สืบค้นงานวิจัย
การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน
อัญญานี แย้มรุ่งเรือง, ปวโรจน์ นรนาถตระกูล, ปุณณวิทย์ แก้วมูล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน
ชื่อเรื่อง (EN): Status of Squid Trap Fishery in the inner Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยเก็บข้อมูลจากเรือประมงลอบหมึกขนาดเล็ก (ความยาวเรือ 7 - 9 เมตร) บริเวณหาดตะวันรอน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และขนาดใหญ่ (ความยาวเรือ 13 - 15 เมตร) บริเวณสะพานปลาอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2553 พบว่า เรือลอบหมึกขนาดเล็ก มีจำนวนลอบ 50 – 200 ลูก/ลำ มีแหล่งทำการประมงบริเวณหน้าหาดตะวันรอน อำเภอสัตหีบ และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่ระดับความลึกน้ำ 5 – 12 เมตร และเรือลอบหมึกขนาดใหญ่ มีจำนวนลอบ 270 – 370 ลูก/ลำ มีแหล่งทำการประมงบริเวณเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ถึง อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ระดับความลึกน้ำ 16 – 45 เมตร เรือลอบหมึกขนาดเล็กมีองค์ประกอบสัตว์น้ำที่จับได้ คือ หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana) หมึกกระดอง (Sepia spp.) และสัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 80.5 5.4 และ 14.1 ตามลำดับ โดยมีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 1.84 0.13 และ 0.32 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก ตามลำดับ จากจำนวนตัวอย่างหมึกหอม 2,863 ตัว ประกอบด้วยเพศผู้ 1,939 ตัว และเพศเมีย 924 ตัว พบว่า เพศผู้มีความยาวลำตัวตั้งแต่ 10.25 – 21.75 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 14.87 ? 0.40 เซนติเมตร ส่วนเพศเมียมีความลำตัวตั้งแต่ 10.25 – 21.25 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 14.84 ? 0.54 เซนติเมตร เรือลอบหมึกขนาดใหญ่มีองค์ประกอบสัตว์น้ำที่จับได้ คือ หมึกหอม (S. lessoniana) หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis) และหมึกกระดองใหญ่ (S. aculeata) ร้อยละ 56.2 35.2 และ 8.6 ตามลำดับ อัตราการจับเฉลี่ยของหมึกหอม และหมึกกระดองเท่ากับ 9.30 และ 4.73 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก ตามลำดับ จากจำนวนตัวอย่างหมึกหอม 746 ตัว ประกอบด้วยเพศผู้ 466 ตัว และเพศเมีย 280 ตัว พบว่า เพศผู้มีความยาวลำตัวตั้งแต่ 10.25 – 28.25 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 17.83 ? 0.10 เซนติเมตร ส่วนเพศเมียมีความลำตัวตั้งแต่ 11.75 – 21.75 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 16.61 ? 0.05 เซนติเมตร หมึกหอมมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.56 เมื่อแยกอัตราส่วนเพศตามขนาดความยาว พบว่า ช่วงความยาว 15.25 -18.25 เซนติเมตร มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1 ที่ความยาวน้อยกว่า 15.25 เซนติเมตร เพศผู้มากกว่าเพศเมีย 2 - 3 เท่า ส่วนที่ความยาวมากกว่า 18.25 เซนติเมตร เพศผู้มากกว่าเพศเมียประมาณ 3 เท่า และที่ความยาว 21.75 เซนติเมตรขึ้นไป พบเฉพาะหมึกหอมเพศผู้เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักของหมึกหอมรวมเพศ คือ W = 0.362 ML2.343 (R2 = 0.937) เพศเมีย คือ W = 0.417 ML2.306 (R2 = 0.879) และเพศผู้ คือ W = 0.337 ML2.361 (R2 = 0.956) หมึกหอมสามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยมีฤดูสืบพันธุ์วางไข่สูง 3 ช่วง คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งพบสูงสุด ช่วงกรกฎาคม-กันยายน และช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม การวิเคราะห์ต้นทุนของเรือลอบหมึกขนาดเล็ก พบว่า ชาวประมงมีต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 977.46 บาท/เที่ยว แบ่งเป็นต้นทุนคงที่ 68.44บาท/เที่ยว และต้นทุนผันแปร 909.02 บาท/เที่ยว โดยค่าซ่อมแซมลอบเป็นต้นทุนที่สูงที่สุดซึ่งเท่ากับ 322.45 บาท/เที่ยว คิดเป็นร้อยละ 32.98 ของต้นทุนทั้งหมด ชาวประมงมีรายได้ 336.50 - 4,132.80 บาท/เที่ยว โดยมีรายได้เฉลี่ย 1,488.73 บาท/เที่ยว มีกำไรจากการดำเนินการเท่ากับ 579.71 บาท/เที่ยว และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 511.27 บาท/เที่ยว
บทคัดย่อ (EN): Study on squid trap fisheries in the inner Gulf of Thailand was conducted by collecting the data from small-sized squid trap fishing boats (SST; 7 – 9 m overall length) at Sunset Beach, Sattahip, Chon Buri Province and large-sized squid trap fishing boats (LST; 13 - 15 m overall length) at Cha-am fishing port, Petchburi Province during January – December 2010. The results found that there was 50 -200 traps/boat for SST and 270 – 370 traps/boat for LST. Fishing ground for SST was off Sunset Beach, Sattahip and Bang Lamung, Chon buri Province at the depth of 5 - 12 m and LST was off Cha-am, Petchburi Province to Muang, Prachuap Khiri Khan Province at the depth of 16 – 45 m respectively. Species composition of SST was bigfin reef squid (Sepioteuthis lessoniana), cuttlefishes (Sepia spp.) and other marine fauna (80.5%, 5.4% and 14.1% respectively) while catch per unit effort (CPUE) was 1.84, 0.13 and 0.32 kg/10 traps respectively. Sample of 2,863 bigfin reef squid was sorted to be 1,939 male and 924 female. Length of male was found from 10.25 – 21.75 cm and the average length was 14.87 ? 0.40 cm while the length of female was found from 10.25 – 21.25 cm and the average length was 14.84 ? 0.54 cm. Species composition of LST was bigfin reef squid (S. lessoniana), Pharaoh cuttlefish (Sepia pharaonis) and needle cuttlefish (S. aculeata) (56.2%, 35.2% and 8.6% respectively) while CPUE of bigfin reef squid and cuttlefishes was 9.3 and 4.73 kg/10 traps respectively. Sample of 746 bigfin reef squid was sorted to be 466 male and 280 female. The length of male was found from 10.25 – 28.25 cm and the average length was 17.83 ? 0.10 cm while the length of female was found from 11.75 – 21.75 cm and the average length was 16.61 ? 0.05 cm. Sex ratio of male to female was 1:0.56. The analysis of sex ratio based on length showed that, when the length ranging from 15.25 - 18.25 cm, sex ration was 1:1, when the length smaller than 15.25 cm, male were more than female about two to three times, when the length larger than 18.25 cm, male were more than female about 3 times and when the length larger than 21.75 cm, no female was found. Length-weight relationship of total bigfin reef squid, female and male was W = 0.362 ML2.343 (R2 = 0.937), W = 0.417 ML2.306 (R2 = 0.879) and W = 0.337 ML2.361 (R2 = 0.956). Spawning season was throughout the year which there was three peak seasons on February – April, July – September and November – December. Cost analysis of SST showed that fix cost, variable cost, and total cost were 68.44, 909.02 and 977.46 baht/trip respectively. The highest cost was traps maintenance which was 322.45 baht/trip (32.98%). The return was 336.50 - 4,132.80 baht/trip and the average return was 1,488.73 while the operating profit was 579.71 baht/trip and net profit was 511.27 baht/trip.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291389
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน
กรมประมง
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะการทำประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน การวางลอบหมึกที่ระดับความลึกต่างกันบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะการทำประมงลอบหมึกในน่านน้ำไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก