สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of cryopreservation technology for seven-stripped carp (Probarbus jullieni) sperm for aquaculture and conservation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์ ได้ศึกษาศึกษาชนิดของสารไครโอโพรเทคแทนท์ (cryoprotectant) ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยแบบแช่แข็ง โดยได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทค แทนท์ชนิดต่างๆ 4 ชนิด (dimethylsulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycol และ sucrose) ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) ที่เวลา 10, 20, 30, 60, 90, 120 และ 150 นาที และศึกษาผลของอัตราการลดอุณหภูมิ (-1, -3, -5 และ -7 องศาเซลเซียส/นาที) ที่ มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลายี่สกไทยที่ผ่านการแช่แข็ง ได้ผลการทดลองพบว่า DMSO มีความเป็นพิษน้อยที่สุด รองลงมา คือ ethylene glycol และ propylene glycol ตามลำดับ โดย sucrose มีความเป็นพิษต่อสเปิร์มมากที่สุด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยสารละลาย Ca-F HBSS ร่วมกับ DMSO, ethylene glycol และ propylene glycol แล้วนำมาเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลว (อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส) ปรากฎว่า DMSO มีความเหมาะสมมากที่สุดในการแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทย โดยการแช่แข็งด้วยการใช้ 10% DMSO และลดอุณหภูมิในอัตรา 5 องศาเซลเซียส/นาที หรือลดอุณหภูมิในอัตรา 7 องศาเซลเซียส/นาที ทำให้เปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลาย (post-thaw sperm motility) มีค่าเฉลี่ยสูงไม่แตกต่างกับน้ำเชื้อสด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ extender 7 ร่วมกับ DMSO, methanol และ propylene glycol) พบว่า การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สก ไทยมาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศาเซลเซียส ให้ผลการทดลองดีกว่าการใช้อุณหภูมิสุดท้าย -40 องศา เซลเซียส โดยเปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายที่มีค่าสูงสุดได้จากชุดการทดลองที่ใช้สารละลาย 20% DMSO และลดอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส/นาที มาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศา เซลเซียส การพัฒนาแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยไอไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้ด้วยการแช่แข็งที่ความสูงเหนือผิวหน้าไนโตรเจนเหลว 4-6 เซ็นติเมตร โดยให้น้ำเชื้อปลายี่สกไทยสัมผัสไอไนโตรเจนเหลว 10 นาที น้ำเชื้อปลายี่สกไทยแช่แข็งที่เก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวนาน 1 เดือนมีการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม และศักยภาพในการปฏิสนธิไข่ปลายี่สกไทย ไม่แตกต่างจากน้ำเชื้อสด สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ปลายี่สกไทยได้ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1616?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์ การเพาะพันธ์ปูแสมเพื่อการอนุรักษ์ และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพดินในพื้นที่ป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บน้ำเชื้อและประสิทธิภาพในการผสมพันธุ์ของน้ำเชื้อแช่แข็งของปลากะรังหงส์ Cromileptes altivalis ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำสงคราม การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจ ผลของการใช้ฮอร์โมนในรูปออกฤทธิ์แบบเนิ่นนานต่อปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อปลากดแก้วทั้งในรูปแบบน้ำเชื้อสดและน้ำเชื้อแช่แข็ง การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาอีกงโดยวิธีแช่แข็ง ลักษณะน้ำเชื้อ องค์ประกอบทางไขมันและการเก็บรักษาน้ำเชื้อในเลียงผา (Capricornis sumatraensis) การพัฒนาสารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำจากดอกดาวเรือง Tagetes erecta การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก