สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งต่อคุณภาพของขิงแห้ง
เสาวณีย์ เลิศวรสิริกุล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งต่อคุณภาพของขิงแห้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Drying Process Conditions on Quality of Dried Ginger
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสาวณีย์ เลิศวรสิริกุล
บทคัดย่อ: ขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber officinale Roscoe. เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน มีรสเผ็ดตามความแก่อ่อนของอายุขิง มีกลิ่นรสเฉพาะตัว สารที่ให้ความเผ็ดในขิง ได้แก่ shogaol และ gingerol นอกจากนี้ในขิงยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วยสารต่างๆ มากกว่า 24 ชนิด ทั้งที่เป็น monoterpenes และ susquiterpenes เราสามารถพบ gingerol ในเหง้าสดมากกว่าในเหง้าขิงแห้ง เนื่องจาก gingerol สามารถเกิดปฏิกิริยา Dehydration เปลี่ยนเป็นสารชนิด shogaol (Balladin et al., 1997)ในปัจจุบันขิงเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการนำมาปรุงอาหารทำให้อาหารมีกลิ่นหอม ช่วยลดกลิ่นคาว และนำมาใช้เป็นยารักษาโรค เนื่องจากขิงมีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ช่วยในการขับลม ลดอาการจุกเสียด ยับยั้งอาการอาเจียน และอาการแพ้ท้องในสตรีมีครรภ์ได้ นอกจากนี้ขิงยังมีสรรพคุณในการขับน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบ รักษาอาการไอได้ (http://www.medplant.mahidol.ac.th/ pubhealth/index.html) สาระสำคัญในขิงซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์ทางยา คือ สารประกอบฟีนอลิกคีโตน ชื่อ HMP เป็นตัวออกฤทธิ์ทางยา สารประกอบฟีนอลิกมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การทำให้อาหารแห้งนับเป็นวิธีการถนอมอาหารแบบหนึ่งซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและเป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากธรรมชาติ การอบแห้งอาหารทำให้คุณภาพของอาหารเปลี่ยนแปลงไป เช่น กลิ่น สี และรสชาติ เป็นต้น นอกจากนี้สารอาหารที่มีอยู่ในอาหารอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในขิงมีสารประกอบฟีนอลิก เช่น สาร gingerol มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระอยู่อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้กินหรือใช้ทา ซึ่งเป็นสารเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปเมื่อผ่านกระบวนการผลิตต่างๆ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้ จึงเป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาในระหว่างกระบวนการอบแห้งต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในขิงอบแห้ง รวมถึงคุณภาพของขิงแห้งด้านสี และปริมาณความชื้น และหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิต ด้วยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ งานวิจัยนี้จะทำให้ทราบผลของสภาวะการผลิตต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ขิงแห้งที่มีคุณภาพดี และคงคุณค่าของสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายObjective1. เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาในการอบแห้งต่อคุณภาพของขิงอบแห้ง2. เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการทำนายคุณภาพของขิงแห้งภายใต้สภาวะการอบแห้งต่างๆ3. เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตขิงอบแห้งStatusโครงการวิจัยเสร็จสิ้นExpected Benefit
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งต่อคุณภาพของขิงแห้ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ผลของความแก่อ่อนและสภาวะการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ ที่มีต่อคุณภาพของส้มแขกแห้ง ผลของสภาวะในการทำแห้งต่อการใช้พลังงานและคุณภาพของมะม่วงอบแห้ง การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งเห็ดโคน ตะกั่วในขิงแห้ง การศึกษาการอบแห้งเมล็ดพริกไทยด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์ การศึกษาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมในการผลิตแพะแผ่นปรุงรส การศึกษาหาแนวทางการอบแห้งที่เหมาะสมสำหรับผลิตขิงผง การอบแห้งแบบร่วมเพื่อผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปแทนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง การประหยัดพลังงานในการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่าน : รายงานการวิจัย เทคโนโลยีการอบแห้งด้วยไอน้ำยิ่งยวด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก