สืบค้นงานวิจัย
ผลของฮอร์โมน 17 estradiol ต่อการแปลงเพศกบนาให้เป็นเพศเมีย
สุชาติ จุลอดุง - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ผลของฮอร์โมน 17 estradiol ต่อการแปลงเพศกบนาให้เป็นเพศเมีย
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of 17 estradiol Hormone to the Feminization of Frog
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ จุลอดุง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การแปลงเพศกบนาโดยอนุบาลลูกอ๊อดกบนาอายุ 2 วัน ด้วยอาหารผสมฮอร์โมน 17 β-estradiol ในปริมาณ 0, 25, 50 และ 100 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลานาน 7, 14 และ 28 วัน ณ ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ําชุมพร จังหวัดชุมพร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 ผลการทดลองพบว่า เมื่ออนุบาลครบ 28 วัน ลูกอ๊อดกบนามีความยาวเฉลี่ย ระหว่าง 3.13±0.29 ถึง 3.29±0.32 ซม. น้ําหนักเฉลี่ย ระหว่าง 3.38±0.97 ถึง 4.31±1.48 กรัม และมีอัตรารอดตายเฉลี่ย ระหว่าง 60.33±13.58 ถึง 97.00±3.60 เปอร์เซ็นต์และเมื่อเลี้ยงกบนาต่อไปครบ 120 วัน จนสามารถแยกเพศได้พบว่า มีสัดส่วนเพศเมียเฉลี่ยระหว่าง 4.97±4.58 ถึง 17.49±2.22 เปอร์เซ็นต์โดยชุดการทดลองที่ 9 ซึ่งอนุบาลลูกอ๊อดอายุ 2 วัน ด้วยอาหารผสมฮอร์โมน 17 β-estradiol ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลานาน 28 วัน มีสัดส่วนเพศเมียเฉลี่ยสูงกว่าชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีสัดส่วนเพศเมีย เฉลี่ย17.49±2.22 เปอร์เซ็นต์ ส่วนชุดการทดลองที่ 1 ซึ่งอนุบาลลูกอ๊อดอายุ 2 วัน ด้วยอาหารผสมฮอร์โมน 17 β-estradiol ความเข้มข้น 0 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลานาน 7 วัน มีสัดส่วนเพศเมียเฉลี่ยต่ํากว่าชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีสัดส่วนเพศเมียเฉลี่ย 4.97±4.58 เปอร์เซ็นต์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=275
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของฮอร์โมน 17 estradiol ต่อการแปลงเพศกบนาให้เป็นเพศเมีย
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2552
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
ปริมาณฮอร์โมน17?-estradiol ที่เหมาะสม ต่อการแปลงเพศกบนาให้เป็นเพศเมีย การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy การอนุบาลลูกอ๊อดกบนาด้วยความหนาแน่นที่ต่างกัน การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารกบนา การศึกษาระดับของฮอร์โมนที่ตกค้างในการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน (การศึกษาระดับของฮอร์โมน(17 alpha-methyltestosterone)ที่ตกค้างในการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน การอนุบาลลูกกบนาด้วยอาหารสำเร็จรูปเสริมยีสต์มีชีวิต การกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูกอ๊อดกบนาด้วยกวาวเครือขาวและกวาวเครือแดง เปรียบเทียบลักษณะเชิงเพาะเลี้ยงของกบนาจาก 5 แหล่งเพาะเลี้ยง การเลี้ยงกบนาร่วมกับปลาดุกบิ๊กอุยโดยการควบคุมปริมาณน้ำ และความถี่ในการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อพลาสติก การตรวจฮอร์โมน 17 อัลฟา เมทิลเทสโทสเตอโรนในปลานิลแปลงเพศ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก