สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเทคนิคการเพิ่มอัตราการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata
ชลี ไพบูลย์กิจกุล - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเทคนิคการเพิ่มอัตราการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata
ชื่อเรื่อง (EN): Study of increasing settlement rate techniques in babylon snail Babylonia areolata
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชลี ไพบูลย์กิจกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดอาหาร วัสดุรองพื้น และปริมาณสารอินทรีย์ต่อการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata Link, 1807 ผลของการศึกษาชนิดอาหารต่อการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวานพบว่า ตัวอ่อนหอยหวานที่ได้รับกุ้งเป็นอาหารจะมีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาจนถึงระยะเกาะลงพื้นสูงสุดและแตกต่างกับชุดทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในขณะที่ตัวอ่อนหอยหวานได้รับหอยแมลงภู่เป็นอาหารมีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาจนถึงระยะเกาะลงพื้นรองลงมาแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) กับตัวอ่อนหอยหวานที่ได้รับปลาข้างเหลืองและปลาหมึกเป็นอาหาร ผลการศึกษาวัสดุรองพื้นต่อการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวาน พบว่าชุดทดลองที่รองพื้นด้วยทรายหยาบจะทำให้อัตราการลงเกาะของลูกหอยหวานสูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับชุดทดลองที่รองพื้นด้วยเชือกพลาสติก ทรายละเอียดและเปลือกหอยนางรมชิ้นเล็ก ผลการศึกษาปริมาณสารอินทรีย์ต่อการลงเกาะของหอยหวานพบว่าปริมาณอินทรีย์วัตถุในวัตถุรองพื้นมีผลต่อการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวานแตกต่างกัน ปริมาณสารอินทรีย์ 20-25 เปอร์เซ็นต์ในวัสถุรองพื้นช่วยให้ตัวอ่อนมีพัฒนาการลงเกาะพื้นได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามปริมาณอินทรีย์วัตถุในวัตถุรองพื้นมากจะมีผลยับยั้งการลงเกาะของตัวอ่อนหอยหวานด้วย ผลการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอนุบาลลูกหอยหวานเชิงพาณิชย์ได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
เอกสารแนบ: http://dbsrv.lib.buu.ac.th/buuir/research/node/878
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเทคนิคการเพิ่มอัตราการลงเกาะของหอยหวาน Babylonia areolata
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2552
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาอาหารหอยหวาน การศึกษาอัตราการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่ม ผลผลิตในการเพาะเลี้ยงหอยหวานวัยรุ่นในเชิงพาณิชย์ (Babylonia areolata Link, 1807) การเพิ่มประสิทธิภาพของการสืบพันธุ์ในหอยหวาน (Babylonia areolata Link 1807) โดยการกระตุ้นด้วยอุณหภูมิ ความเค็ม และฮอร์โมน การใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ในสุกรพันธุ์เปียแตรง การศึกษาภูมิคุ้มกัน และการประยุกต์ใช้บีต้ากลูแคนในหอยหวาน Babylonia areolata Link 1807 การตรวจหา Suilysin และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรป่วย สุกรปกติที่เป็นพาหะของโรคและคนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค PCR เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตการเพาะเลี้ยงหอยหวานเชิงพาณิชย์ การพัฒนาปุ๋ยจากน้ำนมดิบเพื่อเพิ่มคุณภาพของหญ้าอาหารสัตว์ในการเลี้ยงโคนม การใช้นิวคลีโอไทด์ในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของปลานิล พัฒนาการ การเจริญเติบโต และ อัตราการรอดตายของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) ที่อนุบาลด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก