สืบค้นงานวิจัย
รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้เป็นพืชแซมยาง
สมพงศ์ คงสีพันธ์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้เป็นพืชแซมยาง
ชื่อเรื่อง (EN): Collection of Medicine and Spices Plant as Intercrop in Rubber Plantation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพงศ์ คงสีพันธ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พืชสมุนไพรและเครื่องเทศมีความสำคัญเป็นยาแผนโบราณและเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด สามารถเจริญเติบโตภายใต้ร่มเงาต้นยางพารา จึงได้เก็บรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและเครื่องเทศเหล่านี้ คือ กระวาน เร่ว กานพลู และขมิ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของสมุนไพรและเครื่องเทศ จะได้เป็นแนวทางในการขยายพันธุ์ให้แก่เจ้าของสวนยางในท้องถิ่นที่มีความเหมาะสมต่อไป ทำการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและเครื่องเทศไว้ที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา จังหวัดสงขลา ในพื้นที่ 1 ไร่เศษ ไม่ใช้แผนการทดลอง หลังจากปลูกยางเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534 และปลูกกานพลู เดือนกันยายน 2535 แล้ว ได้ปลูกกระวาน เร่ว และขมิ้น เมื่อเดือนพฤษภาคม 2536 ปรากฏว่าพืชสมุนไพรและเครื่องเทศทั้ง 4 ชนิด คือ กระวาน เร่ว กานพลู และขมิ้น มีการเจริญเติบโต ดังนี้ คือ กระวาน มีความสูงเฉลี่ย 120 เซนติเมตร แตกกอ 7 ต้นต่อกอ เร่วมีความสูงเฉลี่ย 150 เซนติเมตร แตกกอ 15 ต้นต่อกอ กานพลูปลูกครั้งแรกมีความสูงเฉลี่ย 190 เซนติเมตร ต้นที่ปลูกซ่อมมีความสูงเฉลี่ย 110 เซนติเมตร ขมิ้นมีความสูงเฉลี่ย 33 เซนติเมตร แตกกอ 6 ต้นต่อกอ ซึ่งจะดูแลรักษาแปลงรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและเครื่องเทศนี้ไว้ใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานงานวิจัยพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ เพื่อใช้ปลูกเป็นพืชแซมยางต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้เป็นพืชแซมยาง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในการควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ในปลาที่มีศักยภาพในการเลี้ยง รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลขิงเพื่อใช้ปลูกเป็นพืชแซมยาง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทดสอบการปลูกพืชตามฤดูกาลเป็นพืชแซมยาง โครงการสำรวจและศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตยาสมุนไพรไทย ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris การศึกษาการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก