาณคุณสมบัติทางเคมีของรำข้าวโดยไม่ทำลายด้วยคลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มมีความเหมาะสม แม่นยำ พัฒนาใช้ได้ในการตรวจสอบได้จริง และระยะเวลาคืนทุนคือ 124 วันทำงาน
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to determine appropriate spectra and mathematical model in prediction the chemical properties of rice bran using Near Infrared Spectroscopy (NIRS). Economic cost benefit was analyzed. The demonstration and NIR technology were transferred to the target groups. Rice bran was collected from 3 sources; 5 samples of 5 kg per sample for each of Surin rice bran oil factory and a rice mill of Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus, and 1 sample of 5 kg per sample for defatted rice bran bought at Surin market. Rice bran samples were kept at room temperature and collected at the days of 0, 3, 6, 11, 14, 18, 24, 32, 38, 44, 53, 62 and 68 for spectra measurement using FT-NIR spectrometer, NIR Flex N500 and chemical analysis using standard methods. There were 70 samples for calibration and 69 samples for validation. Data of spectra and chemical properties were calculated using Partial least squares (PLS) regression method for efficient predicting the quantities of chemical values. It was found that the relation between the real and predicted values performed the best calibration equation was developed from the appropriate original and pretreated NIR spectral data of 10000 – 4000 cm-1 and 1100-2400 nm. The results showed the correlation coefficient (R2) for determination of moisture, fat, Acid Value, oleic acid and Peroxide value were 0.91, 0.98, 0.93, 0.96 and 0.99; Standard error of calibration (SEC) were 0.72, 0.70, 2.79, 1.02 and 1.63 %; Standard error of prediction (SEP) were 0.78, 0.74, 3.04, 1.17 and 3.08; and Bias were -0.04, 0.17, -0.09, 0.17 and -0.48 respectively. There was no significant difference at 95 % level between the real and predicted values. The results indicated that the application of FT-NIRS is well fitted to evaluate the chemical properties of rice bran and 124 working days for economic cost benefit.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบไม่ทำลายโครงสร้างโดยใช้ เทคนิคเนียร์อินฟราเรดเพื่อตรวจสอบคุณภาพรำข้าว และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์การปลอมปนในข้าวหอมมะลิเปลือกและข้าวหอมมะลิขาวอย่างรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ศึกษาการเลี้ยงและใช้ประโยชน์ไรน้ำนางฟ้าไทย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในจังหวัดสกลนคร การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาองค์ความรู้การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่เหมาะสมและยั่งยืนในพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ให้กับชาวประมงบ้านแหลม ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลของการใช้รังสีแกมมาต่อคุณภาพของข้าว การคัดเลือกเชื้อยีสต์ในท้องถิ่นเพื่อใช้ในการผลิตเบียร์ที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบเสริม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวผสมเคอร์คิวมินในรูปอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเมตรเพื่อนำมาใช้ลดภาวะซึมเศร้าและฟื้นฟูสมอง การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลคนเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลหนองดินแดง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก