สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม
องอาจ คำประเสริฐ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): The Effect of Different Levels of Squid Liver Oil Addwd in Feed on Growth and Fatty Acid Composition of Hybrid Clarias Catfish
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: องอาจ คำประเสริฐ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทวีศักดิ์ สกุณา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Hybrid Catfish squid liver oil fatty acid growth
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเดิบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม โดยใช้อาหารเม็ดสำหรับปลาตุกโปรตีน 30 % (CF) อาหารเม็ด สำหรับปลานิลโปรตีน 28 % เสริมน้ำมันตับปลาหมึกด้วยการฉีดพ่น (spray) ในอัตรา 0, 1, 3 และ 5 % (TF,TF +1%SqO, TF + 3%SqO และ TF + 5%SqO) และอาหารเม็ดสำหรับปลากินพืชโปรตีน 18 % เสริมน้ำมันตับปลาหมึกด้วยรฉีดพ่น (spray) ในอัตรา 0, 1. 3 และ 5 % (HF, HF+1%SqO, HF+3%SqO และ HF+5%SqO) เลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Caias macephalus x Carits sorieinus) ที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลองอยู่ระหว่าง 12.23 ±0.52 ถึง 12.79 ± 0.04 กรัม จำนวน 100 ตัวต่อบ่อ ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2.0 x 2.5 x 0.8 เมตร ระดับน้ำสูง 50 เชนติเมตร จำนวน 27 บ่อ โดยให้ปลากินอาหารจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สับดาห์ ผลการทดลองพบว่า ปลาดุกลูกผสมมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 43.65 ± 6.12, 76.53 ± 5.40, 88.44 ± 8.17, 76.05 ± 4.18 65.32 ± 6.26, 23.89 ± 1.43, 23.55 ± 2.34, 23.68 ± 1.31 และ 24.89 ± 0.63 กรัม ตามลำดับปลาคุกลูกผสมที่เลี้ยงด้วยอาหาร TF + 1%SqO มีค่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 88.44 ±8.17 กรัม น้ำหนักเพิ่มอลี่ยต่อวัน 1.35 ±0.15 กรัม/วัน และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่ม 601.49 + 72.06 น มากกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปลาคุกลูกผสมที่เลี้ยงด้วยอาหาร TF+1%SqO, TF+3%SqO และ TF +5%SqO มีค่าประสิทธิภาพของโปรตีนและโปรตีนที่เพิ่มขึ้นในตัวปลาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ตันทุนต่อกิโลกรัมของปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยงด้วยอาหาร TF+ 1%SqO มีค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารอื่น นอกจากนี้ปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยงตัวยอาหาร TF เสริมน้ำมันตับปลาหมึกทั้ง 4 ระดับ มีการสะสมของกรดไขมัน EPA และ DHA ในเนื้อปลามากกว่าปลาที่เลี้ยงตัวยอาหารสูตรอื่น จากการาดลองครั้งนี้ สรุปได้ว่าการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมตัวยอาหารเมีดสำเร็จรูปสำหรับปลานิลด้วยการฉีดพ้น (spray) น้ำมันตับปลาหมึกที่ผิวเมีดอาหารในอัตรา 1 % ทำให้ปลาดุกลูกผสมมีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตสูงที่สุดโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2556
เอกสารแนบ 1
ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง ผลของการใช้คลอเรลล่าและสไปรูไลน่าในอาหารต่อการเจริญเติบโตและระดับแอนติบอดีของปลาดุกลูกผสม ระดับที่เหมาะสมของกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มดีเอชเอ(Docosahexaenoic acid; DHA) ต่อการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) ผลของการเสริมกรดไขมันและวิตามินซีลงในแพลงก์ตอนสัตว์ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre,1927) ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ ผลการเสริมกรดไขมันที่จำเป็นระดับต่างกันให้โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมียต่อการเจริญเติบโตและ อัตรารอดตายของลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ระดับพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสังกะวาดเหลืองที่เลี้ยงในกระชัง การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก