สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กษิดิศ ดิษฐบรรจง, วีระพล พลรักดี, ภุมรินทร์ วณิชชนานันท์, อำไพ สินพัฒนานนท์, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์, นัยเนตร เจริญสันติ ทานากะ, เตือนจิตร เพ็ชรรุณ, ศุภลักษณ์ อริยภูชัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อเรื่อง (EN): Plant Tissue Culture for Propagation and Crop Improvement
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การขยายพันธุ์พืชปลอดโรคเชิงพาณิชย์จำนวน 3 ชนิด ประกอบด้วย ขมิ้นชัน, อ้อย และมันฝรั่ง จากการศึกษาผลของไซโตไคนิน 4 ชนิด ประกอบด้วย BA, kinetin, 2-ip และ TDZ ต่อการชักนำยอดขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 1 และตรัง 2 พบว่า การใช้ไซโตไคนินทั้ง 4 ชนิดสามารถชักนำให้เกิดยอดของขมิ้นชันทั้ง 2 พันธุ์ได้ไม่แตกต่างทางสถิติ โดยพันธุ์ขมิ้นชันตรัง1 การใช้ kinetin ความเข้มข้น 2 mg/l จะทำให้เกิดต้นยอดใหม่จำนวนเฉลี่ยสูงสุด 5.2 ยอด และขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 2 พบว่า การใช้สาร TDZ ความเข้มข้น 1 mg/l ทำให้เกิดค่าเฉลี่ยยอดใหม่สูงสุด 8.4 ยอด และเมื่อศึกษาปริมาณน้ำตาลซูโครสต่อการพัฒนาเหง้าของขมิ้นชันทั้ง 2 พันธุ์ พบว่าบนสูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 3 mg/l ที่มีน้ำตาลซูโครส 30 และ 60 g/l จะมีการสร้างเหง้าที่เห็นได้ชัดเจน สำหรับการชักนำให้เกิดยอดรวม (multiple shoot formation) ในอ้อยที่ปลอดเชื้อไฟโตพลาสมา โดยใช้ส่วนใบอ่อนจากยอดที่ยังไม่คลี่สามารถทำได้บนอาหารกึ่งแข็งในระบบ temporary immersion bioreactor (TIB) สูตรอาหารที่สามารถชักนำให้เกิดยอดรวมสูงสุด ได้แก่สูตรอาหารที่ประกอบด้วย อาหาร MS ที่เติม 3-6 ?M benzyladenine (BA) และ 2 ?M naphthalene acetic acid (NAA) ได้ 47.5-51.6 ยอดอ่อน/ชิ้นส่วนพืช ภายในระยะเวลา 2 เดือน สำหรับการใช้ระบบ TIB สูตรอาหารที่ให้จำนวนยอดสูงสุด คือ อาหาร MS ที่เติม 3-6 ?M BA and 2 ?M NAA ได้ 22.1-16.2 ยอดอ่อน/ชิ้นส่วนพืช ภายในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระบบ TIB สามารถชักนำให้เกิดยอดรวมได้เร็วกว่าและยอดอ่อนมีขนาดใหญ่กว่าการใช้อาหารกึ่งแข็ง ยอดอ่อนที่ได้สามารถชักนำให้เกิดรากได้ดีบนอาหารสูตร ?MS+4-8 ?M indole-3-butyric acid (IBA) ต้นอ่อนที่มีรากที่สมบูรณ์สามารถย้ายปลูกลงในเวอร์มิคูไลท์เพื่อปรับสภาพและปลูกในโรงเรือนระบบปิด โดยมีอัตราการอยู่รอดสูงกว่า 80% การขยายพันธุ์มันฝรั่งปลอดโรค ให้ได้ส่วนขยายพันธุ์ปลอดโรค พัฒนาหาสูตรอาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิด micro shoot โดยใช้ระบบ Temporary Immersion Bioreactor ( TIB) เพื่อผลิตส่วนขยายพันธุ์มันฝรั่งที่ปลอดโรคในเชิงพาณิชย์ ใช้ apical meristem ขนาด 0.1 - 0.2 เซนติเมตร เลี้ยงบนอาหารแข็ง MS ร่วมกับ BA 5 ?M สามารถชักนำให้มีการพัฒนาเป็นยอดที่สมบูรณ์ยอด ในพันธุ์แอตแลนติก 36 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์สปุนตา 24 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ PVY ด้วยวิธีเซรุ่มวิทยา พบการปลอดโรค 90 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อศึกษาการเพิ่มปริมาณยอดรวมในระบบ TIB เทียบกับการเลี้ยงในอาหารเหลว มันฝรั่งแอตแลนติกและสปุนตา สามารถเพิ่มปริมาณยอดรวมได้สูง 5.2 ยอด และ4.2 ยอด ต่อ 1ชิ้นส่วนพืช ตามลำดับ และมีความสูงของยอดในเกณฑ์ปกติ เมื่อเลี้ยงในอาหารเหลว MS ที่มี GA3 0.1 mg/l และ NAA 0.1 mg/L ส่วนในระบบ TIB สามารถให้ปริมาณยอดรวมสูงสุด 4.8 ยอดและ 3.6 ยอด ตามลำดับในอาหารสูตรเดียวกัน โดยให้อาหาร 8 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 10 นาที เมื่อศึกษาผลของ BA และน้ำตาลซูโครสต่อการเกิด micro tubers ในอาหารเหลว พบว่าอาหารสูตร MS ที่เติม BA 40 ?M และน้ำตาลซูโครส ร่วมกับ 6 -8 เปอร์เซ็นต์ Chlorocholine chloride ( CCC) 500 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิด micro tubers ได้มากที่สุดในพันธุ์แอตแลนติก ส่วนพันธุ์ สปุนต้า อาหารเหลว MS ที่เติม BA 20 ?M และน้ำตาลซูโครส 8 เปอร์เซ็นต์ สามารถชักนำให้เกิด micro tubers ได้ดีที่สุด การศึกษาผลของปัจจัยภายนอกต่อการชักนำและพัฒนาแคลลัสปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 และ 2 โดยใช้สภาพแสง 4 ชนิด คือ LED สีขาว, LED สีแดง, LED สีน้ำเงิน และ Grow lux พบว่า ปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสโดยมีค่าน้ำหนักสดของแคลลัสสูงสุด ในสภาพแสง LED สีขาว การพัฒนา embryogenesis callus พบได้ดีในสภาพแสงชนิด Grow lux สำหรับปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสโดยมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดของแคลลัสสูงสุด ในสภาพแสง Grow lux และมีการพัฒนาของแคลลัสได้ดีในสภาพแสง LED สีแดง การชักนำแคลลัสจากใบอ่อนในสภาพที่มืดจะทำให้เกิดแคลลัสได้จากสูตรอาหาร MS ร่วมกับ dicamba ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยใช้ระยะเวลา 2.5 เดือน และสูตรอาหาร MS ร่วมกับ picloram ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยใช้ระยะเวลา 6 เดือน ทำให้เกิดแคลลัสที่มีลักษณะกลมมีสีน้ำตาลอ่อนเกิดขึ้นที่บริเวณขอบใบ
บทคัดย่อ (EN): The study of commercially disease-free propagation of 3 plant species including turmeric, sugarcane, and potato has been carried out. The study revealed that effects of 4 cytokinin plant growth regulators (PGRs) consisting of BA, kinetin, 2-ip, and TDZ on shoot formation of 2 turmeric cultivars (Trung 1 and Trung 2) were not significantly different. The highest average number of new shoots of Trung 1 cultivar treated with 2 mg/l kinetin and Trung 2 cultivar treated with 1 mg/l TDZ was 5.2 and 8.4 respectively. Moreover, the effects of sucrose concentration on microrhizome formation of the 2 turmeric cultivars were studied. It was found that the MS media supplemented with 3 mg/l BA, and 30 and 60 g/l of sucrose showed the most obvious microrhizome formation. In the study of phytoplasma-free sugarcane, multiple shoot formation was observed in the explants derived from the unexpanded, immature leaf cultured on semi solid media and under temporary immersion bioreactor (TIB) system. The highest number of multiple shoots found on the semi solid media MS media supplemented with 3-6 ?M benzyladenine (BA) and 2 ?M naphthalene acetic acid (NAA) was 47.5-51.6 shoots per explant within 2 months. For the culture using TIB system, the MS media supplemented with 3-6 ?M BA and 2 ?M NAA exhibited the highest number of multiple shoots of 22.1-16.2 shoots per explant within 1 month. The TIB system used shorter time for multiple shoot formation and showed larger shoots than ones cultured on the semi-solid media. The obtained shoots demonstrated well-developed root formation on the ?MS media supplemented with 4-8 ?M indole-3-butyric acid (IBA). The plantlets with well-developed roots were transferred into vermiculite to allow for the adjustment in a closed greenhouse. The survival rate was higher than 80%. The third study was on micropropagation of disease-free potatoes to investigate the effects of various media and conditions on micro shoot formation using TIB system in order to commercially produce the disease-free potato plantlets. Apical meristems in the length of 0.1 - 0.2 cm were cultured on solid MS medium supplemented with 5 ?M BA. Thirty six and twenty four percent of the explants of Atlantic and Spunta cultivar respectively were well developed in plant regeneration process. The contamination test for potato virus Y (PVY) using serology techniques was performed showing 90 % of disease-free plantlets as a result. Moreover, multiple shoot propagation using TIB system was compared to conventional liquid media. Atlantic and Spunta cultivars regenerated 5.2 and 4.2 multiple shoots respectively per 1 explants with the regular shoot length when cultured on liquid MS media supplemented with 0.1 mg/l GA3 and 0.1 mg/L NAA while TIB system regenerated 4.8 and 3.6 multiple shoots respectively using the same medium composition fed into the explants for 10 min, 8 times per day. The study on the effect of BA and sucrose concentration on micro tuber formation in liquid medium revealed that the MS media supplemented with 40 ?M BA, 6-8 % sucrose, and 500 mg/l Chlorocholine chloride (CCC) induced the highest number of micro tubers for Atlantic cultivar while the MS media supplemented with 20 ?M BA and 8 % sucrose induced the highest number of micro tubers for Spunta cultivar. Effect of environmental and cultural conditions on callus induction and callogenesis of 2 oil palm cultivars: Surat Thani 1 and Surat Thani 2 was investigated. Four light conditions including white LED, red LED, blue LED, and Grow lux were employed. The result revealed that callus, with the highest fresh weight, was induced in white LED condition and embryogenic callus formation was observed in Grow lux condition for Surat Thani 1 cultivar. For Surat Thani 2, callus, with the highest fresh weight, was induced in Grow lux condition and callus induction and callogenesis were well developed in red LED condition. Successful callus formation on young leaves was observed on MS media supplemented with 1 mg/l dicamba, cultured in the dark condition for 2.5 months. Globular, light brown callus was observed around the edge of young leaves when cultured on MS media supplemented with 3 mg/l picloram for 6 months.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ต้น Tea Tree โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์บางชนิด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การขยายพันธุ์สับปะรดประดับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออโกลนีมา (Aglaonema) โดยใช้เทคนิค Temporary Immersion การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไผ่ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์และการเติบโตของไม้พะยูง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพื้นเมือง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก