สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับของเกษตรกรในการทำการเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สัมพันธ์ แย้มกระโทก - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การยอมรับของเกษตรกรในการทำการเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเรื่อง (EN): The accept of farmers to New Theory Agricutuer on sufficiency Economic in Buriram Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สัมพันธ์ แย้มกระโทก
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.19 เป็นเพศชาย ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 61.98 จบการศึกษาภาคบังคับ (ป.4 ,ป.6) อาชีพหลักร้อยละ 90.91 ทำนา ร้อยละ 50.41 ทำไร่นาสวนผสม และร้อยละ 20.25 เลี้ยงสัตว์ การเป็นกรรมการ หรือสมาชิกของกลุ่มต่างๆ ของเกษตรกร ร้อยละ32.23 เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สมาชิกในครัวเรือน ร้อยละ 71.90 มีสมาชิกในครัวเรือน 6-9 คน รายได้ของครอบครัวโดยเฉลี่ย ต่อปี ร้อยละ 54.54 น้อยกว่า 50,000 บาท พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 37.19 มีพื้นที่ทำการเกษตร 11-20 ไร่ มีวิธีการเพิ่มรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตร ร้อยละ 71.90 ใช้วิธีปลูกพืชหมุนเวียน และมีแหล่งสินเชื่อในการประกอบอาชีพเกษตร ร้อยละ 75.21 ขอกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อประเภทวัสดุ ร้อยละ 61.98 ได้รับข้อมูลทางวิทยุ ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อประเภทสื่อบุคคล ร้อยละ 90.08 ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล การยอมรับของเกษตรกรในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวม เกษตรกรมีการยอมรับในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายขั้นตอน พบว่า เกษตรกรมีการยอมรับในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากทุกขั้นตอน คือ ขั้นยอมรับและนำไปปฏิบัติ ขั้นทดลองใช้ และขั้นไตร่ตรอง ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.23 มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำไม่เพียงพอตลอดปี รองลงมา ร้อยละ 20.66 การขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำการเกษตร สำหรับความต้องการของเกษตรกร ส่วนใหญ่ร้อยละ 37.19 มีความต้องการอบรมความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่เพิ่มเติม รองลงมาร้อยละ 29.75 มีความต้องการศึกษาดูงานและเยี่ยมชมเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับของเกษตรกรในการทำการเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
ทัศนคติและการยอมรับของเกษตรกรในท้องถิ่นต่อเทคโนโลยีการผลิตพืช การทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาน้ำฝน สายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การศึกษาการยอมรับของเกษตรกรในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปการจัดการดิน น้ำ และพืชเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย ในพื้นที่นาข้าวจังหวัดลำปาง รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การศึกษาสภาวการณ์การทำสวนยางของเกษตรกรในท้องถิ่นรอบศูนย์วิจัยยาง การส่งเสริมการเรียนรู้การทำเกษตรยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของเยาวชนและเกษตรกร ตำบลเกาะโพธิ์ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก การวิจัยและพัฒนาระบบการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำผสมผสานแบบบูรณาการบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นอาชีพทางเลือกของเกษตรกรรายย่อย : ปีที่ 2 การยอมรับของเกษตรกรต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ด รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผลการศึกษาสภาพการทำและใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก