สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง
เพชรดา อยู่สุข - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): The Research Project to Increase Production Efficiency, Postharvest Management and Organic Vegetable Maketing of The Royal Project Foundation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพชรดา อยู่สุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง เป็นการดำเนินงานที่มุ่งเน้นทดสอบปัจจัยการผลิตในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์โครงการหลวง และการศึกษาระบบตลาดเพื่อหาแนวทางเสริมสร้างศักยภาพด้านการตลาดของผักอินทรีย์โครงการหลวง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย 1. การทดสอบปัจจัยการผลิตในการปลูกมะเขือเทศโครงการหลวง ผักกาดกวางตุ้ง และเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ ผลการดำเนินงาน (1) มะเขือเทศโครงการหลวง การใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียว (ชีวภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนา) โดยใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกพืช และราดเชื้อบริเวณโคนต้นหลังปลูก 3 ครั้ง สามารถลดอาการเหี่ยวเขียวได้ดี และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน สลับกับเชื้อแบคทีเรีย BK33 สามารถควบคุมโรคใบไหม้ได้ 95 เปอร์เซ็นต์ (2) การเพิ่มผลผลิตผักกาดกวางตุ้งโดยใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักชีวภาพ (ฮอร์โมนไข่) เปรียบเทียบกับวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร พบว่า น้ำหมักชีวภาพทำให้ผักกาดกวางตุ้งมีปริมาณผลผลิตมากที่สุด โดยมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 17.92 เปอร์เซ็นต์ (3) การควบคุมด้วงหมัดผักในเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ โดยใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดสะเดาบด เชื้อราเมทาไรเซียม ไส้เดือนฝอย สารป้องกันกำจัดแมลง PP6 และสารสกัดสะเดา ทุกกรรมวิธีใช้ร่วมกับกับดักกาวเหนียว พบว่าทุกกรรมวิธีมีปริมาณผลผลิต ค่าเฉลี่ยจำนวนแมลงศัตรูพืช พื้นที่ใบที่ถูกทำลายไม่แตกต่างกัน 2. การทดสอบวิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมใน ผักกาดกวางตุ้ง และเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ ด้วยวิธีการล้างและเช็ดผลิตผลด้วยน้ำผสมคลอรีนความเข้มข้น 100 และ 200 ppm เปรียบเทียบกับวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร (การล้างน้ำเปล่า) พบว่าการเช็ดด้วยน้ำผสมคลอรีนความเข้มข้น 100 ppm สามารถเก็บรักษาผักกาดกวางตุ้งได้นานที่สุด เป็นเวลา 5 วัน และการเช็ดด้วยน้ำผสมคลอรีนความเข้มข้น 200 ppm สามารถเก็บรักษาเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ได้นานที่สุดเป็นเวลา 3 วัน 3. การยืดอายุการเก็บรักษาผักกาดกวางตุ้งและเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ ด้วยระบบ Vacuum cooling พบว่า การลดอุณหภูมิโดยระบบสุญญากาศก่อนเก็บรักษาผลผลิตที่อุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักกาดกวางตุ้งได้นานที่สุด 9 วัน และเบบี้ฮ่องเต้อินทรีย์ 12 วัน 4. การศึกษารูปแบบการจัดการด้านตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง พบว่า รูปแบบการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวงมี 2 รูปแบบ คือ แบบมีพันธะสัญญา (Contract farming) และการจำหน่ายโดยฝ่ายตลาดของมูลนิธิโครงการหลวง สำหรับช่องทางการจำหน่าย ซึ่งพิจารณาตามมูลค่าการจำหน่าย พบว่า ช่องทางการตลาดแบบมีพันธะสัญญามีสัดส่วนร้อยละ 27.95 และจำหน่ายโดยฝ่ายตลาด ร้อยละ 72.05 ซึ่งกลุ่มลูกค้าของฝ่ายตลาดแบ่งเป็น 6 กลุ่มลูกค้า คือ (1) กลุ่ม Modern trade ร้อยละ 16.01 (2) กลุ่มลูกค้ารายย่อยร้อยละ 22.26 (3) กลุ่มร้านค้า RPF ร้อยละ 27.35 (4) กลุ่มตลาดส่งออก ร้อยละ 1.04 (5) กลุ่มหน่วยขายเคลื่อนที่ ร้อยละ 4.65 และ (6) กลุ่มอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม โรงงานแปรรูป ตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ ร้อยละ 0.75 ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษาต้นทุนการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรและราคาที่เกษตรกรได้รับจากการจำหน่ายผลิตผล พบว่าปวยเหล็ง และผักกาดกวางตุ้ง มีต้นทุนการปลูกสูงกว่าราคาที่เกษตรกรได้รับ และจากการวิเคราะห์ปัญหาการผลิตและการตลาดร่วมกับกลุ่มเกษตรกร พบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ราคารับซื้อผลิตผลในบางฤดูกาลต่ำ ปัญหามาตรฐานการรับซื้อ การสุ่มตรวจรับ และการกำหนดคุณภาพที่ยอมรับได้ (ตำหนิจากการเกิดโรค/แมลงทำลาย) และปัญหาผลผลิตไม่ได้คุณภาพในบางฤดูกาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลโครงการหลวง โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การปรับปรุงพันธุ์ผักเพื่อระบบเกษตรอินทรีย์ ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการทดสอบปัจจัยการผลิตชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตการปลูกผักอินทรีย์ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสินค้าสำคัญของโครงการหลวง การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การศึกษาและวิเคราะห์การผลิตและการตลาดขององุ่นโครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเสาวรสหวาน โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก