สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้
สุวิสา เข็มทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุวิสา เข็มทอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานทั่วไปของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ในด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา เศรษฐกิจและการเมือง 3) ศึกษาลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธฺพลต่อการปฏิบัติงาตของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ 4) รวบรวมข้อเสนอแนะสำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีส่งแบบสอบถามให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมดในอัตราร้อยละ 50 หรือ 379 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าร้อยละ แต้มคะแนนเฉลี่ย และค่า t ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภาคใต้ อายุระหว่าง 25-29 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)มีอายุราชการระหว่าง 4-6 ปี และมีรายได้อยู่ระหว่าง 3,000-4,999 บาท เกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ในด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา เศรษฐกิจ และการเมือง ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน และจากการทดสอบสมมติฐานเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ทั้งกลุ่มผู้ที่มีอายุราชการน้อยและกลุ่มผู้ที่มีอายุราชการมาก ต่อปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวว่ามีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานแตกต่างกันหรือไม่ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในทุก ๆ ปัจจัย ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะ 1) การบรรจุหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้ปฏิบัติราชการในภาคใต้กรมส่งเสริมการเกษตรควรจะได้พิจารณาบุคคลที่มีภูมิลำเนาในภาคใต้ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ได้อย่างดี 2) กรมส่งเสริมการเกษตรควรจะได้พิจารณาในเรื่องการสร้างเสริมกำลังขวัญแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าทื่สืบไป 3) การพิจารณาสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรภายในภาคเดียวกัน ตลอดจนการจัดการฝึกอบรมแบบต่อเนื่อง หรือดูงานด้านวิชาการให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มากขึ้นจะเป็นวิธีการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ที่ดีให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมอีกวิธีหนึ่งที่ควรพิจารณา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในจังหวัดภาคใต้ ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดจันทบุรี การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของประมงอาสาในจังหวัดเชียงราย ปัจจัยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก