สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาไบโอคอมโพสิตฟิล์มจากพอลิแลคติค แอซิด และกากกาแฟ สำหรับฟิล์มพลาสติกการเพาะปลูก
ศรารัตน์ มหาศรานนท์ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาไบโอคอมโพสิตฟิล์มจากพอลิแลคติค แอซิด และกากกาแฟ สำหรับฟิล์มพลาสติกการเพาะปลูก
ชื่อเรื่อง (EN): The developments of bio-composite films based on poly(lactic acid) with spent coffee grounds for agriculture plastic films
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรารัตน์ มหาศรานนท์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในงานวิจัยนี้สนใจศึกษาการเตรียมกากกาแฟที่เป็นของเหลือใช้นำมาเป็นสารตัวเติมในการผลิตฟิล์มพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้ โดยผสมกับพอลิแลกติกแอซิด (PLA) ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบที่สามารถผลิตทดแทนขึ้นใหม่ได้ในทางธรรมชาติ ในขั้นแรกเตรียมไบโอคอมโพสิตฟิล์ม PLA ผสมกากกาแฟ (SCGP) (ขนาดอนุภาค < 90 µm) ด้วยเครื่องผสมแบบเกลียวหนอนคู่ ในอัตราส่วน PLA/SCGP 0, 5, 7.5, 10, 12.5 และ 15 wt.% เมื่อทดสอบค่าอัตราการไหล (MFR) พบว่ามีค่าที่สูงขึ้นตามปริมาณ SCGP ที่เพิ่มขึ้น จากนั้นทำการขึ้นรูปฟิล์มด้วยเครื่องเป่าฟิล์ม ผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) อนุภาค SCGP มีการกระจายตัวในเนื้อ PLA อย่างสม่ำเสมอ และสามารถช่วยป้องกันการส่องผ่านของแสงยูวี-วิสิเบิลได้ โดยมีค่าร้อยละการส่องผ่านของแสงที่ลดลง และมีเปอร์เซ็นต์การย่อยสลายของฟิล์มจากการฝังกลบในดิน (ระยะเวลา 12 เดือน) ที่สูงขึ้น ตามปริมาณ SCGP ที่เพิ่มขึ้น และค่าการทนแรงดึงมีค่าลดลงและเปอร์เซ็นต์ในการยืดออก ณ จุดขาดมีแนวโน้มที่สูงขึ้น การทดสอบการเสื่อมสภาพของฟิล์ม พบว่ามีค่าการทนแรงดึงและเปอร์เซ็นต์ในการยืดออก ณ จุดขาดมีแนวโน้มที่ลดลง เมื่อระยะเวลาทดสอบนาน 9 เดือน เนื่องจากฟิล์ม PLA/SCGP ที่ทำการทดสอบทิ้งไว้ในสภาวะอุณหภูมิห้องในเวลานานขึ้น ทำให้ฟิล์มได้รับความชื้นในบรรยากาศเกิดการย่อยสลายของสายโซ่โมเลกุลของ PLA ขึ้น จึงส่งผลต่อค่าความแข็งแรงของฟิล์มที่ลดลง ดังนั้นในงานวิจัยนี้สามารถใช้กากกาแฟเป็นสารตัวเติมและทำหน้าที่เป็นพลาสติไซเซอร์ให้แก่ฟิล์ม PLA และกากกาแฟยังมีส่วนช่วยให้ฟิล์ม PLA ย่อยสลายได้เร็วขึ้น เหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ เพื่อใช้เป็นฟิล์มทางด้านเกษตร เช่น ถุงปลูกเพาะชำพืช ที่สามารถปลูกลงดินได้โดยไม่ต้องฉีกถุงปลูก เพื่อลดปัญหาการขาดของรากพืชและช่วยลดปัญหาขยะจากพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายจากอุตสาหกรรมการเกษตร อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการผลิตกาแฟให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The aim of this research was to prepare, and use spent coffee grounds (SCG) by adding to biodegradable plastics to create a bio-composite film. This was achieved by mixing with poly(lactic acid) (PLA) which can be derived from renewable resources. First, PLA with spent coffee ground pure (SCGP) was prepared using a sieve of size 170 mesh (particle size < 90 µm). PLA/SCGP compounds were then processed by a twin-screw extruder with feed ratios of; 0, 5, 7.5, 10, 12.5 and 15 wt.%. Melt flow rate (MFR) of compounds was measured and showed that increasing SCGP increased MFR. Afterwards, the PLA/SCGP bio-composite films were processed by a blow film extruder. The morphology was analyzed by scanning electron microscopy (SEM) and the results showed that the PLA matrix with SCGP was miscible and had a good distribution SCG. PLA/SCGP films showed a considerable reduction in transmission of UV-visible light and increased %degradation when increasing SCGP filler, tested by burying samples in a soil of 12 months. The tensile strength was decreased and %elongation at break was increased. During the stability testing of PLA/SCGP films the tensile strength and %elongation at break were decreased that it instantly decreased at 9 months. This is due to when the PLA mixed with SCGP films are left at room temperature for longer periods of time that they can absorb moisture from environment, which easily degrades the molecular chains of PLA and enhances the decreased strength of the films. Moreover, spent coffee ground particles can be able to enhance degradation of PLA. Thus, they were suitable to develop thin film products which will be degradable and aimed for agricultural applications, for example, planting bag which it can be planted in soil without needing to be removed. They can also decrease other problems, including a lack of roots and non-degradable plastic waste from industrial agriculture. Finally, promoting the use of waste products from the coffee production industry helps to increase economic value.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1. ผลิตไบโอคอมโพสิตฟิล์ม จากพอลิแลคติค แอซิดและกากกาแฟ เพื่อให้ได้ไบโอคอมโพสิตฟิล์มที่ย่อยสลายได้ ที่มีสมบัติเชิงกลทางด้านความยืดหยุ่นดีขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง 2. เพื่อให้ได้ต้นแบบ (Prototype) ถุงเพาะปลูกและพลาสติกโรงเรือนเพาะปลูก จากไบโอคอมโพสิตฟิล์มที่ย่อยสลายได้ที่ผลิตได้ ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตในเชิงพาณิชย์ 3. เพื่อให้ได้พลาสติกโรงเรือนเพาะปลูก ที่ช่วยให้การเพาะปลูกพืชผักแบบเกษตรอินทรีย์ ปราศจากสารเคมีในระบบสิ่งแวดล้อม
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาไบโอคอมโพสิตฟิล์มจากพอลิแลคติค แอซิด และกากกาแฟ สำหรับฟิล์มพลาสติกการเพาะปลูก
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2562
การศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการสกัดกากกาแฟและประสิทธิภาพในการบับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase (AChE) ของสารสกัดจากการกาแฟเทียบกับกรกคาเฟอิกบริสุทธิ์เพื่อนำไปผลิตชาจากการกกาแฟสำหรับผู้สูงอายุ จลศาสตร์ของเชื้อบริสุทธิ์แลคติคแอซิดแบคทีเรียสำหรับใช้ในการผลิตแหนม แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ แลคติกแอซิดแบคทีเรีย บทบาทที่แตกต่าง การเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำและแป้งเทอร์โมพลาสติกดัดแปร การพัฒนาและการประยุกต์ใช้สารเติมแต่งพอลิเมอร์ชีวภาพต้านเชื้อจุลชีพสำหรับฟิล์มบรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายได้ การสังเคราะห์แอมฟิฟิลิกไตรบล็อคโคพอลิเมอร์ชนิดพอลิแลคติกแอซิด-พอลิเอทิลีนไกลคอล-พอลิแลคติกแอซิดเพื่อการดัดแปรเมมเบรนชนิดพอลิอีเทอร์ซัลโฟนชีวฐาน วิจัยและพัฒนาโรงเรือนเพาะปลูกต้นเนียมระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมแบบอัตโนมัติสำหรับเกษตรกร พอลิ(ไวนิลอะซิเตต-โค-ไวนิลแอลกอฮอล์)อิมัลซิฟายเออร์สำหรับพอลิแลคติกแอซิด อิมัลชัน ศักยภาพของกากผักและผลไม้เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก