สืบค้นงานวิจัย
อัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพเนื้อปลากะพงขาวที่เลี้ยงด้วยระบบต่างกัน
แจ่มจันทร์ เพชรศิริ, ทวีเดช ไชยนาพงษ์, ธัญญา ดวงจินดา, ธนพล อยู่เย็น - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: อัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพเนื้อปลากะพงขาวที่เลี้ยงด้วยระบบต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Growth, survival rate and carcass proximate composition of Lates calcarifer at different rearing culture
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ความรู้เกี่ยวกับระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันต่อผลผลิตของปลากะพงขาว เป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน การเจิญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพเนื้อของปลากะพงขาว ที่เลี้ยงในบ่อดินน้ำจืด ด้วยระบบต่างกัน 3 ชุดการทดลอง คือ 1) เลี้ยงปลากะพงขาวแบบเดี่ยว ด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับปลาทะเล โดยให้อาหารทุกวัน 2) และ 3) เลี้ยงปลากะพงขาวร่วมกับปลานิล ด้วยอาหารเม็ดสำหรับปลาดุก โดยให้อาหารวันเว้นวัน และทุกวัน ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าที่ระยะ 1 เดือนแรก ปลากะพงขาวที่เลี้ยงด้วยระบบต่างกันมีน้ำหนักเฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) มีค่าระหว่าง 60.9?6.0 -70.0?10.9 กรัมต่อตัว แต่เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ระยะเวลา 6 เดือนพบว่าปลากะพงขาวที่เลี้ยงแบบเดี่ยว มีน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด และให้ผลผลิตปลากะพงขาวมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 444.0?16.6 กรัมต่อตัวและ 10.19?0.51 กิโลกรัมต่อบ่อตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นปลากะพงขาวแบบเดี่ยว มีอัตรารอดสูงถึง 76.7?6.7% ซึ่งมีค่าสูงกว่าการเลี้ยงร่วมกับปลานิล ในทางกลับกันพบว่าการเลี้ยงปลากะพงขาวร่วมกับปลานิลด้วยอาหารเม็ดสำหรับปลาดุกให้อาหารทุกวัน ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงที่สุดคือ 40.48% เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพเนื้อผลการศึกษาพบว่าปลากะพงขาวที่เลี้ยงร่วมกับปลานิลด้วยอาหารเม็ดสำหรับปลาดุกให้อาหารวันเว้นวัน มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด (80.8?0.3% ของน้ำหนักแห้ง) แต่มีปริมาณไขมันต่ำที่สุด (5.2?0.1 ของน้ำหนักแห้ง) ในทางกลับกันปลากะพงขาวที่เลี้ยงร่วมกับปลานิลด้วยอาหารเม็ดสำหรับปลาดุกให้อาหารทุกวันมีปริมาณไขมันสูงที่สุด (10.2?0.2% ของน้ำหนักแห้ง) แต่มีปริมาณโปรตีนต่ำที่สุด (75.8?0.1% ของน้ำหนักแห้ง) ในขณะที่กล้ามเนื้อบริเวณท้องของปลากะพงขาวที่เลี้ยงแบบเดี่ยวด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับปลาทะเล มีปริมาณกรดไขมันรวมมากที่สุด (103.82?28.63 % ของน้ำหนักแห้ง) อย่างไรก็ตามไม่พบจีออสมิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดกลิ่นโคลน ในเนื้อปลากะพงขาวทั้ง 3 ชุดการทดลอง จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพเนื้อ ของปลากะพงขาว มีความสัมพันธ์กับระบบการเลี้ยงและชนิดของอาหาร ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางในการลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพเนื้อของปลากะพงขาวที่เลี้ยงในบ่อดินน้ำจืด
บทคัดย่อ (EN): The knowledge of different culture systems on the production of Lates calcarifer is essential. The purpose of this study was to evaluate growth, survival rate and fillet quality of Lates calcarifer rearing in freshwater earthen-ponds with three different rearing systems. There were i) Monoculture of Lates calcarifer and feeding daily with marine fish feed; ii) polyculture of Lates calcarifer with Nile tilapia and feeding every other day with catfish feed and iii) polyculture of Lates calcarifer with Nile tilapia and feeding daily with catfish feed. It was found that there were no significant differences (p >0.05) in body weight (60.9?6.0 -70.0?10.9 g./fish) at the first month of the experiment. However, at the end of the 6 moths experiment, monoculture of Lates calcarifer showed significantly higher body weight (444.0?16.6 g./fish) and total weight (10.19?0.51 kg./pond) than both polyculture rearing systems. Moreover, monoculture of Lates calcarifer showed significantly higher survival (76.7?6.7%) than both polyculture rearing systems. On the other hand, polyculture of Lates calcarifer with Nile tilapia and feeding daily with catfish feed showed significantly higher benefits (40.48%) than monoculture of Lates calcarifer feeding daily with marine fish feed. Fillet quality varied among treatments, with polyculture of Lates calcarifer with Nile tilapia and feeding every other day with catfish feed had the highest protein (80.8?0.3% DW) and the lowest lipid contents (5.2?0.1% DW). In contrast, polyculture of Lates calcarifer with Nile tilapia and feeding daily with catfish feed had the highest lipid (10.2?0.2% DW) and the lowest protein contents (75.8?0.1% DW). Whereas, the highest total fatty acid content (103.82?28.63 % DW) was founded in the abdominal muscle of monoculture of Lates calcarifer and feeding daily with marine fish feed. However, geosmin compounds not detected in all treatments. These result indicated that growth, survival rate and fillet quality varied according to culture system and experimental diets. This information would be useful to reduce cost and improve fillet quality of Lates calcarifer for rearing in freshwater earthen-ponds.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพเนื้อปลากะพงขาวที่เลี้ยงด้วยระบบต่างกัน
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2559
ประสิทธิภาพของสาหร่ายไมโครสปอรา (Microspora sp., Thuret) หมักในอาหารผสมต่อการเจริญเติบโตและ คุณภาพเนื้อของปลากะพงขาว อัตราการเจริญเติบโต การรอดตาย การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ผลผลิตรวม และคุณภาพเนื้อของกุ้งก้ามกรามเลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายไกสด ผลของระบบการเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์ ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ส่วนประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองลูกผสม โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อและคุณภาพซาก ของปลาโมงและปลาโมงลูกผสม จากการเลี้ยงในกระชัง การใช้ประโยชน์ของข้าวไม่ขัดสีต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อของไก่เนื้อ ผลของการเสริมกรดไขมันและวิตามินซีลงในแพลงก์ตอนสัตว์ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre,1927) การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความเค็มต่ำ อิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพันธุ์กระโดน การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก