สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะการแพร่กระจายและการยอมรับเทคโนโลยีเกษตร จากการรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตร ทางสถานีวิทยุ มก.บางเขน ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี
มนัส ดาเกลี้ยง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ลักษณะการแพร่กระจายและการยอมรับเทคโนโลยีเกษตร จากการรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตร ทางสถานีวิทยุ มก.บางเขน ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนัส ดาเกลี้ยง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้รับฟังรายการส่งเสริมการเกษตรทางสถานีวิทยุ มก.บางเขน ลักษณะการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะในการรับฟังตลอดจนการยอมรับและปัจจัยที่สนับสนุนการยอมรับ การแพร่กระจาย และปัจจัยที่สนับสนุนการแพร่กระจาย เทคโนโลยีเกษตร ของเกษตรกรผู้รับฟัง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเกษตรกรผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวซึ่งทำนาข้าวและรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตรทางสถานีวิทยุ มก.บางเขน จำนวน 100 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นในจังหวัดสุพรรณบุรี และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าสหสัมพันธ์ และค่าความแปรปรวน ผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ เกษตรกรผู้รับฟัง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.35 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีที่ดินทำกินเฉลี่ย 33.20 ไร่ มีรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 84,090.70 บาทต่อปี เป็นสมาชิกและกรรมการเฉลี่ยคนละ 1.26 กลุ่ม การเดินทางออกนอกหมู่บ้านเฉลี่ยเดือนละ 4.32 ครั้ง ส่วนใหญ่ทำนาปีละ 2 ครั้ง และมีพื้นที่ทำนาปีเฉลี่ย 22.48 ไร่ พื้นที่เฉลี่ยทำนาปรัง 16.96 ไร่ มีรายได้จากข้าวโดยเฉลี่ย 70,491.00 บาทต่อปี สถานีวิทยุที่นิยมรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด คือ สถานีวิทยุ มก.บางเขน และส่วนใหญ่เปิดฟังรายการเองโดยไม่มีผู้แนะนำ เกษตรกรผู้รับฟังฟังรายการส่งเสริมการเกษตรทางสถานีวิทยุ มก. บางเขน โดยเฉลี่ย 6.62 ปี และรับฟังเฉลี่ย 4.71 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ไม่เคยไปหาผู้จัดกรายการ และไม่เคยติดต่อทางจดหมาย เกษตรกรผู้รับฟังนิยมรับฟังเรื่องการทำนาเป็นอันดับ 1 และจากการพิสูจน์สมมติฐานพบว่าเกษตรกรนิยมรับฟังช่วงเวลาแตกต่างกัน 13 ช่วง และช่วงเวลาที่นิยมรับฟังมากที่สุดคือ 05.00-15.30 น. จากการพิสูจน์สมมติฐานพบว่าเกษตรกรนิยมรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตรแตกต่างกัน 13 รายการ และรายการที่นิยมรับฟังมากที่สุดคือ รายการก่อนอรุณจะรุ่ง และจากการพิสูจน์สมมติฐานพบว่า ช่วงเวลาที่เกษตรกรผู้รับฟังนิยมรับฟัง มีความสัมพันธ์กับรายการส่งเสริมการเกษตรที่นิยมรับฟัง (โดยปรับให้เป็นช่วงเวลา) เกษตรกรผู้รับฟังส่วนใหญ่ยอมรับเรื่องการใช้สารเคมีปราบแมลง และรายการส่งเสริมการเกษตรที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับส่วนใหญ่ ได้แก่รายการก่อนอรุณรุ่ง เหตุผลที่ยอมรับส่วนใหญ่ระบุว่าทดลองแล้วได้ผลดี จากการพิสูจน์สมมติฐานพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับ กับปัจจัยบางประการของเกษตรกรผู้รับฟัง ได้แก่ขนาดพื้นที่ทำกิน ขนาดพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการทำนา อายุ การเป็นสมาชิก และกรรมการ การเดินทางออกนอกหมู่บ้าน ยกเว้นมีความสัมพันธ์ทางบวก กับรายได้ทั้งหมดต่อปี และรายได้จากข้าวต่อปีเกษตรกรผู้รับฟัง ส่วนมากมีการแพร่กระจายเทคโนโลยีเกษตรและส่วนมากแพร่กระจายโดยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนบ้าน และจากการพิสูจน์สมมติฐานพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่กระจายเทคโนโลยีเกษตรกับปัจจัยบางประการของเกษตรกรผู้รับฟัง ได้แก่ รายได้ทั้งหมด รายได้จากข้าว ขนาดพื้นที่ทำกิน ขนาดพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการทำนา อายุ การเป็นสมาชิก และกรรมการ และการเดินทางออกนอกหมู่บ้าน ยกเว้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความถี่ในการรับฟังวิทยุ จากการพิสูจน์สมมติฐานพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างการยอมรับกับการแพร่กระจายเทคโนโลยีการเกษตร ปัญหาในการรับฟังส่วนใหญ่ระบุว่า มีคลื่นแทรก และข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ระบุว่าให้ลดการโฆษณาลงบ้าง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2533
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะการแพร่กระจายและการยอมรับเทคโนโลยีเกษตร จากการรับฟังรายการส่งเสริมการเกษตร ทางสถานีวิทยุ มก.บางเขน ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2534
การยอมรับและการแพร่กระจายเทคโนโลยีเกษตรจากการรับฟังรายการเกษตรทางสถานีวิทยุ มก. บางเขนของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี การยอมรับเทคโนโลยีเกษตรของเกษตรกรอันเนื่องมาจากผู้นำการเปลี่ยนแปลงศึกษาเฉพาะกรณี การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการอารักขาข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ปี 2547 ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกาแฟของเกษตรกรจังหวัดกระบี่ สภาวะการปลูกแห้วจีนของเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี การยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรรายได้น้อยของจังหวัดลำปางและสกลนคร:เน้นหนักต้นตอที่เป็นวิทยุและสิ่งตีพิมพ์ การยอมรับเทคโนโลยีในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร การยอมรับการส่งเสริมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ (ไม้ผล) ของเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี การยอมรับและแพร่กระจายเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก