สืบค้นงานวิจัย
คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำนมดิบในถังรวมจากฟาร์มโคนมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ศิริชัย เอียดมุสิก - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำนมดิบในถังรวมจากฟาร์มโคนมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Microbiology quality of raw milk in bulk tanks from dairy farms at Cha-am district, Phetchaburi province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริชัย เอียดมุสิก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sirichai Eardmusic
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ผกาทิพย์ ยอดมิ่งขวัญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Phakatip Yodmingkwan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์งานวิจัย เพื่อประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยาในน้ำนมถังรวมของฟาร์มโคนมในพื้นที่เขตอำเภอ ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยเก็บตัวอย่างน้ำนมถังรวม ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2556 จากกลุ่มฟาร์มที่สมาชิก ของสหกรณ์โคนม จำนวน 108 ตัวอย่าง (ฟาร์ม) และกลุ่มฟาร์มที่สมาชิกของศูนย์รับน้ำนมดิบเอกชน จำนวน 60 ตัวอย่าง (ฟาร์ม) นำตัวอย่างมาตรวจหาปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (Standard plate count; SPC) ปริมาณจุลินทรีย์โคไลฟอร์ม (Coliform count; CC) ปริมาณจุลินทรีย์ทนร้อน (Laboratory pasteurized count; LPC) และปริมาณเซลล์โซมาติกใน น้ำนมถังรวมของฟาร์ม (Bulk Tank Milk Somatic Cell Count ; BTSCC) รวมทั้งเปรียบเทียบคุณภาพน้ำนมถังรวมระหว่าง กลุ่มฟาร์มทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างน้ำนมถังรวมมีค่าเฉลี่ยของ BTSCC มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานการรับซื้อ น้ำนมโค ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 ส่วนความชุกของตัวอย่างที่มี SPC, CC และ BTSCC มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็น 10.71% (18/168) 11.83% (20/168) และ 47.62% (80/168) ตามลำดับ ผลการ เปรียบเทียบคุณภาพน้ำนมถังรวม ระหว่างกลุ่มฟาร์มทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ามีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต SPC, CC, LPC และ BTSCC ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จากผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ในพื้นที่ศึกษายังประสบปัญหาการ BTSCC มากกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน การขยายขอบเขตพิจารณาถึงปัจจัยการรีดนมที่ส่งผลต่อระดับ BTSCC ในพื้นที่ศึกษา จึงเป็นสิ่งจำเป็น
บทคัดย่อ (EN): The objective was to examine microbiological quality of the bulk tank milk from dairy farms at Cha-am district, Phetchaburi province. Samples of the bulk tank milk were taken from both 108 dairy cooperatives and 60 privately-owned milking dairy farms from June to September, 2013. The values of Standard plate count (SPC), Coliform count; (CC), Laboratory pasteurized count (LPC) and Bulk tank milk somatic cell count (BTSCC) of the samples from the cooperatives and the privately-owned farms were compared. The result showed that the mean of BTSCC was higher than the standard set by Dairy Farming Promotion Organization of Thailand, 2015. It was found that there were 10.71%, 11.83% and 47.62% of the dairy farms which had the values of SPC (18/168), CC (20/168) and BTSCC (80/168) respectively higher than the standard. The geometric mean values of SPC, CC, LPC and BTSCC of the bulk tank milk between the dairy cooperatives and privately-owned milking dairy farms were not statistically significant different (P>0.05). The result indicated that BTSCC was above the standard, requiring more attention in milking factors.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P020 Ani29.pdf&id=2294&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำนมดิบในถังรวมจากฟาร์มโคนมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
พันธุกรรมกับอาหารโคนม ผลของการใช้น้ำแข็งผสมกรดอินทรีย์ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมีและจุลชีววิทยาของปลาเห็ดโคน ผลของการเสริมโปรตีนไหมต่อการเคลื่อนที่และความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์อสุจิของน้ำเชื้อโคนมแบบแช่แข็ง ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจโคนมไทยในลุ่มน้ำโขง ความเป็นไปได้ของการใช้เนียร์อินฟราเรดสเปคโตรสโคปีในการทำนายปริมาณเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในน้ำนมดิบ ทิศทางและโอกาสในการจัดการอาหารโคนม ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมในประเทศไทย การลดการปนเปื้นของจุลินทรีย์ในน้ำนมดิบที่ฟาร์มเกษตรกร ผลของการเสริมสารสกัดจากเปลือกทับทิมในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อต่อคุณภาพของอสุจิโคแช่แข็ง อิทธิพลของพ่อพันธุ์และความเข้มข้นของน้ำเชื้อแยกเพศต่อการพัฒนาของตัวอ่อนภายนอกร่างกายในโคนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก