สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุลเพฟิโอเพดิลัม สกุลย่อยบราคิเพทาลัม โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของตำแหน่งจำเพาะ
นฤมล ธนานันต์, ธีระชัย ธนานันต์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุลเพฟิโอเพดิลัม สกุลย่อยบราคิเพทาลัม โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของตำแหน่งจำเพาะ
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic relationship analysis among subgenus Brachypetalum of Paphiopedilum using nucleotide sequences of specific sites
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady s slipper) เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ปัจจุบันตลาดมีความต้องการกล้วยไม้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น การวางแผนการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ให้มีความหลากหลายจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม อีกทั้งการจำแนกพันธุ์และการประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีด้วยลักษณะสัณฐานทำได้ยาก จึงจำแนกพันธุ์และประเมินความสัมพันธ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum สกุลย่อย Brachypetalum หมู่ Brachypetalum 22 พันธุ์ ด้วยลำดับนิวคลี- โอไทด์ตำแหน่งจำเพาะของยีน matK, rpoC1, rbcL และชิ้นดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างยีน trnH กับ psbA นำลำดับนิวคลีโอไทด์จากยีนดังกล่าวมาสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยวิธีการจัดกลุ่มแบบ maximum likelihood ด้วยโปรแกรม MEGA 7.0 พบว่าลำดับนิวคลีโอไทด์ของชิ้นดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างยีน trnH กับ psbA มีประสิทธิภาพในการจำแนกรองเท้านารีได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับบริเวณ อื่น ๆ แต่แผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมสามารถจำแนกได้เพียง 14 พันธุ์ เท่านั้น การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ร่วมกัน 2 ยีน และการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ร่วมกัน 3 ยีน แผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ได้มีประสิทธิภาพในการจำแนกกล้วยไม้รองเท้านารีกลุ่มใบลายไม่แตกต่างกัน แผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ 4 ยีน สามารถจำแนกกล้วยไม้รองเท้านารีได้มากที่สุด 18 พันธุ์ จาก 22 พันธุ์ สรุปได้ว่าแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ 4 ยีน ร่วมกัน มีประสิทธิภาพในการจำแนกกล้วยไม้รองเท้านารีกลุ่มใบลายมากกว่าการใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์เพียง 1, 2 และ 3 ยีน แต่เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของชิ้นดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างยีน trnH กับ psbA มีประสิทธิภาพในการจำแนกรองเท้านารีได้ดีที่สุด ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการอนุรักษ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Lady’s slipper orchids are one of the most important orchid to economy in Thailand. Currently, orchid markets have expanded a demand for varieties of orchids. With similar morphology but high diversity of flowers, morphological identification of orchids becomes more difficult. Thus plans for orchid breeding program is necessary to exploit genetic relationship. The nucleotide sequences of specific genes were used to assess genetic relationship and classify 22 species of mottled-leaf Paphiopedilum. The maximum likelihood in program MEGA 7.0 was selected to construct phylogenetic tree based on the nucleotide sequences of gene matK, rbcL, rpoC1 and intergenic trnH-psbA spacer. The results showed that the nucleotide sequences of intergenic trnH-psbA spacer can distinguish all of mottled-leaf Paphiopedilum but the phylogenetic tree can classify only 14 of those. Then combination of loci found that two-loci and three-loci analyses showed the same results. A combination with 4 locations increased variability and efficiency of phylogenetic tree to separate 18 species from those of 22 species. In conclusion, the phylogenetic tree of multi-loci has the efficiency to discriminate mottled-leaf Paphiopedilum higher than that of a single-locus. Considering the nucleotide sequences, it was found that the intergenic trnH-psbA spacer can distinguish all of mottled-leaf Paphiopedilum. Finally, this results have been suggested to lead for orchids conservation plan and breeding program in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุลเพฟิโอเพดิลัม สกุลย่อยบราคิเพทาลัม โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของตำแหน่งจำเพาะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
30 กันยายน 2559
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลช้างด้วย เครื่องหมายดีเอ็นเอ การรวบรวมและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลมะเขือบางชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสุกรพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วนยีน cytochrome b การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลฟาแลนอปซิสด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การจัดทำฐานข้อมูลความแปรปรวนของลำดับนิวคลีโอไทด์ระดับจีโนมเพื่อค้นหาตำแหน่งสนิปส์ที่สัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนหลักและสารออกฤทธิ์ในเมล็ดข้าวไทย การจัดทำฐานข้อมูลความแปรปรวนของลำดับนิวคลีโอไทด์ระดับจีโนมเพื่อค้นหาตำแหน่งสนิปส์ที่สัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนหลักและสารออกฤทธิ์ในเมล็ดข้าวไทย การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลคราม (Indigofera L.) ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล การแสดงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหม่อนสายพันธุ์ต่างๆ ในสกุล Morus โดยเทคนิค AFLP

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก