สืบค้นงานวิจัย
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น
บุศรา สาระเกษ, กรรณิกา สุขสมัย, ธีรวัลย์ ศิลารัตน์, นงนุช ชนะสิทธิ์, สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ, สุพัตรา รักษาพรต, นิตยา ต้นสาย - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง (EN): The Application of sufficiency economy for Quality of life and Local Development
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นเกษตรกรจาก 10 อำเภอ ในจังหวัดจันทบุรีที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถาม มี 4 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และข้อเสนอแนะทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่า เอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนมากรับรู้และมีความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปานกลาง โดยรับรู้จากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และได้นำมาใช้บางครั้งในชีวิตประจำวัน ในด้านการออม ประหยัด และการทำบัญชีครัวเรือน การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หลักการที่เกษตรกรใช้มากที่สุด คือ ความรู้คู่คุณธรรม และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาท้องถิ่น หลักการที่เกษตรกรใช้มากที่สุด คือ การที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการ ทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และจากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในประเด็นเกษตรกรที่มีเพศ อายุ และการรับรู้จากสื่อ แตกต่างกัน และเกษตรกรที่ไม่มี มีความสามารถในการชำระหนี้แล้วใช้วิธีดำเนินการแตกต่างกัน ส่วนการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในประเด็น ในหมู่บ้านมีแหล่งเรียนรู้แตกต่างกัน และประเด็นเกษตรกรที่มีระดับการศึกษา ตำแหน่งในชุมชน รายได้ ความเข้าใจแตกต่างกัน และการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในประเด็นเกษตรกรที่มีสถานภาพเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชนแตกต่างกันและประเด็นการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินแตกต่างกัน โดยเกษตรกรที่มีที่ดินมีเป็นของตนเอง มีการประยุกต์ใช้มากกว่าเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และเกษตรกรและบุคคลในครอบครัว นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บางครั้ง แตกต่างจากการนำมาใช้ทุกครั้ง ซึ่งการนำมาใช้ทุกครั้ง จะมีการประยุกต์ใช้มากกว่า การนำมาใช้บางครั้ง
บทคัดย่อ (EN): The Objecttive of this rearch is to study the application of sufficency economy for quality of life and local development. The samples are consisted of 400 agriculturists in 10 district of Chantaburi Province. Questionnaire was used as instrument for data collection. Data analysis is measured by statistic program consist of means standard deviation , evaluated by T-test, F-test, and variable analysis in pair by Scheffe. The conclusion of this study indicate that the agriculturists moderately acknowledge and understand the sufficiency economy form television. Sometimes used in dally life by saving and making family account. The agriculturist’s principal apply knowledge with moral for the quality of life For the local Development, the commodity participate in the local development plan From the hypothesis statistic is not significant but the agriculturist’s characteristic (gender, age, and acknowledge from mass media) is different. The indebt agriculturists, some are unable to pay back, some can pay it in different ways. The variable significance in statistic is .01 for the community that set up the learn centre according to the agriculturist’s level of education, their position in the community, the incormes and understanding, The variable significance in statistic is .05 for the agriculturist’s status that is the member of the community, council. For the agriculturists who own the land can apply the sufficiency economy more than the one who have no land as well as their family’s application.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
30 กันยายน 2552
การประยุกต์ใช้แนวทางพุทธศาสนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวัยรุ่น โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเลี้ยงกบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนากลุ่มเกษตรกรปลูกดอกเก็กฮวยของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย แบบมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม การพัฒนาสำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง และบริบทชุมชน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก