สืบค้นงานวิจัย
ระบบเกษตรอินทรีย์ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ตะวัน ห่างสูงเนิน - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ระบบเกษตรอินทรีย์ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Organic Farming System in the Context of Sufficiency Economy: Case Study of Organic Farmers in Mae Rim Watershed, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ตะวัน ห่างสูงเนิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Tawan Hangsoongnern
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในเขตลุ่มน้ำแม่ริม ด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากเกษตรเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ และศึกษาผลของการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่มีต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนกำหนดกรอบคำอธิบายเชิงทฤษฏีเพื่ออธิบายการมีชีวิตที่พอเพียงของเกษตรกรผู้ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม ประชากรที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 112 คน จากข้อมูลของเครือข่ายที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ผลการวิจัยพบว่าลุ่มน้ำแม่ริมเป็นลุ่มน้ำที่มีการทำการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แหล่งใหญ่ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์รวมประมาณ 692.28 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.04 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งลุ่มน้ำ มีรูปแบบการจัดการฟาร์ม 2 รูปแบบ คือเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรมีผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรที่ผลิตในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ความพอเพียงด้านจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพราะเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร และปัจจัยการผลิต ถึงแม้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่ค้นพบ จะระบุว่าเกษตรกรจะมีรายรับที่ต่างจากรายจ่ายไม่มากนักก็ตาม แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นว่าระบบเกษตรอินทรีย์จะทำให้อยู่รอดได้ ทั้งนี้เนื่องจากหลักในการวิเคราะห์ความพอเพียงของเกษตรกรในพื้นที่ ผู้วิจัยได้ใช้หลักความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรที่ยอมรับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากความเชื่อและศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รองลงมาเกษตรกรเชื่อว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้สามารถลดรายจ่ายในด้านปัจจัยการผลิต และปัจจัยในการดำรงชีวิตประจำวันได้ โดยมีปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญ อาทิ ความพร้อมด้านฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกร ความสามัคคีในครอบครัว ที่ตั้งฟาร์มและแหล่งน้ำ ส่วนประเด็นที่เป็นอุปสรรค คือเรื่องภาระหนี้สิน ความยากจน ความร่วมมือของคนในครอบครัว และนิสัยส่วนตัวของเกษตรกร
บทคัดย่อ (EN): This research aims to examine the salient features in organic farming systems of farmers in Mae Rim watershed in the aspects of farm management, the underpinning factors bringing about the change from agrochemicals dependent farming to organic one, the implication of organic farming practices on the farmers’ conduct in everyday life in adherence to the sufficiency economy philosophy, and to establish the frame for hypothetical constructs to explain why certain  farmers pursuing organic agriculture in Mae Rim watershed upheld the sufficiency economy principles in their way of life.The population in this investigation was 112 organic farmers recorded by the local organic farming promotion network in Mae Rim watershed areas.  The research findings revealed Mae Rim watershed to be the main organic farming area in Chiang Mai Province covering 692.28 rai or 1.04% of the total agricultural land in the watershed.  The organic farming system management here took two forms:  integrated farming and mono- cropping.  The practices of organic farming appeared to have crucial implication for the conduct of life by the farmers to follow the sufficiency economy approach, as manifested by the high attainments of sufficiency in spiritual, social, economic, environmental, and technological terms because of the inherent self-reliant food security and input supply features of organic farming.  Although the findings from economic data suggested that farmers earned not much above the necessary expenditure level, most farmers were still confident that they could make their living from organic farming systems.  This is because the present investigator adopted the self-reliance capability as the criteria to analyze the sufficiency extent of local farmers.The reasons for farmers to adopt the royal remark on sufficiency economy conducts and practices were first and foremost their faith in His Majesty the King, and then their belief in the potential of sufficiency economy approach to help them save production costs and daily life consumption expenditure. The primary factors enabling farmers to decide with ease to lead their life along the sufficiency economy path included the well settled economic condition of the farmer, the family unity, and the locations of farming area and water resource.  Meanwhile the factors hindering one to follow the sufficiency economy guidelines were indebtedness, poverty, the lack of cooperation from family members, and the farmer’s personal behavior.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245867/168084
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบเกษตรอินทรีย์ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามและประเมินผลการบริหารงานของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ กระบวนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  และการบูรณาการสร้างและพัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ การบริหารจัดการแรงงานภาคการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของเกษตรกร ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี การผลิตหน่อไม้ฝรั่งรูปแบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว การใช้เทคโนโลยีการผลิตพลับของเกษตรกรชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่ ๙ ตามรอยพ่อ ก็พอเพียง: แนวทางพัฒนาเกษตรไทยกับบทบาทของ สถาบันการศึกษาไทย การศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวสาร อินทรีย์ส่งออกเพื่อการค้าที่เป็นธรรม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก