สืบค้นงานวิจัย
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษในการเฝ้าระวังภาคสนาม
นางประภัสสร สุวรรณบงกช - กรมควบคุมโรค
ชื่อเรื่อง: การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษในการเฝ้าระวังภาคสนาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางประภัสสร สุวรรณบงกช
คำสำคัญ: พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเกษตรกร ด้วยกระดาษทดสอบพิเศษ Reactive paper ในภาคสนาม และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อระดับ ความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนจากการสุ่มตัวอย่าง 4 ตำบล จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 628 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มากกว่า 30 ปี พืชที่ทำการเพาะปลูกมีหลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ผักสวนครัว และมันสำปะหลัง เป็นต้น โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในรอบ 1 ปี เป็นระยะเวลา 0-5 วัน และใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยตรง ผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ด้วยกระดาษทดสอบพิเศษ พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อยู่ในระดับเสี่ยงมาก ที่สุด ร้อยละ 42.8 อยู่ในระดับปกติน้อยที่สุด ร้อยละ 5.3 เพศชาย มีระดับความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชอยู่ในระดับเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 0.95 เท่า และระดับความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ใน ระดับไม่ปลอดภัยสูงกว่าเพศหญิง 1.64 เท่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชในเกษตรกร พบว่า ปัจจัยในเรื่องเพศ อายุ ระยะเวลาการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และลักษณะการ ทำงานของเกษตรกร ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยง แต่ปัจจัยในด้านระดับการศึกษาและระยะเวลาการ ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 สอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ ในประเทศไทยและข้อมูลการเฝ้าระวังความเสี่ยงของประเทศ ไทย ที่ระบุว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ มีระดับของสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จึงเสนอว่า กรมควบคุมโรคควรกำหนดมาตรฐานการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในเกษตรกรและ ประชาชนทั่วไป ในรูปแบบของการเฝ้าระวังทั้งประเทศ นำผลการเฝ้าระวังที่ได้ไปสู่การพยากรณ์และการเตือน ภัย ตลอดจนการสื่อสารความเสี่ยงให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งใน ประชาชนผู้บริโภคและเกษตรกร และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการคัดกรองความเสี่ยงพิษจากสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช ให้สามารถตรวจวัดได้ง่าย ราคาถูก โดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มกำจัดวัชพืชและยาฆ่าหญ้า เนื่องจากมี การใช้มากขึ้นและมีความเป็นพิษสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ควรมีข้อมูลการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพืชผัก ผลไม้ เผยแพร่ให้ ประชาชนรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ทราบสถานะของปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมในการ กำหนดนโยบาย แสวงหาทางออกเพื่อสร้างความปลอดภัยทางอาหาร รัฐบาลควรพิจารณาใช้กระบวนการด้าน กฎหมาย ให้มีผลบังคับใช้ในการห้ามนำเข้าสารเคมีที่ไม่ปลอดภัย ให้ผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย แสดงข้อความในฉลาก ที่ติดสารเคมีให้ชัดเจน อ่านง่ายและต้องมีรูปภาพหรือสัญลักษณ์ประกอบสำหรับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ได้ และ หน่วยงานด้านสาธารณสุขทุกระดับ ควรมีแผนการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของพื้นที่ วิเคราะห์ สถานการณ์ ความเสี่ยงและความรุนแรงของปัญหาการเกิดพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/research/download/textfull/957
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษในการเฝ้าระวังภาคสนาม
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
2558
เอกสารแนบ 1
สารชีวภัณฑ์ผลงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต วิธีดูแลตนเองจากเพลิงไหม้สารเคมี ระวัง แต่มิใช่ระแวง … การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช ปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องและปลอดอภัยในจังหวัดนครนายก ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การพัฒนาระบบปลูกข้าวแบบสลับเพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและต้นทุนการผลิต การบริหารศัตรูพืชเพื่อสนับสนุนโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ผลการดำเนินงานโครงการ “การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย”

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก