สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย
ทวีศักดิ์ ด้วงทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ ด้วงทอง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียงหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย ปี 2531-2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงานพัฒนาการส่งเสริมการผลิตไม้ผลกึ่งเมืองร้อนให้ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งได้ดำเนินการโดยการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาศึกษาวิเคราะห์เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ผลจากการศึกษาแยกออกเป็นรายชนิดพืชได้ดังนี้ 1. ส้มโอ แหล่งผลิตส้มโอกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.56 ของพื้นที่ปลูกส้มโอทั้งหมด ส่วนพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด พื้นที่ปลูกโดยทั่วไปมีแนวโน้มลดลง โดยพื้นที่ปลูกในปี 2535 มีพื้นที่ปลูกเท่ากับ 90,601 ไร่ พันธุ์ส้มโอที่นิยมปลูกมาก ได้แก่ พันธุ์ขาวทองดีซึ่งเป็นพันธุ์ที่รสชาติดีสีสวย แต่พันธุ์ที่ขายได้ราคาสูงสุดในปัจจุบัน คือ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ถึงแม้พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มลดลง แต่เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในปี 2535 มีผลผลิตรวม 75,636 ตัน ผลผลิตของส้มโอจะใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 92.91 ของผลผลิตทั้งหมด นอกนั้นจะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในรูปของผลสดทั้งหมด แต่การส่งออกในขณะนี้มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผลผลิตจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออกลดลง โดยตลาดส่งออกยังคงเป็นตลาดเดิม คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เป็นต้น 2. ส้มเขียวหวาน แหล่งผลิตส้มเขียวหวานที่สำคัญจะอยู่ในภาคกลางโดยมีพื้นทีปลูกมากที่สุด 164,167 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65.23 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดพื้นที่ปลูกในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง โดยพื้นที่ปลูกทั่วประเทศในปี 2535 เท่ากับ 251,682 ไร่ ส่วนผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้รวมทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามสภาพการดูแลรักษาของเกษตรกร ในปี 2535 มีผลผลิตรวม 680,970 ตัน การค้าส้มเขียวหวานภายในประเทศส่วนใหญ่จะผ่านพ่อค้าคนกลาง ผลผลิตบริโภคภายในประเทศถึงร้อยละ 99.91 การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศในระยะหลังนี้มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง 3. องุ่น แหล่งผลิตองุ่นของประเทศไทยอยู่ในวงจำกัด เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการขยายพื้นที่ไปยังแหล่งผลิตใหม่ๆ พื้นที่ปลูกองุ่นที่สำคัญจะมีอยู่เพียง 3 จังหวัดเท่านั้น และมีแนวโน้มลดลงในปี 2535 มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 24,484 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งหมด 98,554 ตัน พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูกมากในปัจจุบัน คือ พันธุ์ไวท์มาลากา เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดี สำหรับตลาดในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าผลผลิตในขณะนี้ยังไม่พอแก่การบริโภค ผลผลิตเกือบทั้งหมดใช้บริโภคภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 99.95 การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังมีน้อยและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวยังไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ผลผลิตเมื่อส่งถึงผู้บริโภคในต่างประเทศไม่มีคุณภาพ ที่พบอยู่คือ ปัญหาผลร่วงจากช่อ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ลาว มาเลเซีย เป็นต้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2531-2535
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2535
การผลิตและการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536 การศึกษาไวรอยด์ในส้มโอเพื่อการส่งออกส้มโอ สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537 การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาต้นตอของส้มโอ การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามให้มีคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในเขตลุ่มน้ำปากพนัง การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก