สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันยีสต์โดยใช้ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
รัตนภรณ์ ลีสิงห์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันยีสต์โดยใช้ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ชื่อเรื่อง (EN): Bacterial lipase catalyzed preparation of biodiesel from locally isolated yeast oil
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รัตนภรณ์ ลีสิงห์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตน้ำมันจากยีสต์ไขมันสูงไอโซเลท Y30 ที่คัดเลือกจากตัวอย่างดินในพื้นที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การศึกษาในขั้นต้นเป็นการจัดจำแนกยีสต์ Y30 โดยอาศัยอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ 26S rDNA โดยยีสต์ Y30 จัดเป็น Torulaspora maleeae ดังนั้นยีสต์ไอโซเลท Y30 คือ Torulaspora maleeae Y30 เมื่อเพาะเลี้ยงยีสต์ T. maleeae Y30 ด้วยการหมักแบบกะป้อนในอาหาร lipid accumulation medium ที่มีไนโตรเจนเริ่มต้นต่ำ พบว่าการหมักที่มีการเติมทั้งกลูโคสและ yeast extract ได้เซลล์ 8.2 g/L ปริมาณลิปิด 41.5% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง ส่วนการเพาะเลี้ยงที่เติมเฉพาะกลูโคสได้เซลล์ 7.8 g/L ปริมาณลิปิด 47.4% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง การเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีไนโตรเจนเริ่มต้นสูง พบว่าการเติมกลูโคสครั้งละ 20mL ได้เซลล์ 24.9g/L ปริมาณลิปิด 19.78% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง ในขณะที่การเติมกลูโคสครั้งละ 50mL ได้เซลล์ 55.4g/L และปริมาณลิปิด 23.02% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง การศึกษาผลของการใช้กากน้ำตาลเป็นแหล่งคาร์บอนพบว่าได้เซลล์ 42.8/L และปริมาณลิปิด 14.26% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง ในวันที่ 10 ของการเพาะเลี้ยง เมื่อวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันในรูปของ Fatty acid methyl esters (FAMEs) ของน้ำมันที่สกัดได้จากยีสต์ Torulaspora maleeae Y30 โดยใช้เครื่องแก๊สโครมาโตกราฟฟีพบว่าประกอบด้วยกรดไขมันหลัก 3 ชนิดคือ กรดโอเลอิก (oleic acid; C18:1) กรดปาล์มิติก (palmitic acid; C16:0) และกรดสเตียริก (stearic acid; C18:0) การศึกษาการผลิตไลเปสจากแบคทีเรีย LB19 พบว่าเมื่อเพาะเลี้ยงแบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีกรดไขมันบริสุทธิ์โอเลอิคให้กิจกรรมของไลเปสสูงสุดที่ 580 munit ส่วนเมื่อมีน้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลืองเป็นตัวกระตุ้นตรวจพบกิจกรรมไลเปสเท่ากับ 413, 382, 421, 391 mUnit ตามลำดับ อย่างไรก็ดีเมื่อศึกษาสมบัติของเอนไซม์ไลเปสที่ผลิตได้พบว่ามีความเสถียรต่ำทำให้ไม่สามารถใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันยีสต์ได้
บทคัดย่อ (EN): The aim of this research was to produce microbial lipid from oleaginous yeast isolated from soil samples collected from Chulabhorn Dams’ area, Chaiyapum province, Plant Genetic Conservation Project as The Royal Initiation of Her Royal highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. In order to identify the isolated yeast, sequence analysis of the variable D1/D2 domain of the large subunit (26S) ribosomal DNA was performed. BLAST analysis of the 26S rRNA gene sequence of the yeast isolate Y30 was revealed to be a perfect match with that of Torulaspora maleeae type strain. Microbial lipid production by Torulaspora maleeae Y30 was studied using glucose as carbon source, in order to realize high-density cell culture. Fed-batch fermentations were run for 10 days at low concentration of initial nitrogen with feeding of both glucose and yeast extract and reached a biomass and cellular lipid content of 8.2 g/L and 41.5% (w/w), respectively, while a biomass and cellular lipid content of 7.8g/L and 27.5% (w/w) were obtained in fed-batch culture with glucose feeding. At high concentration of initial nitrogen, a biomass of 24.9g/L with 19.78% (w/w) of cellular lipid content was obtained using 20mL-glucose feeding mode, while 55.4 g/L with 23.02% (w/w) of cellular lipid content were found using 50mL-glucose feeding mode. A biomass of 42.8g/L with 14.26% (w/w) of cellular lipid content was obtained using molasses as carbon source. The fed-batch fermentations were used here featured initial nitrogen-rich medium and a pure carbon source with discontinuous feeding. Gas chromatography analysis revealed that lipids from T. maleeae Y30 contained mainly long-chain fatty acids with16 and 18 carbon atoms. The three major constituent fatty acids of the isolated yeast T. maleeae Y30 were palmitic acid (C16:0), stearic acid (C18:0), and oleic acid (C18:1). The production of lipase from lipase-producing bacteria LB19 was performed in batch fermentation using different sources of inducer. Lipase activities of 580, 413, 382, 421, 391 munit were obtained using oleic acid, palm oil, sunflower oil, soybean oil and corn oil as an inducer, respectively. The produced-lipase could not be used for lipase-catalyzed biodiesel production due to their stability and low activities.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันยีสต์โดยใช้ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2553
การคัดเลือกยีสต์ที่ผลิตเอนไซม์ไลเปส และการประยุกต์ใช้ยีสต์ในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม การผลิตเอนไซม์ไลเปสจากยีสต์เพื่ออุตสาหกรรม การใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายขนาดเล็ก การผลิตน้ำมันจากยีสต์ไขมันสูงโดยใช้กลีเซอรอลดิบจากโรงงานผลิตไบโอดีเซลและศักยภาพในการผลิตเป็นไบโอดีเซล การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มที่ใช้แล้วโดยเอนไซม์ไลเปสตรึงรูปที่มีความจำเพาะต่างกัน การศึกษาชนิดของตัวพยุง และสภาวะที่เหมาะสมต่อการตรึงตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล การผลิตน้ำมันจุลินทรีย์ด้วยการเพาะเลี้ยงเชื้อผสมของสาหร่ายขนาดเล็กและยีสต์ไขมันสูงเพื่อผลิตไบโอดีเซลด้วยวิธีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นแบบตรง การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การทดสอบประสิทธิภาพเฉพาะของสารเร่งปฏิกิริยาเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารกบนา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก