สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชสาบเสือ (Chromolaena Odorata)
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชสาบเสือ (Chromolaena Odorata)
ชื่อเรื่อง (EN): Chemical Control of Siam Weed (Chromolaena Odorata)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pornchai Lueang-a-papong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองได้กระทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกบางชนิด ในการควบคุมสาบเสือ (Chromolaena odorata) ในภาคใต้ของประเทศไทยโดย ทำการฉีดพ่นสารเคมีด้วยถังฉีดแบบสะพายหลังในปริมาณน้ำ (Spray volume) 500 ลิตร / เฮกตาร์ ในสภาพที่ต้นสาบเสือมีความสูงเฉลี่ย 1.50-2.00 เมตร การบันทึกผลการทดลองใช้วิธีการให้คะแนนเป็นระดับเปอร์เซ็นต์ การควบคุมในช่วงต่าง ๆ ภายหลังการฉีดพ่นสารเคมี ผลการทดลองพบว่าทั้งสาว Fluroxypyr (4-amino-3,5-dichloro-6-fluoro-2-pyridyloxyacetic acid และ Triclopyr (3,5-6-trichloro-2-pyridyloxyacetic acid) มีประสิทธิภาพในการควบคุมสาบเสือได้ผลดี แต่Fluroxypyr จะแสดงผลในการควบคุมสาบเสือได้ดีและรวดเร็วกว่าสาร Triclopyr ซึ่งผลจากการทดลองสรุปได้ว่า การใช้สาร Fluroxypyr ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมสาบเสือนั้น ควรใช้ในอัตราประมาณ 175-200 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อเฮกตาร์ ส่วน Triclopyr นั้นใช้ในอัตราประมาณ 300-350 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อเฮกตาร์
บทคัดย่อ (EN): The experiments were conducted to study the efficacy of certain postemergence herbicides on siam weed (Chromolaena odorata) in southern Thailand. The herbicides were treated foliage applied to siam weed of 1.5-2.0 m in heigh with knapsack speayer in the spray volume of 500 L/h. Vissual assesment was undertaken to evaluate percentage control after application. It was found that both Fluoxypyr (4-amino-3,5-dichloro-6-fluor0-2-Pyridyloxyace acid) and Triclopyr (3,5,6-trichloro-2-pyridyloxyloxyacetic acid) gave a quite good control of siam weed. Fluroxypyr showed faster and better effect on siam weed than Triclopyr. The optimum rate of Fluroxypyr for acceptable siam weed control was 175-200 g(ae)/ha. Triclopyr was effective when applied at the rate of 300-350 g (ae)/ha.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2532
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247812/169566
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชสาบเสือ (Chromolaena Odorata)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2532
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การควบคุมโรคข้าวโดยใช้สารเคมี สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว ผลของการเก็บรักษา พันธุ์ และการใช้สารเคมีต่อคุณภาพของแกลดิโอลัส การใช้สารเคมีกับกาแฟอราบีก้าเพื่อความทนแล้ง การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกในถั่วเหลือง ชนิดและปริมาณสารเคมีที่ให้ความเป็นกรดที่มีต่อเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นสำหรับใช้ในการผลิตแหนม การแข่งขันกับวัชพืชของข้าวบางพันธุ์ และวิธีการควบคุมวัชพืชที่เหมาะสมในสภาพนาน้ำฝน ผลของการอบดินโดยใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่อการควบคุมข้าววัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของความสูงของตอซังและวิธีการควบคุมวัชพืชที่มีต่อวัชพืชและผลผลิตข้าวในนาหว่านน้ำตมที่ปลูกโดยไม่ไถพรวน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก