สืบค้นงานวิจัย
สภาพการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
จรูญ ติ้นสั้น - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรูญ ติ้นสั้น
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และปัญหาอุปสรรคในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 470 ราย สุ่มเลือกตัวอย่างได้ 118 ราย เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ทั้งประเภทปลายเปิด และปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 52 ปี มีความรู้อ่านออกเขียนได้ มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.85 คน มีแรงงานเลี้ยงไหม เฉลี่ย 1.66 คน มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตร เฉลี่ย 21.2 ไร่ มีรายได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เฉลี่ย 6,237.97 บาทต่อปีต่อครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกหม่อนเฉลี่ย 0.83 ไร่ เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งมีการปลูกหม่อนพันธุ์ส่งเสริม สำหรับแหล่งพันธุ์หม่อนที่นำมาปลูกส่วนใหญ่ได้จากเพื่อนบ้าน ปลูกโดยวิธีการตัดท่อนพันธุ์ปลูกลงแปลง ด้านการดูแลรักษามีการใช้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี และมีการตัดแต่งกิ่งหม่อนโดยตัดต่ำปีละ 1 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้งไม่มีการให้น้ำแปลงหม่อน การกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนและไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลง ด้านการเลี้ยงไหม มีการเลี้ยงไหมแบบดั้งเดิม มากกว่าแบบห้องประหยัด มีการเลี้ยงไหมเฉลี่ย 5.96 รุ่นต่อปี เกษตรกรใช้ไหมพันธุ์ส่งเสริมมากกว่าพันธุ์พื้นเมือง มีการทำความสะอาดป้องกันโรค โดยวิธีล้างน้ำและใช้ผงซักฟอก ทำทุกครั้งก่อนการเลี้ยงไหม การให้ใบหม่อนไหมวัยอ่อนใช้วิธีการหั่นใบหม่อนตามขนาดหนอนไหม ส่วนไหมวัยแก่ ส่วนใหญ่ให้ทั้งใบ โดยให้ใบหม่อนแก่หนอนไหมวันละ 3 ครั้ง เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ใช้สารเคมีและแกลบเผาโรยตัวไหม สำหรับเส้นไหมที่เป็นผลผลิตจากการเลี้ยงไหม นำไปทอเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการปลูกหม่อน พบว่า มีปัญหาด้านภาวะฝนแล้ง เป็นโรครากเน่า โรคใบด่าง ส่วนการเลี้ยงไหม มีปัญหา เรื่อง ไหมไม่ทำรัง ไหมเป็นโรค สำหรับปัญหาการตลาดพบว่าผ้าไหมและผลิตภัณฑ์บางส่วนจำหน่ายไม่ได้ ข้อเสนอแนะขอผู้วิจัย จัดอบรมให้ความรู้ และศึกษาดูงานการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม กลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ รณรงค์ให้อบห้องเลี้ยงฆ่าเชื้อโรคด้วยสารเคมี และใช้ยาโรยตัวไหม แกลบเผาเพื่อป้องกันกำจัดโรค ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผลิต ศึกษาความต้องการสินค้าของตลาด และพัฒนาฝีมือ เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรอง ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ควรมีการวิจัยเปรียบเทียบ การเลี้ยงไหมแต่ละพันธุ์ เพื่อหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร จังหวัดชุมพร สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรตำบลวังไชย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในตำบลช่างปี่ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก