สืบค้นงานวิจัย
การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์
ผศ.ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Validation of Longan Sugar Production Technology and Properties on the Quality Health and Commercial Potential Aspects
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:               สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทวนสอบเทคโนโลยีการผลิต คุณสมบัติเชิงคุณภาพสุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์ของน้ำตาลลำไย การวิจัยนี้ได้สร้างสายการผลิตต้นแบบ ได้แก่ ชุดระเหยสุญญากาศ และเครื่องหมุนเหวี่ยงแยกผลึกน้ำตาลลำไย โดยใช้ลำไยสดร่วงแบบคละเกรด และตกเกรดเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพื่อลดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำของลำไยสดร่วงได้อีกทางหนึ่ง จากการทดลองสามารถผลิตผลึกน้ำตาลลำไยสำเร็จรูปเชิงพาณิชย์ ที่ลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ตกผลึกได้ทั้งอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิต่ำ ขณะเดียวกันได้ศึกษาคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ ความเป็นพิษ การทดสอบทางประสาทสัมผัสและศักยภาพเชิงพาณิชย์ของน้ำตาลลำไย พบว่า ลำไยมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงสุด และน้ำตาลกลูโคสมีปริมาณเท่ากันในผลิตภัณฑ์ ส่วนสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มฟีนอลิกทั้งชนิดกรดแกลลิค และกรดเอลลาจิคที่ผลิตจากลำไยทั้งผลจะมีปริมาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเนื้ออย่างเดียว ขั้นตอนการทำใสมีผลต่อการคงอยู่ของปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดกรดเอลลาจิค แต่ไม่มีผลต่อกรดแกลลิค การศึกษาการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำตาลลำไยทั้งในแบบรูปผลึก ซึ่งการเก็บรักษาของผลึกน้ำตาลลำไยภายใต้บรรจุภัณฑ์ และผลการทดสอบด้านประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 100 คน พบว่าลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสลำไย รสหวานของผลึกน้ำตาลลำไยจากลำไยทั้งเมล็ด  ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการคือ การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรไทยให้มีทางเลือกในการผลิต และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่ม การใช้ประโยชน์จากลำไยมากขึ้น และนำไปใช้กับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆได้อีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-11-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-11-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ลิขสิทธิ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ คู่มือเครื่องทำระเหยระบบสูญญากาศ
เลขที่คำขอ 350206
วันที่ยื่นคำขอ 2017-01-13 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2017-01-18 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน ว.39940
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 พฤศจิกายน 2554
การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์ โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตไผ่เชิงพาณิชย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเหมาะสมสำหรับการผลิตลำไยในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาคุณภาพเชียงดา เพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพต้านอนุมูลอิสระเชิงพาณิชย์ 2555A17001009 การพัฒนาคุณภาพเชียงดา เพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพต้านอนุมูลอิสระเชิงพาณิชย์ คุณสมบัติของคัพภะ, รำ และแป้งลูกเดือยเพื่ออาหารสุขภาพ การผลิตอาหารฮาลาลเพื่อสุขภาพจากเนื้อแพะเพื่อเชิงพาณิชย์ การพัฒนากระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้ข้าวเม่าเพื่อประโยชน์เชิงสุขภาพ การพัฒนากระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้ข้างเม่าเพื่อประโยชน์เชิงสุขภาพ ช็อกโกแลตทางเลือกเพื่อสุขภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก