สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์จากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
บุษราคัม อุดมศักดิ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์จากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of Bioproduct from Bacillus subtilis Isolate 20W1 to Control Alternaria brassicicola a Causal Agent of Chinese Kale Leaf Spot
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุษราคัม อุดมศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Boossaracum Udomsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรคใบจุดคะน้า เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola เป็นโรคที่มีความสำคัญ ทำความเสียหายกับคะน้าทุกระยะการเจริญเติบโต การควบคุมโดยชีววิธีเป็นทางเลือกหนึ่งที่ลดการใช้สารเคมี ดำเนินการคัดเลือกแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพในการควบคุมโรคใบจุดคะน้า ระหว่างเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2554 - กันยายน ปี พ.ศ. 2556 โดยคัดเลือกในระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี dual culturetechnique จาก Bacillus spp. จำนวน 135ไอโซเลท ซึ่งแยกจากดินปลูก ปุ๋ยคอก และวัสดุปลูกจากแหล่งต่าง ๆ พบว่า ไอโซเลท 20W120W5 20W4 20W12 และ 17G18มีศักยภาพสูงสุด ในการควบคุมเชื้อ A.brassicicola นำทั้ง 5 ไอโซเลท ไปทดสอบการ ควบคุมโรคเบื้องต้นในโรงเรือนโดยพ่น cell suspension ของ Bacillus spp. ก่อนปลูกเชื้อA. brassicicola พบว่า ทุกไอโซเลทสามารถลดการเกิดโรคได้ โดยมีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 46.77% 52.81% 59.99% 60.45% และ 71.31% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ มีความรุนแรงของโรค 73.79% จากนั้นนำทั้ง 5 ไอโซเลทไปทดสอบในแปลงปลูกที่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยวิธีการพ่นด้วย cell suspension เช่นกัน พบว่า ทุกไอโซเลท มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ ความรุนแรงของโรคต่ำกว่ากรรมวิธีที่ไม่มีการพ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากนั้นได้นำ แบคทีเรียทั้ง 5 ไอโซเลท มาพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์ สูตรผง และนำไปทดสอบในแปลงปลูกเดิม พบว่า กรรมวิธีที่พ่นด้วยชีวภัณฑ์ B. subtilis ไอโซเลท 20W1 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรคใบจุด สามารถลดการเกิดโรคได้เท่ากับ 32.88% การใช้ชีวภัณฑ์ B. subtilis ไอโซเลท 20W1 อัตรา 20-30 ก./น้ำ 20 ล. ให้ผลดีเทียบเท่ากับ การพ่นด้วยสาร mancozeb 80% WP (40 ก./ น้ำ 20 ล.) และอัตรา 40-50 ก./น้ำ 20 ล. ให้ผล ดีกว่าการพ่นด้วยสาร mancozeb 80% WP อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น B. subtilis ไอโซเลท 20W1 จึงเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มี ศักยภาพ สามารถนำไปพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์ เชิงพาณิชย์ใช้ควบคุมโรคใบจุดคะน้าในระดับ แปลงเกษตรกรได้
บทคัดย่อ (EN): Alternaria brassicicola can cause leaf spot symptoms at every growth stages of Chinese kale. Biological control is an alternative technique to reduce chemical usage. However, a limiting factor for biological control is the un-survival of antagonists on plant leaf surface. Bacillus bacteria can be a promising antagonist to A. brassicicola, which has a special ability in producing endospores that could tolerance and grew well in field condition. During October 2011 – September 2013, 135 isolates of Bacillus spp. isolated from soil, manure, and planting materials, were evaluated for the ability to inhibit growth of A. brassicicola using dual culture technique. Five isolates effectively inhibited mycelia growth of A. brassicicola, namely 20W1 20W5 20W4 20W12 and 17G18. These isolates were then tested for the disease control in the screen house by spraying of its cell suspension prior to the inoculation of the pathogen. We found that all isolates could effectively reduce Chinese kale leaf spot disease to 46.77%, 52.81%, 59.99%, 60.45% and 71.31% respectively compared to 73.79% of the disease in nonantagonist spraying treatment. Field trial at Ta Maka District, Kanchanaburi province also showed results as similar as in screening house experiment. Those 5 isolates of Bacillus spp. were formulated into powder formulation and tested again at the same field. The results showed that all isolates could significantly control the disease better than a non-antagonist spraying treatment. Isolate of B. subtilis 20W1 was the most effective antagonist which reduced the disease to 32.88%. Efficacy trial of the 20W1 isolate at 20-30 g/20 L of water showed the disease control at the same level as using mancozeb 80% WP at 40 g/20 L of water and significantly controlled the disease when applied at 40-50 g/20 L of water. In conclusion, B. subtilis 20W1 is a new potential isolate which can be developed to the bio-fungicide for a commercial scale.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์จากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
กรมวิชาการเกษตร
2560
เอกสารแนบ 1
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว การควบคุมเชื้อรา Phytophthora parasitica Dastur. สาเหตโรคใบร่วงยางพารา โดยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ โครงการย่อย 9:การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคขอบใบไหม้กะหล่ำปลีและใบจุดตากบผักกาดหอมห่อบนพื้นที่สูง ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสสาเหตุโรคจากเชื้อ Colletotrichum spp. และส่งเสริมการเจริญเติบโตในพริก การสำรวจ รวบรวมและประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อการควบคุม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก