สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความคงตัวของตำรับโพรไบโอติกอัดเม็ดที่ได้จากข้าวหมักของฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0381
แคทรียา สุทธานุช - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความคงตัวของตำรับโพรไบโอติกอัดเม็ดที่ได้จากข้าวหมักของฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0381
ชื่อเรื่อง (EN): Stability study in the probiotic tablets from fermented rice of germinated brown rice and KKU URL0381 cultivar black rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แคทรียา สุทธานุช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ต่อเนื่องจากแผนงานวิจัยการเพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยภูมิปัญญาไทยฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากข้าวไทย โดยการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการแปรรูปข้าว และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพชนิดโพรไบโอติกและผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากกากข้าว/น้ำข้าวหมัก ที่ได้จากการหมักข้าวกล้อง ของข้าว ฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0381 โดย แคทรียา สุทธานุชและคณะ (ปีงบประมาณ 2555) ซึ่งทำได้สูตรตำรับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกต้นแบบจากข้าวหมัก ที่ได้จากข้าวทั้ง 2 ชนิด ที่มีข้อมูลคุณสมบัติทางกายภาพ กลุ่มสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบเบื้องต้น ได้แก่ สารฟีนอลิก แอนโธไซยานิน และกรดธรรมชาติ ประกอบกับจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้ คือมีข้าวหมักที่มีคุณสมบัติโพรไบโอติกเป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ หรืออีกนัยหนึ่งคือมีสารสำคัญออกฤทธิ์ที่ได้จากข้าววัตถุดิบ (ข้าวฮางงอก และข้าวก่ำ) และมีเชื้อโพรไบโอติกที่มีคุณสมบัติและขีดความสามารถจำกัดในการทนต่อสภาวะแวดล้อมที่มีปัจจัยของอุณหภูมิ ความชื้น แสง การสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศ รวมถึงเนื้อสารของส่วนประกอบต่างๆในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และจำนวนของเชื้อโพรไบโอติกในผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้วัตถุดิบข้าวที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก ได้แก่ ข้าวฮางงอกและข้าวก่ำซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอาจจะมีผลต่อคุณสมบัติและความคงตัวของผลิตภัณฑ์และเชื้อโพรไบโอติกในตำรับในระหว่างการจัดเก็บ ภายใต้สภาวะการเก็บต่างๆ หากมีผลลดจำนวนเชื้อโพรไบโอติกจะทำให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ลดลงด้วย ซึ่งมีรายงานว่าผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกหรือเชื้อโพรไบโอติกจะสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพได้ หากมีปริมาณเชื้อโพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารในปริมาณที่มากพอ และได้รับเชื้อโพรไบโอติกเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่นานมากพอ นอกจากนี้ในทางเภสัชกรรมสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจำเป็นต้องทำการควบคุมคุณภาพและความคงตัวของสูตรตำรับ โดยการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มโพรไบโอติก ตาม WHO guideline ได้เสนอให้ทำการพิสูจน์คุณสมบัติโพรไบโอติก in vitro และ/หรือ in vivo ได้แก่ ปริมาณเชื้อโพรไบโอติก ผลทางชีววิทยา ความปลอดภัย รวมทั้งการตรวจสอบความคงตัวของเชื้อโพรไบโอติกและผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ สูตรตำรับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกข้าวหมักที่พัฒนาขึ้น จำเป็นต้องทำการตรวจสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์และความคงตัวของเชื้อโพรไบโอติก นอกจากนี้องค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดข้าวหมักที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญสำหรับการต่อยอดให้เกิดการเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ เพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพและศักยภาพของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกข้าวหมัก กำหนดทิศทางการวิจัยในประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสนับสนุนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด และเกิดความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความคงตัวของตำรับโพรไบโอติกอัดเม็ดที่ได้จากข้าวหมักของฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0381
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2557
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำสำหรับผู้สูงอายุ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาความคงตัวของตำรับโพรไบโอติกอัดเม็ดที่ได้จากข้าวหมักของข้าวฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0381 การวิจัยเพื่อนำสารสกัดข้าวหมักไทยไปใช้ประโยชน์ในภาวะอ้วน: การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ผลและกลไกต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ไขมัน และความเป็นพิษของสกัดข้าวหมักจากข้าวฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0 การเพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย: การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพโพรไบโอติกและเวชสำอางจากผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการหมักข้าวฮางงอกและข้าวก่ำสายพันธุ์ KKU URL0381 ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ คุณภาพของฟางข้าวที่หมักด้วยน้ำกากผงชูรส ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก