สืบค้นงานวิจัย
การเปลี่ยนแปลงของดินจากการจัดการดินต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
แฉล้ม พริ้มจรัส, จินดาภรณ์ เพ็ชรศิริ, สุรเชษฐ เรืองศรี, แฉล้ม พริ้มจรัส, จินดาภรณ์ เพ็ชรศิริ, สุรเชษฐ เรืองศรี - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงของดินจากการจัดการดินต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
ชื่อเรื่อง (EN): The changing on soil properties after soil management for Oil Palm yields in Pakpanung Watershed raised over the shrimp
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดินจากการจัดการดินต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ดำเนินการในพื้นที่ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง และตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยคัดเลือกพื้นที่ของเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตแล้วในพื้นที่ที่เคยผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นพื้นที่ศึกษา โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design ประกอบด้วย 3 วิธีการ ในแต่ละพื้นที่ซึ่งกำหนดเกษตกรเป็นวิธีการ และวิธีการตามคำแนะนำ(ตามค่าวิเคราะห์ดิน) ควบคู่กับวิธีการของเกษตรกรแต่ละวิธีการ เพื่อศึกษาสมบัติของดินและศักยภาพของดิน ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2559 ผลการศึกษาพบว่าปฏิกิริยาดินของทั้ง 2 พื้นที่ดำเนินการอยู่ระดับกลาง ยกเว้นวิธีการที่ 3 ของพื้นที่อำเภอปากพนัง อยู่ระดับกรดจัด หลังสิ้นสุดการทดลองทั้งวิธีการตามคำแนะนำและวิธีการของเกษตรกรไม่แตกต่างกัน ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (ECe) วิธีการในพื้นที่อำเภอปากพนัง ก่อนดำเนินการวัดได้ 2.17-3.88 dS/m อยู่ระดับเค็มเล็กน้อย หลังสิ้นสุดการทดลองวัดได้ 1.80-2.69 dS/m ซึ่งลดลงเล็กน้อย ส่วนวิธีการในพื้นที่อำเภอเชียรใหญ่ ก่อนดำเนินการวัดได้ 5.23-5.47 dS/m อยู่ระดับปานกลาง ยกเว้นวิธีการที่ 3 วัดได้ 2.96 dS/m อยู่ระดับเค็มเล็กน้อย หลังสิ้นสุดการทดลอง วิธีการตามคำแนะนำ วัดได้ 4.02 – 5.53 dS/m อยู่ระดับเค็มปานกลาง ยกเว้นวิธีการที่ 3 วัดได้ 1.29 dS/m อยู่ระดับปกติ ส่วนวิธีการของเกษตรกร วัดได้ 3.02-5.57 dS/m อยู่ระดับเค็มเล็กน้อย – เค็มปานกลาง เปอร์เซ็นต์โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ (ESP) ก่อนดำเนินการในพื้นที่อำเภอปากพนัง มีค่าต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นวิธีการที่ 3 สูงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ หลังดำเนินการทุกวิธีการต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นทุกวิธีการใช้แนวทางการจัดการดินเค็มโดยการล้างดินและปรับปรุงดินเพื่อกำจัดเกลือส่วนเกินออกจากดินบริเวณรากพืช ส่วนเปอร์เซ็นต์โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ (ESP) ในพื้นที่อำเภอเชียรใหญ่ ก่อนดำเนินการ มีค่าสูงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ หลังดำเนินการ สูงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน ยกเว้นวิธีการที่ 3 ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นแนวทางการจัดการ วิธีการที่ 1 ควรใส่ยิปซัมเพื่อปรับสภาพความเค็มของดิน อัตรา 1.45 ตันต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 2 ใส่ยิปซัมอัตรา 2.05 ตันต่อไร่ ทั้ง 2 วิธีการต้องใช้น้ำจืดล้างดินเพื่อละลายเกลือออกจากพื้นที่ ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ตามวิธีการในพื้นที่อำเภอปากพนัง ผลผลิตปาล์มน้ำมันสูงสุดได้แก่วิธีการที่ 2 ตามคำแนะนำ เฉลี่ย 3.55 ตัน/ไร่/ปี วิธีการของเกษตรกร น้ำหนักเฉลี่ย 2.81 ตัน/ไร่/ปี เนื่องจากวิธีการตามคำแนะนำใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 4 ตัน/ไร่ เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ซึ่งจากเดิมปริมาณอินทรียวัตถุมีค่าต่ำ เพราะดินเค็มมีการสูญเสียอินทรียวัตถุมาก เพราะฮิวมัสในดินจับตัวกับโซเดียมเป็นโซเดียมฮิวเมท ละลายได้ดี ทำให้ถูกชะล้างได้ง่าย แต่ทั้ง 3 วิธีการมีปริมาณเปอร์เซ็นต์โซเดียมไม่เกิน 13 จึงไม่จำเป็นต้องใส่ยิปซัมเพื่อปรับสภาพความเค็มของดินและโครงสร้างดิน ใช้เพียงปุ๋ยอินทรีย์กับการให้น้ำก็เหมาะสมแล้ว ส่วนพื้นที่อำเภอเชียรใหญ่ผลผลิตปาล์มน้ำมันสูงสุดได้แก่วิธีการที่ 3 ตามคำแนะนำ เฉลี่ย 4.11 ตัน/ไร่/ปี ส่วนวิธีการของเกษตรกรเฉลี่ย 3.50 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งวิธีการนี้ค่าเปอร์เซ็นต์ของโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ (ESP) น้อยกว่า 13 ซึ่งเป็นดินปกติ ส่วนวิธีการที่ 1 และ 2 ผลผลิตตกต่ำ ฉะนั้นต้องใส่ยิปซัมเพื่อปรับสภาพความเค็มของดินให้เหมาะสมก่อนใส่ปุ๋ย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปลี่ยนแปลงของดินจากการจัดการดินต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.11 )ในการปรับปรุงดินสำหรับการผลิตปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จ. สุราษฎร์ธานี เสถียรภาพของพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 3 ชุดดินบางกอก (Bk) เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำปากพนัง โครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย จ.นครศรีธรรมราช การเปรียบเทียบปริมาณผลผลิตเอธานอลจากกระบวนการหมักน้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 และ 6 โมเลกุลในส่วนเหลือทิ้งปาล์มน้ำมัน การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินจากการจัดการดินกลุ่มชุดดินที่ 10,11 และ 14 ด้วยผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อการปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวันครศรีธรรมราช การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก